“WHO” ชี้ทั่วโลกตายเพราะบุหรี่ปีละ 6 ล้านคน ส่วนคนไทยรับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน ที่สาธารณะเพิ่มขึ้น จวกบริษัทยาสูบทำการตลาดรุกกลุ่มเยาวชน ขณะที่ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยาน จี้รัฐใช้ยาแรง เร่งขยายสถานประกอบการส่งเสริมสุขภาวะ ลดละเลิก บุหรี่ เหล้า
วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่กรมประชาสัมพันธ์ นพ.ชัย กฤติยาภิชาติกุล ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวระหว่างการแถลงข่าว “ถอดรหัส พัฒนาสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ” ว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังจำนวน 36 ล้านคน โดยร้อยละ 10 หรือ 6 ล้านคน เสียชีวิตเพราะบุหรี่ และในจำนวนนี้มี 6 แสนคนเป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันมือสองจนทำให้เกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่ง WHO มีมติให้ประเทศสมาชิกดำเนินมาตรการจริงจังในการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยมีบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ทั้งนี้ จากการสำรวจของ WHO ร่วมกับรัฐบาลไทย และศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้สำรวจการใช้และการได้รับควันบุหรี่ ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2554 พบว่า คนไทยมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจาก 12.5 ล้านคน เป็น 13 ล้านคน และพบว่าการได้รับควันบุหรี่มือสองจากสถานประกอบการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.2 ในปี 2552 เป็น ร้อยละ 30.5 ในปี 2554 และพบอีกว่า อัตราการได้รับควันบุหรี่ในที่สาธารณะก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 40
นพ.ชัย กล่าวอีกว่า จากการสำรวจดังกล่าว WHO มีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การลดการบริโภคยาสูบ คือ 1. หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ต้องดำเนินมาตรการอย่างเข้มแข็ง และนโยบายของรัฐบาลต้องสนับสนุนการลดจำนวนการสูบบุหรี่ 2. การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีกฎหมายที่ดีอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เช่น การปรับผู้สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ 2,000 บาท ที่ปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้มากนัก 3. ต้องควบคุมธุรกิจยาสูบ ที่ปัจจุบันมุ่งเน้นทำการตลาดเชิงรุกในกลุ่มเยาวชน ทำให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำการตลาดกิจกรรมเพื่อสังคม พบว่า โรงงานยาสูบ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้กระทำผิดกฎหมายมากที่สุด โดยการให้ทุนโรงเรียนต่างๆ ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าใจผิดว่าโรงงานยาสูบเป็นเพื่อนที่ดี เป็นผู้มีคุณประโยชน์ ทำให้การรณรงค์ในโรงเรียนลดลงหรือไม่ได้ผล
ด้าน นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า สาเหตุที่อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยเพิ่มขึ้น เกิดจากการที่บริษัทบุหรี่ มุ่งทำการตลาดและกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) กับกลุ่มเยาวชน ทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ ประเทศไทยไม่ได้ขึ้นภาษีบุหรี่มานานถึง 3 ปี ส่งผลให้ราคาบุหรี่ถูกลง และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่และยาสูบไม่เข้มแข็งมากพอ ทั้งนี้ คนไทยเสียชีวิตจากสาเหตุของการสูบบุหรี่ 48,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ 14,000 คนเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี โดยเฉลี่ยผู้สูบบุหรี่จะอายุสั้นลง 12 ปี และป่วยจนทำงานไม่ได้ประมาณ 2 ปี ทำให้สูญเสียไป 14 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูบบุหรี่จะอยู่ในวัยทำงาน และเป็นหัวหน้าครอบครัวทำให้เกิดผลกระทบอย่างมาก โดยพบว่า กลุ่มคนงานส่วนใหญ่มักใช้เงินในการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เดือนละ 586 บาท ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ และหากมีการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการ จะทำให้ลดการสูญเสียรายได้
ดร.จิรพล สินธุนาวา อุปนายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. กล่าวว่า จากการที่สมาคมดำเนินโครงการพัฒนาสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2551 ด้วยการเข้าไปรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการควบคุมการสูบบุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่นๆ อาทิ สนับสนุนให้ลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยง โดยการจัดกิจกรรม และพัฒนาโครงการ พบว่า มีสถานประกอบการทั้งในกทม.และต่างจังหวัด เข้าร่วมโครงการจำนวน 205 แห่ง ครอบคลุมแรงงานทั้งสิ้น 137,341 คน ทำให้มีจำนวนผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 905 คน เลิกดื่มเหล้า 812 คน เลิกเล่นการพนัน 42 คน และลดจำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุจาก 516 ครั้งในปี 2553 เหลือ 194 ครั้ง ในปี 2554 ทั้งนี้ ได้มีการถอดบทเรียนจัดทำเป็นคู่มือ 3 เล่ม ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้บริหาร คู่มือสำหรับคณะทำงาน และ คู่มือการจัดกิจกรรม เพื่อให้สถานประกอบการที่สนใจ นำไปปรับใช้เพื่อให้กลายเป็นสถานประกอบการส่งเสริมสุขภาพได้ทันที่ ติดต่อขอรับหนังสือ 0-2441-9232 , 0-2889-3390
วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่กรมประชาสัมพันธ์ นพ.ชัย กฤติยาภิชาติกุล ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวระหว่างการแถลงข่าว “ถอดรหัส พัฒนาสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ” ว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังจำนวน 36 ล้านคน โดยร้อยละ 10 หรือ 6 ล้านคน เสียชีวิตเพราะบุหรี่ และในจำนวนนี้มี 6 แสนคนเป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันมือสองจนทำให้เกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่ง WHO มีมติให้ประเทศสมาชิกดำเนินมาตรการจริงจังในการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยมีบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ทั้งนี้ จากการสำรวจของ WHO ร่วมกับรัฐบาลไทย และศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้สำรวจการใช้และการได้รับควันบุหรี่ ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2554 พบว่า คนไทยมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจาก 12.5 ล้านคน เป็น 13 ล้านคน และพบว่าการได้รับควันบุหรี่มือสองจากสถานประกอบการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.2 ในปี 2552 เป็น ร้อยละ 30.5 ในปี 2554 และพบอีกว่า อัตราการได้รับควันบุหรี่ในที่สาธารณะก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 40
นพ.ชัย กล่าวอีกว่า จากการสำรวจดังกล่าว WHO มีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การลดการบริโภคยาสูบ คือ 1. หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ต้องดำเนินมาตรการอย่างเข้มแข็ง และนโยบายของรัฐบาลต้องสนับสนุนการลดจำนวนการสูบบุหรี่ 2. การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีกฎหมายที่ดีอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เช่น การปรับผู้สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ 2,000 บาท ที่ปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้มากนัก 3. ต้องควบคุมธุรกิจยาสูบ ที่ปัจจุบันมุ่งเน้นทำการตลาดเชิงรุกในกลุ่มเยาวชน ทำให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำการตลาดกิจกรรมเพื่อสังคม พบว่า โรงงานยาสูบ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้กระทำผิดกฎหมายมากที่สุด โดยการให้ทุนโรงเรียนต่างๆ ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าใจผิดว่าโรงงานยาสูบเป็นเพื่อนที่ดี เป็นผู้มีคุณประโยชน์ ทำให้การรณรงค์ในโรงเรียนลดลงหรือไม่ได้ผล
ด้าน นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า สาเหตุที่อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยเพิ่มขึ้น เกิดจากการที่บริษัทบุหรี่ มุ่งทำการตลาดและกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) กับกลุ่มเยาวชน ทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ ประเทศไทยไม่ได้ขึ้นภาษีบุหรี่มานานถึง 3 ปี ส่งผลให้ราคาบุหรี่ถูกลง และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่และยาสูบไม่เข้มแข็งมากพอ ทั้งนี้ คนไทยเสียชีวิตจากสาเหตุของการสูบบุหรี่ 48,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ 14,000 คนเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี โดยเฉลี่ยผู้สูบบุหรี่จะอายุสั้นลง 12 ปี และป่วยจนทำงานไม่ได้ประมาณ 2 ปี ทำให้สูญเสียไป 14 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูบบุหรี่จะอยู่ในวัยทำงาน และเป็นหัวหน้าครอบครัวทำให้เกิดผลกระทบอย่างมาก โดยพบว่า กลุ่มคนงานส่วนใหญ่มักใช้เงินในการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เดือนละ 586 บาท ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ และหากมีการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการ จะทำให้ลดการสูญเสียรายได้
ดร.จิรพล สินธุนาวา อุปนายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. กล่าวว่า จากการที่สมาคมดำเนินโครงการพัฒนาสถานประกอบการสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2551 ด้วยการเข้าไปรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการควบคุมการสูบบุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่นๆ อาทิ สนับสนุนให้ลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยง โดยการจัดกิจกรรม และพัฒนาโครงการ พบว่า มีสถานประกอบการทั้งในกทม.และต่างจังหวัด เข้าร่วมโครงการจำนวน 205 แห่ง ครอบคลุมแรงงานทั้งสิ้น 137,341 คน ทำให้มีจำนวนผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 905 คน เลิกดื่มเหล้า 812 คน เลิกเล่นการพนัน 42 คน และลดจำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุจาก 516 ครั้งในปี 2553 เหลือ 194 ครั้ง ในปี 2554 ทั้งนี้ ได้มีการถอดบทเรียนจัดทำเป็นคู่มือ 3 เล่ม ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้บริหาร คู่มือสำหรับคณะทำงาน และ คู่มือการจัดกิจกรรม เพื่อให้สถานประกอบการที่สนใจ นำไปปรับใช้เพื่อให้กลายเป็นสถานประกอบการส่งเสริมสุขภาพได้ทันที่ ติดต่อขอรับหนังสือ 0-2441-9232 , 0-2889-3390