เผยปี 54 รพ.สต.บ้านเจดีย์ เมืองกาญจน์ แบกภาระรักษาแรงงานข้ามชาติฟรีพุ่ง 71% เลขามูลนิธิพัฒนรักษ์ หวั่นสร้างภาระหนี้สิน ผุดแนวคิด บัตรประกันสุขภาพเฉพาะแรงงาน ลดภาระรัฐ เตรียมชง สสจ.-ผู้ว่าฯ ส.ค.นี้
นายเสรี ทองมาก เลขาธิการมูลนิธิพัฒนรักษ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจสถานการณ์การรับบริการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านพระเจดีย์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ช่วง 1 ม.ค.- 31 ธ.ค.2554 พบว่า มีผู้รับบริการทั้งหมด 5,757 เป็นคนไทย 1,792 คน ไม่ใช่ไทย 3,965 คน โดยในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ทั้งแรงงานประจำ และแรงงานที่ย้ายถิ่นฐาน มีการเข้ารับบริการอย่างหนาแน่น โดยคนไทยก็มี 3 สิทธิหลัก คือ บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ ส่วนที่ไม่ใช่คนไทย ใช้ 3 สิทธิในการรักษา ได้แก่ บัตรทอง 13% จ่ายเอง 16% และ แต่ที่น่ากังวล คือ ไม่จ่ายสูงถึง 71% โดยพบว่าแรงงานส่วนมากไม่มีกำลังในการจ่าย เพราะรายได้เฉลี่ยวนละ 100 บาท เท่านั้น ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งเฉลี่ย 60-300 บาท ซึ่งจากปัญหานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่เคยทำให้โรงพยาบาลขาดทุน และหากปล่อยไว้ก็คงติดหนี้สินหลายล้านบาท ปัญหาที่ตามมา คือ หาทางออกให้แรงงานไม่ได้และถูกมองว่าเป็นภาระของรัฐบาล ซึ่งหากมองมุมกลับกัน ประเทศไทยก็ขาดแรงงานกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ ยิ่งเข้าใกล้การเปิดประชาคมอาเซียน ก็ยิ่งเสี่ยงต่การถูกประเทศเพื่อนบ้านดึงแรงงานกลับประเทศมากขึ้น
นายเสรี กล่าวต่อว่า ทางมูลนิธิจึงพยายามจะเสนอแนวคิดเรื่องการทำบัตรประกันสุขภาพเพื่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยจากการพูดคุยเบื้องต้นกับผู้ประกอบการส่วนมากเห็นด้วย แต่ยังไม่ผู้ริ่มเริม โดยแนวคิดหลัก คือ การทำบัตรประกันสุขภาพอิงตามบัตรประกันฯ ที่รัฐบาลเคยใช้ในอดีต ประมาณคนละ 500 บาท แล้วกำหนดอายุการใช้งาน 1 ปี ซึ่งน่าจะช่วยผ่อนภาระได้บ้าง โดยจะเสนอให้สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และ ผู้ว่าราชการจังหวัด รับทราบ ประมาณเดือนสิงหาคม นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนเพื่อทำบัตรประกันสุขภาพสำหรับแรงงานชั่วคราว เพื่อช่วยลดภาระสถานพยาบาลในพื้นที่
นายเสรี ทองมาก เลขาธิการมูลนิธิพัฒนรักษ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจสถานการณ์การรับบริการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านพระเจดีย์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ช่วง 1 ม.ค.- 31 ธ.ค.2554 พบว่า มีผู้รับบริการทั้งหมด 5,757 เป็นคนไทย 1,792 คน ไม่ใช่ไทย 3,965 คน โดยในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ทั้งแรงงานประจำ และแรงงานที่ย้ายถิ่นฐาน มีการเข้ารับบริการอย่างหนาแน่น โดยคนไทยก็มี 3 สิทธิหลัก คือ บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ ส่วนที่ไม่ใช่คนไทย ใช้ 3 สิทธิในการรักษา ได้แก่ บัตรทอง 13% จ่ายเอง 16% และ แต่ที่น่ากังวล คือ ไม่จ่ายสูงถึง 71% โดยพบว่าแรงงานส่วนมากไม่มีกำลังในการจ่าย เพราะรายได้เฉลี่ยวนละ 100 บาท เท่านั้น ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งเฉลี่ย 60-300 บาท ซึ่งจากปัญหานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่เคยทำให้โรงพยาบาลขาดทุน และหากปล่อยไว้ก็คงติดหนี้สินหลายล้านบาท ปัญหาที่ตามมา คือ หาทางออกให้แรงงานไม่ได้และถูกมองว่าเป็นภาระของรัฐบาล ซึ่งหากมองมุมกลับกัน ประเทศไทยก็ขาดแรงงานกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ ยิ่งเข้าใกล้การเปิดประชาคมอาเซียน ก็ยิ่งเสี่ยงต่การถูกประเทศเพื่อนบ้านดึงแรงงานกลับประเทศมากขึ้น
นายเสรี กล่าวต่อว่า ทางมูลนิธิจึงพยายามจะเสนอแนวคิดเรื่องการทำบัตรประกันสุขภาพเพื่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยจากการพูดคุยเบื้องต้นกับผู้ประกอบการส่วนมากเห็นด้วย แต่ยังไม่ผู้ริ่มเริม โดยแนวคิดหลัก คือ การทำบัตรประกันสุขภาพอิงตามบัตรประกันฯ ที่รัฐบาลเคยใช้ในอดีต ประมาณคนละ 500 บาท แล้วกำหนดอายุการใช้งาน 1 ปี ซึ่งน่าจะช่วยผ่อนภาระได้บ้าง โดยจะเสนอให้สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และ ผู้ว่าราชการจังหวัด รับทราบ ประมาณเดือนสิงหาคม นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนเพื่อทำบัตรประกันสุขภาพสำหรับแรงงานชั่วคราว เพื่อช่วยลดภาระสถานพยาบาลในพื้นที่