สพฐ.เตรียมวิจัยหารูปแบบและวิธีบริหารจัดการร.ร.ขนาดเล็กให้ได้ประสิทธิภาพ โดยจะศึกษาทั้งในสิ่งที่มีอยู่และฉีกแนว เช่น ให้จ้างเอกชนมาบริหารจัดการ ด้าน “พิษณุ” เผยจำนวนร.ร.ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นทุกปีล่าสุดปี 54 พบเพิ่มขึ้นเป็น 14,669แห่ง จากเดิมปี 46 มีเพียง 10,877 แห่ง ชี้อัตราการเกิดของประชากรที่คงที่และการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในเขตเมืองและเขตอุตสหากรรมเป็นปัจจัยที่ทำให้จำนวนร.ร.ขนาดเล็กเพิ่ม พร้อมระบุผลสำรวจร.ร.ขนาดเล็กเพื่อรวมเป็นเครือข่ายแก่งจันทร์ตามใบสั่ง รมว.ศึกษา เพื่อจัดสรรรถตู้ให้ 1 คัน พบมีความพร้อม 6,000 แห่งรวมได้เป็น 2,000 ศูนย์และต้องใช้งบเพื่อบริหารจัดการ 3,200 ล้านบาท
นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขนาดเล็ก โดยจะศึกษาหารูปแบบจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ รวมทั้งต้องเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วยเพื่อกำหนดอนาคตของโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างถูกต้อง โดยขณะนี้ แนวโน้มโรงเรียนขนาดเล็กจะเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน อันเนื่องมาจากภาวะอัตราการเกิดของประชากรนั้นคงที่อยู่ที่ 1.2 % ต่อเนื่องมาหลายปี ขณะเดียวกัน ประชากรก็มีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะแถบ จ.ชลบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี จะพบได้ว่ามีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นโดยดูได้จากการที่โรงเรียนเสนอขออัตรากำลังครูเพิ่ม และนั่นเป็นเหตุให้โรงเรียนที่อยู่ในเขตชุมชนในต่างจังหวัดจึงถูกทิ้งให้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมากขึ้น
ทั้งนี้ หากดูข้อมูลจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กทั้งประเทศ ล่าสุดจากการสำรวจในปีการศึกษา 2554 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 14,669แห่ง จากเดิมที่เคยเก็บข้อมูลในปีการศึกษา 2546 พบว่า มีจำนวน 10,877 แห่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มโรงเรียนขนาดเล็กมีแต่จะเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถ้าหากไม่บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็จะเกิดปัญหาตามมาและจะเป็นภาระงบประมาณ แต่อย่างไรก็ตาม สพฐ. ต้องยึดหลักการสำคัญในการบริหารจัดการดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ต้องประกันสิทธิโอกาสให้เด็กนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม 2. ต้องดูแลคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน เพราะการที่เด็กไม่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่ดีก็เป็นการเสียโอกาสในการศึกษาอย่างหนึ่ง และ 3.ต้องมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเรียนการสอนในภาวะที่มีข้อจำกัดต่างๆ ด้วย
“ขณะนี้มีโรงเรียนต่างๆคิดรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบแก่งจันทร์โมเดล ที่ให้โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้เคียงรวมตัวเป็นเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ให้หมุนนักเรียนไปเรียนตามศูนย์ที่กำหนดไว้ตามแผน หรือ ลาดค่างโมเดล อีกทั้งยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจขึ้นมาอีก ซึ่งก็จะนำเรื่องเหล่านี้มาศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวทางที่ฉีกออกไป เช่น จ้างภาคเอกชนจัดการศึกษาแทนรัฐ แต่ก็คงเป็นไปได้ยากแต่ก็ต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งได้เสนอให้ นายชินภัทร ภูทิรัตน เลขาธิการ กพฐ. ทราบเรื่องการทำวิจัยแล้ว”รองเลขาธิการ กล่าว
นายพิษณุ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ความสนใจในรูปแบบแก่งจันทร์โมเดล และมอบให้ไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถจะตามรอยเพื่อสร้างเป็นโรงเรียนเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล โดยจะสนับสนุนรถตู้ให้ศูนย์ละ 1 คัน ซึ่งขณะนี้พบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 6 ,000 โรงที่สามารถรวมเป็นเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล ได้ 2,000 ศูนย์ และหากต้องสนับสนุนรถตู้ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ได้คำนวณแล้วเฉลี่ยต้องใช้งบประมาณ จำนวน 3,200 ล้านบาท เพื่อใช้เป็น ค่ารถตู้ ประมาณคันละ 1 ล้านบาท ค่าน้ำมัน ค่าประกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียน และค่าบริหารจัดการอื่น ๆ โดยได้เสนอขอในปีงบประมาณ 2556 หากได้รับการอนุมัติจะสามารถดำเนินการได้ทันที
นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขนาดเล็ก โดยจะศึกษาหารูปแบบจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ รวมทั้งต้องเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วยเพื่อกำหนดอนาคตของโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างถูกต้อง โดยขณะนี้ แนวโน้มโรงเรียนขนาดเล็กจะเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน อันเนื่องมาจากภาวะอัตราการเกิดของประชากรนั้นคงที่อยู่ที่ 1.2 % ต่อเนื่องมาหลายปี ขณะเดียวกัน ประชากรก็มีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะแถบ จ.ชลบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี จะพบได้ว่ามีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นโดยดูได้จากการที่โรงเรียนเสนอขออัตรากำลังครูเพิ่ม และนั่นเป็นเหตุให้โรงเรียนที่อยู่ในเขตชุมชนในต่างจังหวัดจึงถูกทิ้งให้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมากขึ้น
ทั้งนี้ หากดูข้อมูลจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กทั้งประเทศ ล่าสุดจากการสำรวจในปีการศึกษา 2554 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 14,669แห่ง จากเดิมที่เคยเก็บข้อมูลในปีการศึกษา 2546 พบว่า มีจำนวน 10,877 แห่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มโรงเรียนขนาดเล็กมีแต่จะเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถ้าหากไม่บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็จะเกิดปัญหาตามมาและจะเป็นภาระงบประมาณ แต่อย่างไรก็ตาม สพฐ. ต้องยึดหลักการสำคัญในการบริหารจัดการดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ต้องประกันสิทธิโอกาสให้เด็กนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม 2. ต้องดูแลคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน เพราะการที่เด็กไม่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่ดีก็เป็นการเสียโอกาสในการศึกษาอย่างหนึ่ง และ 3.ต้องมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเรียนการสอนในภาวะที่มีข้อจำกัดต่างๆ ด้วย
“ขณะนี้มีโรงเรียนต่างๆคิดรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบแก่งจันทร์โมเดล ที่ให้โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้เคียงรวมตัวเป็นเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ให้หมุนนักเรียนไปเรียนตามศูนย์ที่กำหนดไว้ตามแผน หรือ ลาดค่างโมเดล อีกทั้งยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจขึ้นมาอีก ซึ่งก็จะนำเรื่องเหล่านี้มาศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวทางที่ฉีกออกไป เช่น จ้างภาคเอกชนจัดการศึกษาแทนรัฐ แต่ก็คงเป็นไปได้ยากแต่ก็ต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งได้เสนอให้ นายชินภัทร ภูทิรัตน เลขาธิการ กพฐ. ทราบเรื่องการทำวิจัยแล้ว”รองเลขาธิการ กล่าว
นายพิษณุ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ความสนใจในรูปแบบแก่งจันทร์โมเดล และมอบให้ไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถจะตามรอยเพื่อสร้างเป็นโรงเรียนเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล โดยจะสนับสนุนรถตู้ให้ศูนย์ละ 1 คัน ซึ่งขณะนี้พบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 6 ,000 โรงที่สามารถรวมเป็นเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล ได้ 2,000 ศูนย์ และหากต้องสนับสนุนรถตู้ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ได้คำนวณแล้วเฉลี่ยต้องใช้งบประมาณ จำนวน 3,200 ล้านบาท เพื่อใช้เป็น ค่ารถตู้ ประมาณคันละ 1 ล้านบาท ค่าน้ำมัน ค่าประกันอุบัติเหตุให้แก่นักเรียน และค่าบริหารจัดการอื่น ๆ โดยได้เสนอขอในปีงบประมาณ 2556 หากได้รับการอนุมัติจะสามารถดำเนินการได้ทันที