“หมอประเวศ” ชี้ การศึกษาต้นตอทำคนไทยลืมวัฒนธรรม แนะปฏิรูปทั้งระบบ ขณะ วธ.ชี้ คนไทยยังไม่เข้าใจคำว่าวัฒนธรรม ย้ำ ติดภาพเดิมแค่ร้องรำ ทำเพลง
วันนี็ (12 ก.ค.) นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเปิดประชุมวิชาการทางด้านวัฒนธรรมระดับชาติ “วิจัยวัฒนธรรม” ครั้งที่ 2 ที่โรงแรมบางกอกชฎา ว่า ปัจจุบันการคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ทั้งด้านภาษา การแสดง ประเพณี ถือเป็นเรื่องความสำคัญเร่งด่วน ที่มีองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่งล้วนแล้วแต่เห็นคุณค่าทั้งสิ้น อาทิ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIP ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เล็งเห็นว่า เรื่องดังกล่าวสำคัญ จึงจัดทำโครงการวิจัยวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งมองว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาได้ เนื่องจากผู้ทำวิจัยจะไปทำการศึกษารวบองค์ความรู้ภูมิปัญญาแต่ละด้านอย่างละเอียด เพื่อนำมาประมวลและนำมาเผยแพร่ให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา
นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับความมั่นคงของชาติ” ตอนหนึ่งว่า ต้องยอมรับคนไทยและเยาวชนในปัจจุบันไม่เข้าใจคำว่าวัฒนธรรม ส่วนใหญ่มองว่า วัฒนธรรมคือการร้องรำ ทำเพลง ศิลปวัตถุ เท่านั้น ซึ่งที่จริงไม่ใช่ วัฒนธรรมถือว่าเป็นความมั่นคงของชาติ เนื่องจากผ่านการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย สอนแบบแยกตัวออกจากวัฒนธรรม โดยยึดตำราต่างประเทศไม่ได้สอนในวิถีชีวิตของคนไทย เมื่อการศึกษาไม่มีบทบาทด้านนี้ เลยทำให้คนไทยยุคนี้ไม่เข้าใจ และไม่เห็นความสำคัญของมรดกภูมิทางวัฒนธรรม ดังนั้น หากปรับรูปแบบการศึกษาของไทยได้ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
นพ.ประเวศ กล่าวว่า ที่สำคัญ ที่ผ่านมา การพัฒนาบ้านเมืองไม่ได้ใช้วัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง เป็นเหตุให้บ้านเมืองเกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย อาทิ เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ดังนั้น หากต้องการให้คนไทยเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา ต้องไม่สอนแต่ในตำราและเลียนแบบต่างชาติ และต้องไม่ลืมว่าวัฒนธรรมถือว่าเป็นจุดแข็งของแต่ละประเทศ ดังนั้น เราต้องนำจุดแข็งเรื่องนี้มาใช้ อย่างเช่น การส่งเสริมให้เกิดพิพิธภัณฑ์ ใน 8,000 ตำบล เพื่อให้แต่ละตำบลช่วยกันรวบรวมมรดกภูมิปัญญาและเผยแพร่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ต้องบอกว่า รัฐต้องไม่ไปบังคับทุกแห่งจัดตั้ง ปล่อยให้เป็นความสมัครใจและร่วมมือร่วมใจของแต่ละท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง เพราะถ้าบังคับก็จะไม่ยั่งยืนเหมือนเกิดขึ้นในขณะนี้
วันนี็ (12 ก.ค.) นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเปิดประชุมวิชาการทางด้านวัฒนธรรมระดับชาติ “วิจัยวัฒนธรรม” ครั้งที่ 2 ที่โรงแรมบางกอกชฎา ว่า ปัจจุบันการคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ทั้งด้านภาษา การแสดง ประเพณี ถือเป็นเรื่องความสำคัญเร่งด่วน ที่มีองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่งล้วนแล้วแต่เห็นคุณค่าทั้งสิ้น อาทิ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIP ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เล็งเห็นว่า เรื่องดังกล่าวสำคัญ จึงจัดทำโครงการวิจัยวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งมองว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาได้ เนื่องจากผู้ทำวิจัยจะไปทำการศึกษารวบองค์ความรู้ภูมิปัญญาแต่ละด้านอย่างละเอียด เพื่อนำมาประมวลและนำมาเผยแพร่ให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา
นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับความมั่นคงของชาติ” ตอนหนึ่งว่า ต้องยอมรับคนไทยและเยาวชนในปัจจุบันไม่เข้าใจคำว่าวัฒนธรรม ส่วนใหญ่มองว่า วัฒนธรรมคือการร้องรำ ทำเพลง ศิลปวัตถุ เท่านั้น ซึ่งที่จริงไม่ใช่ วัฒนธรรมถือว่าเป็นความมั่นคงของชาติ เนื่องจากผ่านการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย สอนแบบแยกตัวออกจากวัฒนธรรม โดยยึดตำราต่างประเทศไม่ได้สอนในวิถีชีวิตของคนไทย เมื่อการศึกษาไม่มีบทบาทด้านนี้ เลยทำให้คนไทยยุคนี้ไม่เข้าใจ และไม่เห็นความสำคัญของมรดกภูมิทางวัฒนธรรม ดังนั้น หากปรับรูปแบบการศึกษาของไทยได้ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
นพ.ประเวศ กล่าวว่า ที่สำคัญ ที่ผ่านมา การพัฒนาบ้านเมืองไม่ได้ใช้วัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง เป็นเหตุให้บ้านเมืองเกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย อาทิ เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ดังนั้น หากต้องการให้คนไทยเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา ต้องไม่สอนแต่ในตำราและเลียนแบบต่างชาติ และต้องไม่ลืมว่าวัฒนธรรมถือว่าเป็นจุดแข็งของแต่ละประเทศ ดังนั้น เราต้องนำจุดแข็งเรื่องนี้มาใช้ อย่างเช่น การส่งเสริมให้เกิดพิพิธภัณฑ์ ใน 8,000 ตำบล เพื่อให้แต่ละตำบลช่วยกันรวบรวมมรดกภูมิปัญญาและเผยแพร่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ต้องบอกว่า รัฐต้องไม่ไปบังคับทุกแห่งจัดตั้ง ปล่อยให้เป็นความสมัครใจและร่วมมือร่วมใจของแต่ละท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง เพราะถ้าบังคับก็จะไม่ยั่งยืนเหมือนเกิดขึ้นในขณะนี้