ผลสอบวินัย ซูโดฯ คลอดแล้ว สธ.ฟันวินัย ขรก.เอี่ยวยาหาย ผิดร้ายแรง 3 ราย รอพิจารณาโทษเพิ่มเติม
วานนี้ (9 ก.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยกรณีการจัดซื้อยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการตั้งคณะกรรมการการสอบวินัยบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบในแต่ละจังหวัด รวมทั้งสิ้น 14 คน ว่า จากการตรวจสอบในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีทั้งสอบวินัยร้ายแรง และไม่ร้ายแรง ล่าสุด ได้รับรายงานแล้วเสร็จใน 3 พื้นที่ โดยแน่ชัดแล้วว่ามีความผิดฐานวินัยร้ายแรง คือ 1.เภสัชกรชำนาญการโรงพยาบาล (รพ.) อุดรธานี ซึ่งกรณีนี้ถูกออกไปแล้วตั้งแต่ต้น เนื่องจากละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะนี้ยังติดตามตัวไม่ได้ 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ และ 3.เภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โดยทั้ง 3 รายถือว่ามีความผิดทางวินัยร้ายแรงไปแล้ว แต่จะมีบทลงโทษถึงไล่ออก หรือให้ออกอย่างไรนั้น ต้องรอการพิจารณาโทษของแต่ละจังหวัดอีกครั้ง คาดว่าน่าจะทราบผลเร็วๆ นี้
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของรายอื่นๆ อีก 11 คน ได้มีการตรวจสอบ และพิจารณาหลักฐานชี้แจงเสร็จแล้ว 8 คน โดยเหลือเพียงการพิจารณาว่าผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง ดังนั้น ในระหว่างนี้จึงมีคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 คนกลับไปยังหน่วยบริการของตนเอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ประกอบด้วย 1.ผู้อำนวยการ รพ.กมลาไสย 2. เภสัชกรชำนาญการ รพ.กมลาไสย 3.ผู้อำนวยการ รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 4.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 5.ผู้อำนวยการ รพ.เสริมงาม จ.ลำปาง 6.ผู้อำนวยการ รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 7.เภสัชกรชำนาญการ รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ และ 8.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 3 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบทางเอกสาร อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทั้งหมดมีความผิดไม่ว่าจะทางวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง เพียงแต่การให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบริการของตนเองนั้น เนื่องจากในหน่วยบริการแต่ละแห่งยังคงมีภาระงานมาก คนไข้ล้นหลามในแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรช่วยเหลือ แต่หากความผิดออกมาว่า ใครถูกลงโทษอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น
อนึ่ง สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่ถูกสอบสวนทางวินัยร้ายแรงและไม่ร้ายแรงนั้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 14 ราย ประกอบด้วย 1.ผอ.รพ.อุดรธานี 2.หัวหน้าเภสัชกร รพ.อุดรธานี 3.ผอ.รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 4.เภสัชกร รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 5. ผอ.รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 6.เภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 7.เจ้าพนักงานเภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 8.ผอ.รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 9.เภสัชกร รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 10.เจ้าพนักงานเภสัชกร รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 11. เภสัชกร รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 12.ผอ.รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 13.เภสัชกร รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ และ 14.ผอ.รพ.เสริมงาม จ.ลำปาง
วานนี้ (9 ก.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยกรณีการจัดซื้อยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการตั้งคณะกรรมการการสอบวินัยบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบในแต่ละจังหวัด รวมทั้งสิ้น 14 คน ว่า จากการตรวจสอบในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีทั้งสอบวินัยร้ายแรง และไม่ร้ายแรง ล่าสุด ได้รับรายงานแล้วเสร็จใน 3 พื้นที่ โดยแน่ชัดแล้วว่ามีความผิดฐานวินัยร้ายแรง คือ 1.เภสัชกรชำนาญการโรงพยาบาล (รพ.) อุดรธานี ซึ่งกรณีนี้ถูกออกไปแล้วตั้งแต่ต้น เนื่องจากละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะนี้ยังติดตามตัวไม่ได้ 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ และ 3.เภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โดยทั้ง 3 รายถือว่ามีความผิดทางวินัยร้ายแรงไปแล้ว แต่จะมีบทลงโทษถึงไล่ออก หรือให้ออกอย่างไรนั้น ต้องรอการพิจารณาโทษของแต่ละจังหวัดอีกครั้ง คาดว่าน่าจะทราบผลเร็วๆ นี้
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของรายอื่นๆ อีก 11 คน ได้มีการตรวจสอบ และพิจารณาหลักฐานชี้แจงเสร็จแล้ว 8 คน โดยเหลือเพียงการพิจารณาว่าผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง ดังนั้น ในระหว่างนี้จึงมีคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 คนกลับไปยังหน่วยบริการของตนเอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ประกอบด้วย 1.ผู้อำนวยการ รพ.กมลาไสย 2. เภสัชกรชำนาญการ รพ.กมลาไสย 3.ผู้อำนวยการ รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 4.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 5.ผู้อำนวยการ รพ.เสริมงาม จ.ลำปาง 6.ผู้อำนวยการ รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 7.เภสัชกรชำนาญการ รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ และ 8.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 3 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบทางเอกสาร อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทั้งหมดมีความผิดไม่ว่าจะทางวินัยร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง เพียงแต่การให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบริการของตนเองนั้น เนื่องจากในหน่วยบริการแต่ละแห่งยังคงมีภาระงานมาก คนไข้ล้นหลามในแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรช่วยเหลือ แต่หากความผิดออกมาว่า ใครถูกลงโทษอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น
อนึ่ง สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่ถูกสอบสวนทางวินัยร้ายแรงและไม่ร้ายแรงนั้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 14 ราย ประกอบด้วย 1.ผอ.รพ.อุดรธานี 2.หัวหน้าเภสัชกร รพ.อุดรธานี 3.ผอ.รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 4.เภสัชกร รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 5. ผอ.รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 6.เภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 7.เจ้าพนักงานเภสัชกร รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 8.ผอ.รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 9.เภสัชกร รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 10.เจ้าพนักงานเภสัชกร รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 11. เภสัชกร รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 12.ผอ.รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 13.เภสัชกร รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ และ 14.ผอ.รพ.เสริมงาม จ.ลำปาง