“ชินภัทร” หน้าเสีย สมศ.ประเมินสถานศึกษาไม่ผ่านกว่า 2,000 แห่ง บอกอย่ายึดข้อมูลในเอกสารอย่างเดียว เพราะจะทำให้ ร.ร.ห่างไกลเสียเปรียบ ชี้ ต้องประเมินจากปัจจัยอื่นด้วย แขวะ สมศ.ควรทำข้อเสนอแนะช่วยพัฒนาคุณภาพ ร.ร.ด้วย อย่ารายงานแต่ผลแล้วจบไป

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษารอบ 3 ประจำปี 2554 โดยเบื้องต้นผลการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7,985 แห่ง พบจำนวนถึง 2,295 แห่งไม่ผ่านการรับรองว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด คงต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้ไม่ผ่านการรับรอง ซึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้เป็นข้อจำกัด เช่น ครูไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชา ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่ผ่านการรับรอง อย่างไรก็ตามการประเมินสถานศึกษาของ สมศ.จะยึดแต่ข้อมูลจากเอกสารเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้โรงเรียนไม่ผ่านการรับรองจำนวนมาก แต่ต้องคำนึงตัวชี้วัดอื่นๆ ด้วย ทั้งด้านความพยายาม ความก้าวหน้าในพัฒนาการของโรงเรียน หากนำปัจจัยด้านความก้าวหน้ามาประเมิน ก็เชื่อว่า จะเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่หากใช้มาตรฐานเดียวกันมากำหนดเป็นตัวชี้วัดประเมินโรงเรียนทุกแห่ง โรงเรียนที่ห่างไกลก็จะเสียเปรียบ เสียโอกาสได้
“สิ่งที่กล่าวไม่ได้เป็นการแก้ตัว แต่เป็นการตั้งข้อสังเกตถึงระบบการประเมินที่ต้องดำเนินการแบบครบวงจร และอยากให้ สมศ.จัดทำข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ที่เป็นปัจจัย เป็นตัวแปรในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพโรงเรียนได้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงประเมินและรายงานผลแล้วจบ ที่ผ่านมา ก็มีการเสนอแนะบ้างแต่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด เพียงระบุว่า ขาดครู ขาดปัจจัย นอกจากนี้ ควรจะมองไปถึงการนำศักยภาพโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นปัจจัยในการพัฒนาโรงเรียนเช่นกัน”เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษารอบ 3 ประจำปี 2554 โดยเบื้องต้นผลการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7,985 แห่ง พบจำนวนถึง 2,295 แห่งไม่ผ่านการรับรองว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด คงต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้ไม่ผ่านการรับรอง ซึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้เป็นข้อจำกัด เช่น ครูไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชา ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่ผ่านการรับรอง อย่างไรก็ตามการประเมินสถานศึกษาของ สมศ.จะยึดแต่ข้อมูลจากเอกสารเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้โรงเรียนไม่ผ่านการรับรองจำนวนมาก แต่ต้องคำนึงตัวชี้วัดอื่นๆ ด้วย ทั้งด้านความพยายาม ความก้าวหน้าในพัฒนาการของโรงเรียน หากนำปัจจัยด้านความก้าวหน้ามาประเมิน ก็เชื่อว่า จะเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่หากใช้มาตรฐานเดียวกันมากำหนดเป็นตัวชี้วัดประเมินโรงเรียนทุกแห่ง โรงเรียนที่ห่างไกลก็จะเสียเปรียบ เสียโอกาสได้
“สิ่งที่กล่าวไม่ได้เป็นการแก้ตัว แต่เป็นการตั้งข้อสังเกตถึงระบบการประเมินที่ต้องดำเนินการแบบครบวงจร และอยากให้ สมศ.จัดทำข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ที่เป็นปัจจัย เป็นตัวแปรในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพโรงเรียนได้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงประเมินและรายงานผลแล้วจบ ที่ผ่านมา ก็มีการเสนอแนะบ้างแต่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด เพียงระบุว่า ขาดครู ขาดปัจจัย นอกจากนี้ ควรจะมองไปถึงการนำศักยภาพโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นปัจจัยในการพัฒนาโรงเรียนเช่นกัน”เลขาธิการ กพฐ.กล่าว