สธ.พอใจ 5 มาตรการคุมโรคมือเท้าปาก ปลื้มไร้ยอดตาย ชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือดี ส่วนการจัดตั้งวอร์รูมดูโรคมือเท้าปาก รอมติ ครม.17 ก.ค.นี้
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงมาตรการในการควบคุม ป้องกันโรคมือเท้าปากในประเทศไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการ 5 ข้อ เพื่อรับมือ ควบคุม และป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ 1.เร่งรัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมือเท้าปาก 2.กำชับแพทย์และสถานพยาบาลให้ระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ต้องสงสัย 3.การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะสุขอนามัยและความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะโรคมือเท้าปากไม่สามารถควบคุมได้ด้วยกระทรวงสาธารณสุขเพียงหน่วยงานเดียว และ 5.การควบคุมมาตรการแบบเข้มข้น เช่น การให้เด็กกลับบ้าน หรือการปิดโรงเรียน ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจากการกำหนดมาตรการดังกล่าวช่วยให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคมือเท้าปากได้เป็นอย่างดี ทำให้แม้จะมีผู้ติดเชื้อ แต่ไม่มีรายงานการเสียชีวิต โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามปัญหาโรคมือเท้าปาก (วอร์รูม) ในแต่ละจังหวัดนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ โดยหากผ่านมติ ครม.แล้ว เมื่อมีประชาชนป่วยด้วยโรคมือเท้าปากมากกว่า 10 รายในแต่ละจังหวัด จึงสามารถจัดตั้งวอร์รูมเพื่อดำเนินการตามมาตรการเข้มข้นได้
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงมาตรการในการควบคุม ป้องกันโรคมือเท้าปากในประเทศไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการ 5 ข้อ เพื่อรับมือ ควบคุม และป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ 1.เร่งรัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคมือเท้าปาก 2.กำชับแพทย์และสถานพยาบาลให้ระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ต้องสงสัย 3.การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะสุขอนามัยและความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะโรคมือเท้าปากไม่สามารถควบคุมได้ด้วยกระทรวงสาธารณสุขเพียงหน่วยงานเดียว และ 5.การควบคุมมาตรการแบบเข้มข้น เช่น การให้เด็กกลับบ้าน หรือการปิดโรงเรียน ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจากการกำหนดมาตรการดังกล่าวช่วยให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคมือเท้าปากได้เป็นอย่างดี ทำให้แม้จะมีผู้ติดเชื้อ แต่ไม่มีรายงานการเสียชีวิต โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามปัญหาโรคมือเท้าปาก (วอร์รูม) ในแต่ละจังหวัดนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ โดยหากผ่านมติ ครม.แล้ว เมื่อมีประชาชนป่วยด้วยโรคมือเท้าปากมากกว่า 10 รายในแต่ละจังหวัด จึงสามารถจัดตั้งวอร์รูมเพื่อดำเนินการตามมาตรการเข้มข้นได้