สวธ.ระบุ ประเทศในอาเซียนจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ส่วนไทยดึงคนท้องถิ่น รวบรวมภูมิปัญญาวัฒนธรรม 68 โครงการ และผ่านการพิจารณาคัดเลือกแล้ว 26 โครงการ เพื่อปกป้องมรดกชาติ
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ว่า ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน จำนวน 8 ประเทศ ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้ว ยกเว้นประเทศไทย และพม่า โดยประเทศที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาได้กำหนดนโยบายและกลไกในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตน โดยมีบุคคล กลุ่มคน และชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ ตั้งแต่การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการสร้างจิตสำนึกเพื่อให้เกิดการสงวนรักษา การปกป้องคุ้มครอง และสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน
ด้าน นางสุนันทา มิตรงาม ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา สวธ. กล่าวว่า ขณะนี้ สวธ.ได้ดำเนินโครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจยื่นข้อเสนอโครงการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 68 โครงการ และผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 26 โครงการ แบ่งเป็น สาขาภาษา 2 โครงการ ได้แก่ “โครงการบันทึกรวบรวมเพื่อการสงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ภาษา : ภาษาชองและภาษาญัฮกุร” โดย ศ.สุวิไล เปรมศรีรัตน์, “การจัดเก็บคำผญาในฐานะภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน” โดย รศ.ชลธิชา บำรุงรักษ์ สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน 1 โครงการ ได้แก่ “ตำนานนางเลือดขาว” ในภาคใต้ของประเทศไทย โดย รศ.ไพบูลญ์ ดวงจันทร์
ส่วนสาขาศิลปะการแสดง 6 โครงการ อาทิ “คณะลิเกในประเทศไทย พ.ศ.2555” โดย ผศ.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์, การศึกษารวบรวมคณะดิเกร์ฮูลูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 10 โครงการ อาทิ “ผ้าจกไท-ยวน โยนกเชียงแสน 8 เมือง” โดย นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม, “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในผ้าทอไทครั่ง” โดย นายสัตวแพทย์ ปรีชา คงคะสุวัณณะ, “มรดกภูมิปัญญาการแต่งกาย” ของชุมบาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต
สาขาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ “มรดกภูมิปัญญาคชศาสตร์ ฉบับชาวบ้าน ชาวกูย เมืองสุรินทร์” โดย นายอัษฎางค์ ชมดี, “ภูมิปัญญาอาหารบาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต” โดย นพ.โกศล แตงอุทัย, “มรดกภูมิปัญญาตำรับขนมจีนน้ำพริกในภาคกลางของประเทศไทย” โดย รศ.ไพฑูรย์ มีกุศล
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ “งานประเพณีรับบัว มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ” โดย ผศ. อำพล นววงศ์เสถียร, “โครงการนาคาคติในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย” โดย รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ “การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลตะกร้อเพื่อเสนอขอเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ” โดย รศ.ชัชชัย โกมารทัต, “การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย” โดย นายจรัสเดช อุลิต
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ว่า ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน จำนวน 8 ประเทศ ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้ว ยกเว้นประเทศไทย และพม่า โดยประเทศที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาได้กำหนดนโยบายและกลไกในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตน โดยมีบุคคล กลุ่มคน และชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ ตั้งแต่การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการสร้างจิตสำนึกเพื่อให้เกิดการสงวนรักษา การปกป้องคุ้มครอง และสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน
ด้าน นางสุนันทา มิตรงาม ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา สวธ. กล่าวว่า ขณะนี้ สวธ.ได้ดำเนินโครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจยื่นข้อเสนอโครงการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 68 โครงการ และผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 26 โครงการ แบ่งเป็น สาขาภาษา 2 โครงการ ได้แก่ “โครงการบันทึกรวบรวมเพื่อการสงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ภาษา : ภาษาชองและภาษาญัฮกุร” โดย ศ.สุวิไล เปรมศรีรัตน์, “การจัดเก็บคำผญาในฐานะภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน” โดย รศ.ชลธิชา บำรุงรักษ์ สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน 1 โครงการ ได้แก่ “ตำนานนางเลือดขาว” ในภาคใต้ของประเทศไทย โดย รศ.ไพบูลญ์ ดวงจันทร์
ส่วนสาขาศิลปะการแสดง 6 โครงการ อาทิ “คณะลิเกในประเทศไทย พ.ศ.2555” โดย ผศ.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์, การศึกษารวบรวมคณะดิเกร์ฮูลูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 10 โครงการ อาทิ “ผ้าจกไท-ยวน โยนกเชียงแสน 8 เมือง” โดย นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม, “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในผ้าทอไทครั่ง” โดย นายสัตวแพทย์ ปรีชา คงคะสุวัณณะ, “มรดกภูมิปัญญาการแต่งกาย” ของชุมบาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต
สาขาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ “มรดกภูมิปัญญาคชศาสตร์ ฉบับชาวบ้าน ชาวกูย เมืองสุรินทร์” โดย นายอัษฎางค์ ชมดี, “ภูมิปัญญาอาหารบาบ๋า-เพอรานากันภูเก็ต” โดย นพ.โกศล แตงอุทัย, “มรดกภูมิปัญญาตำรับขนมจีนน้ำพริกในภาคกลางของประเทศไทย” โดย รศ.ไพฑูรย์ มีกุศล
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ “งานประเพณีรับบัว มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ” โดย ผศ. อำพล นววงศ์เสถียร, “โครงการนาคาคติในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย” โดย รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ “การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลตะกร้อเพื่อเสนอขอเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ” โดย รศ.ชัชชัย โกมารทัต, “การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย” โดย นายจรัสเดช อุลิต