เครือข่ายฯ ประชากรข้ามชาติ จัดเวทีระดมสมอง ตีแผ่ข้อเท็จจริงผลได้ผลเสียนโยบายส่งกลับแรงงานข้ามชาติท้องกลับบ้าน ของ ก.แรงงาน แก้ไม่ถูกทาง เสนอเพิ่มสัดส่วนของภาคประชาชนในคณะกรรมการของกระทรวงแรงงานระดับชาติ ร่วมวงแก้ปัญหา
วันนี้ (5 ก.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant working group) และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดเสวนาเรื่อง “นโยบายส่งกลับแรงงานหญิงข้ามชาติท้องกลับประเทศ กับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย : หรือกระทรวงแรงงานเกาไม่ถูกที่คัน” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องจาก นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ว่า จะดำเนินนโยบายดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เด็กในประเทศไทย
น.ส.ทัตติยา ลิขิตวงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) กล่าวถึงนโยบายส่งแรงงานหญิงข้ามชาติท้องกลับประเทศซึ่งเป็นแนวคิดของ รมว.แรงงาน ว่า ถือเป็นความเจ็บปวดและส่งผลกระทบตามมาอีกหลายประเด็น คือ 1.ส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว และเกิดปัจจัยเสี่ยงเรื่องการข้ามไปข้ามมาของแรงงานข้ามชาติ 2.ทำให้สถิติการทำแท้งเพิ่มสูงขึ้น เพราะเมื่อแรงงานรู้ว่าท้อง 3 เดือน และจะถูกส่งกลับ จึงถูกบีบทางเลือกให้ต้องทำแท้ง 3.เด็กอ่อนจะต้องถูกทิ้งอยู่ในประเทศต้นทางและถูกเลี้ยงดูตามสภาพ สุดท้ายจะวนเวียนกลับมาเป็นแรงงานนอกระบบ นอกจากนี้นโยบายดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศ ทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่มุ่งหวังสร้างมาตรฐานในการเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพ ดังนั้น แม้นโยบายดังกล่าวจะมีเจตนาดี และมุ่งหวังแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แต่คงต้องทบทวนว่าแก้ถูกจุดหรือไม่ หรือในทางกลับกันจะเพิ่มประเด็นปัญหาหรือไม่
“ปัจจุบันมีบางกระทรวงก็มีนโยบายเชิงบวกที่ดี เช่น กระทรวงศึกษาธิการ จะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติส่งลูกหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์จากต้นทาง แต่สำหรับกระทรวงแรงงานเอง คนที่ทำงานด้านนี้หลายฝ่ายไม่เห็นเหตุผลหรือหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับกันจะเพิ่มปัญหาอาชญากรข้ามชาติจากการค้ามนุษย์ คือ ทำให้เหล่านี้มีกลุ่มคนที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ประเทศไทย แต่จะเป็นกลุ่มนายจ้าง เพราะจะได้โอกาศที่จะเลิกจ้างแรงงานหญิงตั้งครรภ์ หรือบังคับให้แรงงานหญิงตัดสินใจทำแท้ง เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกรูปแบบหนึ่ง” นางสาวทัตติยา กล่าว
นางสาวทัตติยา กล่าวต่อว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับประเทศที่มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตามอง ระดับ 2.5 (Tier 2 Watch list) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน คือ อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังและติดตามว่าสามารถแก้ปัญหาได้ดีหรือไม่ แต่หากยังไม่มีแนวทางอาจมีแนวโน้มถูกปรับเป็นระดับ 3 ซึ่งถือว่าแย่ที่สุด และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น อยากเสนอทางแก้ คือ ต้องดำเนินการอย่างบูรณาการ ร่วมมือกันระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องแบะประเทศต้นทาง รวมทั้งหาแนวทางการจัดระบบที่ดีเพื่อให้เช็คจำนวนแรงงานได้ หรือเพิ่มมาตรการ เช่น อนุญาตให้แรงงานกลับไปคลอดที่บ้าน แต่จะต้องสามารถพาเด็กกลับมาด้วยได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนที่จะริ่เริ่มนโยบายดังกล่าว รมว.แรงงาน ต้องทบทวนให้ดี รวมทั้งควรหามาตรการระยะยาวและยั่งยืนในการคุ้มครองสิทธิ แก้ปัญหาและมองว่าแรงงานต่างชาติคือมนุษย์เช่นเดียวกับเรา
น.ส.ทัศนัย ขันตยาภรณ์ ตัวแทนจากองค์กร (PATH) ที่ทำงานด้านสาธารณสุขของผู้หญิงและเด็ก กล่าวว่า เมื่อเห็นนโยบายนี้ออกมา ทำให้กังวลและเริ่มวิเคราะห์ตัวเลขเด็กที่จะต้องถูกส่งกลับบ้าน ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ปัญหาที่วนเวียนทั้งเรื่องการค้ามนุษย์ ปัญหาสิทธิมนุษยชน และเรื่องแรงงาน ซึ่งล่าสุดก็เริ่มมีสัญญารที่ดีจาก รมว.แรงงาน ที่เริ่มฟังเสียงสะท้อนแล้วโดยส่งสัญญาณที่จะทบทวนมาตรการดังกล่าว โดยใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน และจะดึงกลุ่มเอ็นจีโอเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
“ไม่อยากให้ รมว.แรงงาน เห็นเรื่องการปลดล็อกการค้ามนุษย์เป็นเพียงแฟชั่น หรือเป็นเพียงความพยายามในสร้างผลงาน และอยากให้ดูบริบทโดยรวม และต้องไม่ใช่แต่ละกระทรวงจะพยายามจะออกนโยบายเอง เพราะในข้อเท็จจริงทุกกระทรวงมีส่วนแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น” นางสาวทัศนัย กล่าว
นางสาวทัศนัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อยากให้คิดถึงประเด็นด้านสาธารณสุข เพราะวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติ มีปัจจัยจูงใจที่อยากจะท้องและคลอดในประเทศไทย เพราะมีความปลอดภัยสูงกว่า รวมทั้งเมื่อท้องก็สามารถทำงานไปด้วยได้ สรุปคือ หากนโยบายตรงข้ามกับวิถีชีวิตก็คงไม่มีประโยชน์หากจะบังคับใช้ และท้ายที่สุดจะเป็นการเพิ่มภาระและช่องว่างในเรื่องกระบวนการควบคุมและกฎหมายด้วย นอกจากนี้ ข้อกังวลอีกประเด็น คือ หากนโยบายมีผลบังคับใช้ อาจส่งต่อไปยังกระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงต่างชาติฝากครรภ์ ซึ่งจะมีปัญหาตามมา คือ เด็กที่เกิดมาติดเชื้อ สุขภาพไม่ดี และสุดท้ายประเทศจะต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ อยากให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก เพราะการพัฒนาคนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป
ด้านนายอดิศร เกิดมงคล ตัวแทนเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า โดยบริบทของแรงงานข้ามชาติ ไม่ใช่แค่การเข้ามาเป็นแรงงานเพียงอย่างเดียว ในระยะหลังพบว่าเป็นการข้ามวัฒนธรรมโดยการแต่งงาน เช่น คนไทยแต่งงานกับคนชาติอื่น ดังนั้น นโยบายการส่งแรงงานข้ามชาติท้องกลับประเทศ อาจจะเป็นการส่งให้คนไทยกลับประเทศอื่นแบบผิดกฎหมาย นอกจากนี้ กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการคัดกรองยังมีปัญหา ไม่จริงจังกับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยปีที่ผ่านมานำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้เพียงไม่กี่คดี และหลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐเลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย ให้ไทยยังไม่หลุดออกจากกระบวนการเฝ้าระวังจากประเทศคู่ค้า ขณะเดียวกัน นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ ยังไม่มีมิติของการคุ้มครอง คือเราคิดแต่จะเอาคนมาทำงาน แต่ลืมให้ความคุ้มครอง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแรงงานข้ามชาติและเป็นปัจจัยหลักของกระบวนการค้ามนุษย์
“อยากเสนอให้ รมว.แรงงาน เปิดพื้นที่ให้เอ็นจีโอเข้าไปนั่งในคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา เพราะกลุ่มเอ็นจีโอมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และจะร่วมแก้ปัญหาได้ดี โดยข้อเสนอเบื้องต้น คือ อยากให้ยกเลิกนโยบายดังกล่าว และสร้างกลไกการคุ้มครองแรงงานให้ชัด เช่น ต้องทำให้กระบวนการบังคับใช้จะต้องเกิดขึ้นอย่างจริงจัง แก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างไม่เป็นธรรม มีมาตรการอย่างเร่งด่วนเรื่องการยึดเอกสารประจำตัว และการดูแลคุ้มครองสิทธิแรงงาน อีกทั้งควรรณรงค์เรื่องการตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กในอุตสาหกรรมแรงงาน” นายอดิศร กล่าว
วันนี้ (5 ก.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant working group) และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดเสวนาเรื่อง “นโยบายส่งกลับแรงงานหญิงข้ามชาติท้องกลับประเทศ กับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย : หรือกระทรวงแรงงานเกาไม่ถูกที่คัน” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องจาก นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ว่า จะดำเนินนโยบายดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เด็กในประเทศไทย
น.ส.ทัตติยา ลิขิตวงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) กล่าวถึงนโยบายส่งแรงงานหญิงข้ามชาติท้องกลับประเทศซึ่งเป็นแนวคิดของ รมว.แรงงาน ว่า ถือเป็นความเจ็บปวดและส่งผลกระทบตามมาอีกหลายประเด็น คือ 1.ส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว และเกิดปัจจัยเสี่ยงเรื่องการข้ามไปข้ามมาของแรงงานข้ามชาติ 2.ทำให้สถิติการทำแท้งเพิ่มสูงขึ้น เพราะเมื่อแรงงานรู้ว่าท้อง 3 เดือน และจะถูกส่งกลับ จึงถูกบีบทางเลือกให้ต้องทำแท้ง 3.เด็กอ่อนจะต้องถูกทิ้งอยู่ในประเทศต้นทางและถูกเลี้ยงดูตามสภาพ สุดท้ายจะวนเวียนกลับมาเป็นแรงงานนอกระบบ นอกจากนี้นโยบายดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศ ทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่มุ่งหวังสร้างมาตรฐานในการเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพ ดังนั้น แม้นโยบายดังกล่าวจะมีเจตนาดี และมุ่งหวังแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แต่คงต้องทบทวนว่าแก้ถูกจุดหรือไม่ หรือในทางกลับกันจะเพิ่มประเด็นปัญหาหรือไม่
“ปัจจุบันมีบางกระทรวงก็มีนโยบายเชิงบวกที่ดี เช่น กระทรวงศึกษาธิการ จะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติส่งลูกหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์จากต้นทาง แต่สำหรับกระทรวงแรงงานเอง คนที่ทำงานด้านนี้หลายฝ่ายไม่เห็นเหตุผลหรือหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับกันจะเพิ่มปัญหาอาชญากรข้ามชาติจากการค้ามนุษย์ คือ ทำให้เหล่านี้มีกลุ่มคนที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ประเทศไทย แต่จะเป็นกลุ่มนายจ้าง เพราะจะได้โอกาศที่จะเลิกจ้างแรงงานหญิงตั้งครรภ์ หรือบังคับให้แรงงานหญิงตัดสินใจทำแท้ง เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกรูปแบบหนึ่ง” นางสาวทัตติยา กล่าว
นางสาวทัตติยา กล่าวต่อว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับประเทศที่มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตามอง ระดับ 2.5 (Tier 2 Watch list) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน คือ อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังและติดตามว่าสามารถแก้ปัญหาได้ดีหรือไม่ แต่หากยังไม่มีแนวทางอาจมีแนวโน้มถูกปรับเป็นระดับ 3 ซึ่งถือว่าแย่ที่สุด และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น อยากเสนอทางแก้ คือ ต้องดำเนินการอย่างบูรณาการ ร่วมมือกันระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องแบะประเทศต้นทาง รวมทั้งหาแนวทางการจัดระบบที่ดีเพื่อให้เช็คจำนวนแรงงานได้ หรือเพิ่มมาตรการ เช่น อนุญาตให้แรงงานกลับไปคลอดที่บ้าน แต่จะต้องสามารถพาเด็กกลับมาด้วยได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนที่จะริ่เริ่มนโยบายดังกล่าว รมว.แรงงาน ต้องทบทวนให้ดี รวมทั้งควรหามาตรการระยะยาวและยั่งยืนในการคุ้มครองสิทธิ แก้ปัญหาและมองว่าแรงงานต่างชาติคือมนุษย์เช่นเดียวกับเรา
น.ส.ทัศนัย ขันตยาภรณ์ ตัวแทนจากองค์กร (PATH) ที่ทำงานด้านสาธารณสุขของผู้หญิงและเด็ก กล่าวว่า เมื่อเห็นนโยบายนี้ออกมา ทำให้กังวลและเริ่มวิเคราะห์ตัวเลขเด็กที่จะต้องถูกส่งกลับบ้าน ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ปัญหาที่วนเวียนทั้งเรื่องการค้ามนุษย์ ปัญหาสิทธิมนุษยชน และเรื่องแรงงาน ซึ่งล่าสุดก็เริ่มมีสัญญารที่ดีจาก รมว.แรงงาน ที่เริ่มฟังเสียงสะท้อนแล้วโดยส่งสัญญาณที่จะทบทวนมาตรการดังกล่าว โดยใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน และจะดึงกลุ่มเอ็นจีโอเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
“ไม่อยากให้ รมว.แรงงาน เห็นเรื่องการปลดล็อกการค้ามนุษย์เป็นเพียงแฟชั่น หรือเป็นเพียงความพยายามในสร้างผลงาน และอยากให้ดูบริบทโดยรวม และต้องไม่ใช่แต่ละกระทรวงจะพยายามจะออกนโยบายเอง เพราะในข้อเท็จจริงทุกกระทรวงมีส่วนแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น” นางสาวทัศนัย กล่าว
นางสาวทัศนัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อยากให้คิดถึงประเด็นด้านสาธารณสุข เพราะวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติ มีปัจจัยจูงใจที่อยากจะท้องและคลอดในประเทศไทย เพราะมีความปลอดภัยสูงกว่า รวมทั้งเมื่อท้องก็สามารถทำงานไปด้วยได้ สรุปคือ หากนโยบายตรงข้ามกับวิถีชีวิตก็คงไม่มีประโยชน์หากจะบังคับใช้ และท้ายที่สุดจะเป็นการเพิ่มภาระและช่องว่างในเรื่องกระบวนการควบคุมและกฎหมายด้วย นอกจากนี้ ข้อกังวลอีกประเด็น คือ หากนโยบายมีผลบังคับใช้ อาจส่งต่อไปยังกระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงต่างชาติฝากครรภ์ ซึ่งจะมีปัญหาตามมา คือ เด็กที่เกิดมาติดเชื้อ สุขภาพไม่ดี และสุดท้ายประเทศจะต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ อยากให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก เพราะการพัฒนาคนเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป
ด้านนายอดิศร เกิดมงคล ตัวแทนเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า โดยบริบทของแรงงานข้ามชาติ ไม่ใช่แค่การเข้ามาเป็นแรงงานเพียงอย่างเดียว ในระยะหลังพบว่าเป็นการข้ามวัฒนธรรมโดยการแต่งงาน เช่น คนไทยแต่งงานกับคนชาติอื่น ดังนั้น นโยบายการส่งแรงงานข้ามชาติท้องกลับประเทศ อาจจะเป็นการส่งให้คนไทยกลับประเทศอื่นแบบผิดกฎหมาย นอกจากนี้ กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการคัดกรองยังมีปัญหา ไม่จริงจังกับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยปีที่ผ่านมานำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้เพียงไม่กี่คดี และหลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐเลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย ให้ไทยยังไม่หลุดออกจากกระบวนการเฝ้าระวังจากประเทศคู่ค้า ขณะเดียวกัน นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ ยังไม่มีมิติของการคุ้มครอง คือเราคิดแต่จะเอาคนมาทำงาน แต่ลืมให้ความคุ้มครอง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแรงงานข้ามชาติและเป็นปัจจัยหลักของกระบวนการค้ามนุษย์
“อยากเสนอให้ รมว.แรงงาน เปิดพื้นที่ให้เอ็นจีโอเข้าไปนั่งในคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา เพราะกลุ่มเอ็นจีโอมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และจะร่วมแก้ปัญหาได้ดี โดยข้อเสนอเบื้องต้น คือ อยากให้ยกเลิกนโยบายดังกล่าว และสร้างกลไกการคุ้มครองแรงงานให้ชัด เช่น ต้องทำให้กระบวนการบังคับใช้จะต้องเกิดขึ้นอย่างจริงจัง แก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างไม่เป็นธรรม มีมาตรการอย่างเร่งด่วนเรื่องการยึดเอกสารประจำตัว และการดูแลคุ้มครองสิทธิแรงงาน อีกทั้งควรรณรงค์เรื่องการตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กในอุตสาหกรรมแรงงาน” นายอดิศร กล่าว