สธ.ยัน ไม่นำยาเก่าแลกไข่ใหม่มาใช้ซ้ำ ส่งเผาทำลายกว่า 37 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท ลั่นขยายโครงการในพื้นที่ กทม. 23-27 ก.ค.นี้ ในรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง พร้อมจ่อปรับ 4 มาตรการบริหารจัดการยา
วันนี้ (13 ก.ค.) ที่ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเผาทำลายยาที่ประชาชนเลิกใช้จำนวน 37,792,027 เม็ด มูลค่าไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท ในโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่า ซึ่งดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศไม่รวม กทม.ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคม 2555 ว่า สธ.ดำเนินการตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ประชาชนใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยใช้ยาวันละ 128 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่า 1.5 แสนล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 47 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในปีนี้ จึงได้เร่งสร้างจิตสำนึกประชาชนในการใช้ยาทุกชนิด และจัดแนวทางให้แพทย์สั่งจ่ายยาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้เริ่มรณรงค์โครงการไข่ใหม่แลกยาเก่า ให้ประชาชนนำยาแผนปัจจุบันที่ไม่ได้ใช้แล้วมาคืนที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยยาที่ได้รับคืนจะเผาทิ้งทั้งหมด ไม่มีการนำกลับมาใช้อีก
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ยาเก่าที่ได้รับคืนมีทั้งสิ้น 37,792,207 เม็ด มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ยาเบาหวาน 7,615,789 เม็ด 2.ยาโรคความดันโลหิตสูง 7,038,068 เม็ด 3.วิตามิน 3,207,215 เม็ด 4.ยาลดไขมันในเลือด 2,901,603เม็ด และ 5.ยารักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 1,521,030 เม็ด ที่เหลือเป็นแคลเซียม ยาปฏิชีวนะ และพาราเซตามอล อย่างละกว่า 1 ล้านเม็ด และยาอื่นๆ อีก 11 ล้านเม็ด ส่วนการขยายโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่าในพื้นที่ กทม.50 เขตนั้น จะเริ่มดำเนินการวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2555 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี รพ.สงฆ์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ รพ.เด็ก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา รพ.ราชานุกูล รวมทั้งที่ศูนย์การค้าต่างๆ และสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจะกำหนดจุดในภายหลัง
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า การบริหารจัดการยาต่อจากนี้ไป จะนำ 4 มาตรการใหม่มาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนทุกสิทธิการรักษา ได้แก่ 1.จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.สร้างความตระหนัก ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาและอันตรายของยา และดูแลการใช้ยาแต่ละหลังคาเรือน 2.จัดภาชนะใส่ยาเฉพาะให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและต้องพบแพทย์รักษาต่อเนื่อง โดยจะให้นำยาที่เหลือไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อปรับชนิดและขนาดของยา 3.จะกระตุ้นให้มีตู้ยาประจำบ้านทุกหลัง ซึ่งที่ผ่านมายังมีน้อยมาก โดยเก็บเฉพาะยาที่จำเป็นและยาฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อป้องกันยาเสื่อมสภาพและหยิบใช้ได้สะดวก ปลอดภัย และ 4.ให้แพทย์จ่ายยาเพียงพอกับความจำเป็นในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย และสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยให้มากขึ้น ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้การใช้ยาของคนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (13 ก.ค.) ที่ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเผาทำลายยาที่ประชาชนเลิกใช้จำนวน 37,792,027 เม็ด มูลค่าไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท ในโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่า ซึ่งดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศไม่รวม กทม.ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคม 2555 ว่า สธ.ดำเนินการตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ประชาชนใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยใช้ยาวันละ 128 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่า 1.5 แสนล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 47 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในปีนี้ จึงได้เร่งสร้างจิตสำนึกประชาชนในการใช้ยาทุกชนิด และจัดแนวทางให้แพทย์สั่งจ่ายยาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้เริ่มรณรงค์โครงการไข่ใหม่แลกยาเก่า ให้ประชาชนนำยาแผนปัจจุบันที่ไม่ได้ใช้แล้วมาคืนที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยยาที่ได้รับคืนจะเผาทิ้งทั้งหมด ไม่มีการนำกลับมาใช้อีก
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ยาเก่าที่ได้รับคืนมีทั้งสิ้น 37,792,207 เม็ด มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ยาเบาหวาน 7,615,789 เม็ด 2.ยาโรคความดันโลหิตสูง 7,038,068 เม็ด 3.วิตามิน 3,207,215 เม็ด 4.ยาลดไขมันในเลือด 2,901,603เม็ด และ 5.ยารักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 1,521,030 เม็ด ที่เหลือเป็นแคลเซียม ยาปฏิชีวนะ และพาราเซตามอล อย่างละกว่า 1 ล้านเม็ด และยาอื่นๆ อีก 11 ล้านเม็ด ส่วนการขยายโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่าในพื้นที่ กทม.50 เขตนั้น จะเริ่มดำเนินการวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2555 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี รพ.สงฆ์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ รพ.เด็ก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา รพ.ราชานุกูล รวมทั้งที่ศูนย์การค้าต่างๆ และสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจะกำหนดจุดในภายหลัง
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า การบริหารจัดการยาต่อจากนี้ไป จะนำ 4 มาตรการใหม่มาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนทุกสิทธิการรักษา ได้แก่ 1.จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.สร้างความตระหนัก ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาและอันตรายของยา และดูแลการใช้ยาแต่ละหลังคาเรือน 2.จัดภาชนะใส่ยาเฉพาะให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและต้องพบแพทย์รักษาต่อเนื่อง โดยจะให้นำยาที่เหลือไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อปรับชนิดและขนาดของยา 3.จะกระตุ้นให้มีตู้ยาประจำบ้านทุกหลัง ซึ่งที่ผ่านมายังมีน้อยมาก โดยเก็บเฉพาะยาที่จำเป็นและยาฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อป้องกันยาเสื่อมสภาพและหยิบใช้ได้สะดวก ปลอดภัย และ 4.ให้แพทย์จ่ายยาเพียงพอกับความจำเป็นในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย และสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยให้มากขึ้น ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้การใช้ยาของคนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ