สธ.ส่งทีมแพทย์ สสจ.กาฬสินธุ์ สอบหมอเถื่อนใช้เข็มเจาะเลือดนักศึกษาร่วมกัน หวั่นติดเชื้อ เตรียมเปิดตรวจเลือดซ้ำอีกรอบ คัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยง พร้อมให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ ย้ำ ผู้บริหารโรงเรียนเข้มงวดหาทีมแพทย์ตรวจสุขภาพที่มีใบประกอบวิชาชีพฯถูกต้อง
วันนี้ (29 มิ.ย.) นายแพทย์ ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขต 12 จ.กาฬสินธุ์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจให้จับกุมกลุ่มหมอเถื่อน 9 คน ซึ่งได้มาตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่นักศึกษา และมีการเจาะเลือดด้วยการใช้เข็มเก่าซ้ำๆ กัน โดยมีนักศึกษาถูกเจาะเลือดไปทั้งหมด 406 คน เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กาฬสินธุ์ และ รพ.คำม่วง ประสานกับผู้บริหารของวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งหากพบว่า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใดๆ ทาง รพ.จะทำการตรวจเลือดซ้ำในเวลาที่เหมาะสม หรือหากไม่สบายใจ ต้องการเจาะเลือดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานก็จะดำเนินการให้ตามความสมัครใจ ขณะเดียวกัน ได้ให้ความรู้ และคำปรึกษาแก่นักศึกษาที่ได้รับการเจาะเลือดโดยใช้เข็มร่วมกัน ในการดูแลสุขภาพ เพื่อคลี่คลายความวิตกกังวล นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพอีก 2 แห่งใน จ.กาฬสินธุ์ คือ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง และหนองกุงศรี เพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกัน
นายแพทย์ ทวีเกียรติ กล่าวอีกว่า โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพประจำปีให้เด็กนักเรียน นักศึกษา จะเน้นการตรวจเบื้องต้น ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความดันโลหิต ตรวจวัดดัชนีมวลกาย เพื่อประเมินความอ้วน ตรวจวัดสายตา และฟังปอด ฟังการเต้นของหัวใจ หากนักเรียนรายใดที่มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของปอด หรือมีความผิดปกติ ก็จะมีการตรวจเพิ่มเติมในขั้นต่อไป เช่น การเอกซเรย์ปอด หรือการเจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ในรายที่มีปัญหาซีด สงสัยเป็นธาลัสซีเมีย หรือมีไข้ หรือในรายที่พบมีปัญหาตับโต หรืออ้วนมาก และมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขอย้ำเตือนให้ผู้บริหารสถานศึกษา หรือสถานประกอบการทั่วประเทศ หากต้องการให้หน่วยแพทย์ไปตรวจสุขภาพนักเรียน นักศึกษา หรือ พนักงาน สามารถติดต่อหน่วยแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ หรือโรงพยาบาลภาครัฐอื่นๆ หากจะติดต่อทีมสุขภาพอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยและบริการที่มีคุณภาพ ควรประสานขอข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อน
ด้าน นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันนั้น เสี่ยงต่อการติดโรคผิวหนังอักเสบ หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) เชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี หรือโรคมาลาเรีย ซึ่งผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นต้องสังเกตตนเอง หากติดเชื้อโรคตับอักเสบจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้สูง ในระยะยาวอาจจะทำให้เป็นโรคมะเร็งตับ ส่วนโรคเอดส์กว่าจะพบการติดเชื้อใช้เวลานานเป็นปี บางรายนานถึง 5 ปี ดังนั้น ไม่ควรรอให้เกิดอาการก่อน ควรไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่จะจัดให้มีการตรวจสุขภาพควรเลือกบุคลากรจากสถานบริการของรัฐ หรือหน่วยงานที่มีสถานที่ชัดเจน เช่น โรงพยาบาลเอกชน ผู้ปฏิบัติงานมีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะมีความรู้ในการดำเนินการตรวจสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
วันนี้ (29 มิ.ย.) นายแพทย์ ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขต 12 จ.กาฬสินธุ์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจให้จับกุมกลุ่มหมอเถื่อน 9 คน ซึ่งได้มาตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่นักศึกษา และมีการเจาะเลือดด้วยการใช้เข็มเก่าซ้ำๆ กัน โดยมีนักศึกษาถูกเจาะเลือดไปทั้งหมด 406 คน เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กาฬสินธุ์ และ รพ.คำม่วง ประสานกับผู้บริหารของวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งหากพบว่า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใดๆ ทาง รพ.จะทำการตรวจเลือดซ้ำในเวลาที่เหมาะสม หรือหากไม่สบายใจ ต้องการเจาะเลือดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานก็จะดำเนินการให้ตามความสมัครใจ ขณะเดียวกัน ได้ให้ความรู้ และคำปรึกษาแก่นักศึกษาที่ได้รับการเจาะเลือดโดยใช้เข็มร่วมกัน ในการดูแลสุขภาพ เพื่อคลี่คลายความวิตกกังวล นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพอีก 2 แห่งใน จ.กาฬสินธุ์ คือ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง และหนองกุงศรี เพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกัน
นายแพทย์ ทวีเกียรติ กล่าวอีกว่า โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพประจำปีให้เด็กนักเรียน นักศึกษา จะเน้นการตรวจเบื้องต้น ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความดันโลหิต ตรวจวัดดัชนีมวลกาย เพื่อประเมินความอ้วน ตรวจวัดสายตา และฟังปอด ฟังการเต้นของหัวใจ หากนักเรียนรายใดที่มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของปอด หรือมีความผิดปกติ ก็จะมีการตรวจเพิ่มเติมในขั้นต่อไป เช่น การเอกซเรย์ปอด หรือการเจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ในรายที่มีปัญหาซีด สงสัยเป็นธาลัสซีเมีย หรือมีไข้ หรือในรายที่พบมีปัญหาตับโต หรืออ้วนมาก และมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขอย้ำเตือนให้ผู้บริหารสถานศึกษา หรือสถานประกอบการทั่วประเทศ หากต้องการให้หน่วยแพทย์ไปตรวจสุขภาพนักเรียน นักศึกษา หรือ พนักงาน สามารถติดต่อหน่วยแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ หรือโรงพยาบาลภาครัฐอื่นๆ หากจะติดต่อทีมสุขภาพอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยและบริการที่มีคุณภาพ ควรประสานขอข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อน
ด้าน นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันนั้น เสี่ยงต่อการติดโรคผิวหนังอักเสบ หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) เชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี หรือโรคมาลาเรีย ซึ่งผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นต้องสังเกตตนเอง หากติดเชื้อโรคตับอักเสบจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้สูง ในระยะยาวอาจจะทำให้เป็นโรคมะเร็งตับ ส่วนโรคเอดส์กว่าจะพบการติดเชื้อใช้เวลานานเป็นปี บางรายนานถึง 5 ปี ดังนั้น ไม่ควรรอให้เกิดอาการก่อน ควรไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่จะจัดให้มีการตรวจสุขภาพควรเลือกบุคลากรจากสถานบริการของรัฐ หรือหน่วยงานที่มีสถานที่ชัดเจน เช่น โรงพยาบาลเอกชน ผู้ปฏิบัติงานมีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะมีความรู้ในการดำเนินการตรวจสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ