สธ.เปิดตัวโครงการตรวจคัดกรอง เอกซเรย์มะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ฟรี พร้อมสร้างวัตถุมงคลระดมทุนซื้อรถเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ 5 คันพร้อมอุปกรณ์ รวมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ใช้สอนสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ และตรวจหามะเร็งเต้านมอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกในไทยและหนึ่งเดียวในโลก เริ่มปี 2556-2560 ตั้งเป้าตรวจคัดกรองหญิงไทยในกลุ่มเสี่ยง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้ได้ 250,000 คน ช่วยหญิงไทยด้อยโอกาสพ้นมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติพระบรมฯ
วันนี้ (25 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย และนายพิศาล เตชะวิภาค อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องและพระบูชา ร่วมกันแถลงข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ หรือแมมโมกราฟฟี่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบในวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 นี้ เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยจากโรคมะเร็งเต้านมลง โครงการดังกล่าวนี้จะใช้วิธีการระดมทุนจากภาคเอกชน และภาคประชาชน ไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ โดยจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร รุ่น “เบญจนวมงคล” ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เพื่อหารายได้และร่วมบริจาคสมทบทุนการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าว
นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีไทยรองจากโรคมะเร็งตับ ซึ่งในปี 2553 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 13,184 ราย เสียชีวิต 4,665 ราย เฉลี่ยตาย 1คน ในทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยพบหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามปีละประมาณ 5,600 ราย หรือประมาณร้อยละ 56 ของผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ ทำให้โอกาสมีชีวิตรอดเป็นศูนย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว และการเอกซเรย์เต้านมขณะนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพง ครั้งละ 2,000 กว่าบาท ผู้หญิงที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ โดยค่าตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์ ยังไม่ได้บรรจุในสิทธิประโยชน์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ครั้งนี้ จะเป็นการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 5 หน่วย แต่ละหน่วยจะมีประจำแต่ละภาค ครอบคลุมทั้ง 5 ภาคทั่วประเทศ ลงไปยังชุมชนทั่วประเทศทุกอำเภอ แต่ละหน่วยประกอบด้วยหน่วยประชาสัมพันธ์ หน่วยนิทรรศการให้ความรู้ หน่วยสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หน่วยที่ตรวจเต้านมให้กับประชาชนในรายที่สงสัย และหน่วยเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล ในรายที่สงสัยหรือมีปัจจัยเสี่ยงและด้อยโอกาส รู้ผลทันที หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะส่งต่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดนั้นๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพ โครงการดังกล่าวนี้นับเป็นโครงการแรกของไทยและเป็นโครงการเดียวของโลกที่มีทั้งการให้ความรู้ การสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตรวจเต้านมโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการเอกซเรย์เต้านมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและด้อยโอกาส บริการฟรีทั้งหมด โดยมีเป้าหมายเอ็กซเรย์เต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ภายใน 5 ปี จำนวน 250,000 ราย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556-2560
ด้าน นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ สตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย หรือประจำเดือนหมดเมื่ออายุมาก หรือเป็นผู้ที่มีญาติพี่น้องสายตรง เช่น แม่ ป้า หรือ น้า เป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งขณะนี้มะเร็งเต้านมสามารถพบได้ในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี และพบในผู้ชายปีละประมาณ 2-3 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านมชัดเจนแล้ว หรือมีแผลที่เต้านม มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนม ซึ่งเป็นอาการของมะเร็งในระยะท้ายๆ ซึ่งมีการลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ไปแล้ว โอกาสรักษาหายจึงแทบจะไม่มี
วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านม คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลด หลีกเลี่ยงกินอาหารที่มีไขมันสูง รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด พบก้อนผิดปกติได้เร็ว ยิ่งเล็กได้เท่าไรยิ่งดี ต่อการรักษาได้ผล โอกาสรอดชีวิตมีสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การตรวจเต้านมทำได้ 2 วิธี คือ 1.ตรวจคลำด้วยตนเอง ทุกเดือนหลังเป็นประจำเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะสามารถคลำพบก้อนเนื้อที่โตประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นไป หากพบก้อนโตขนาด 2-5 เซนติเมตร อัตรารอดชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 70-75 หากก้อนโต 85 เซนติเมตรขึ้นไป อัตรารอดชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 30-15 และ2.การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม จะพบก้อนมะเร็งตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟ คือ แค่ 2-3 มิลลิเมตร สามารถรักษาให้หายได้เกือบทั้งหมด เพราะมะเร็งจะมีขนาดเล็กมาก ยังไม่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
สำหรับการระดมทุนซื้อเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ จำนวน 200 ล้านบาทนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธรรุ่น “เบญจนวมงคล”๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เพื่อให้ประชาชนเช่าไปบูชาและนำเงินที่ได้เข้าโครงการดังกล่าว วัตถุมงคลนี้ประกอบด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากพระเกจิทั่วประเทศกว่า 8,000 ชนิด สร้างทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่ 1.พระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะยังไม่มีใครจัดสร้างมาก่อน 2.ชนิดห้อยคอมี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองทิพย์ 3.เหรียญเสมา มีลายกนกประทับสิงห์ มี 4 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยามี 7 สี เนื้อทองทิพย์ และเนื้อทองแดงนอก 4.เหรียญหลวงพ่อโสธรสองหน้ามี 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองทิพย์ และ 5.สมเด็จหลวงพ่อโสธร
ประชาชนที่สนใจบูชาวัตถุมงคลชุดนี้ เพื่อสมทบทุนเข้าโครงการ สามารถสั่งจองได้ที่กรมอนามัย โทรศัพท์ 088-5055773, 088-5006854, 02-5904555, 02-9659244 หรือที่ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ เลขที่บัญชี 142-601-4120 หรือเว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th
วันนี้ (25 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย และนายพิศาล เตชะวิภาค อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องและพระบูชา ร่วมกันแถลงข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ หรือแมมโมกราฟฟี่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบในวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 นี้ เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยจากโรคมะเร็งเต้านมลง โครงการดังกล่าวนี้จะใช้วิธีการระดมทุนจากภาคเอกชน และภาคประชาชน ไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ โดยจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร รุ่น “เบญจนวมงคล” ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เพื่อหารายได้และร่วมบริจาคสมทบทุนการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าว
นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีไทยรองจากโรคมะเร็งตับ ซึ่งในปี 2553 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 13,184 ราย เสียชีวิต 4,665 ราย เฉลี่ยตาย 1คน ในทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยพบหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามปีละประมาณ 5,600 ราย หรือประมาณร้อยละ 56 ของผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ ทำให้โอกาสมีชีวิตรอดเป็นศูนย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว และการเอกซเรย์เต้านมขณะนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพง ครั้งละ 2,000 กว่าบาท ผู้หญิงที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ โดยค่าตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์ ยังไม่ได้บรรจุในสิทธิประโยชน์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ครั้งนี้ จะเป็นการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 5 หน่วย แต่ละหน่วยจะมีประจำแต่ละภาค ครอบคลุมทั้ง 5 ภาคทั่วประเทศ ลงไปยังชุมชนทั่วประเทศทุกอำเภอ แต่ละหน่วยประกอบด้วยหน่วยประชาสัมพันธ์ หน่วยนิทรรศการให้ความรู้ หน่วยสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หน่วยที่ตรวจเต้านมให้กับประชาชนในรายที่สงสัย และหน่วยเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล ในรายที่สงสัยหรือมีปัจจัยเสี่ยงและด้อยโอกาส รู้ผลทันที หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะส่งต่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดนั้นๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพ โครงการดังกล่าวนี้นับเป็นโครงการแรกของไทยและเป็นโครงการเดียวของโลกที่มีทั้งการให้ความรู้ การสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตรวจเต้านมโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการเอกซเรย์เต้านมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและด้อยโอกาส บริการฟรีทั้งหมด โดยมีเป้าหมายเอ็กซเรย์เต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ภายใน 5 ปี จำนวน 250,000 ราย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556-2560
ด้าน นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ สตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย หรือประจำเดือนหมดเมื่ออายุมาก หรือเป็นผู้ที่มีญาติพี่น้องสายตรง เช่น แม่ ป้า หรือ น้า เป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งขณะนี้มะเร็งเต้านมสามารถพบได้ในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี และพบในผู้ชายปีละประมาณ 2-3 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านมชัดเจนแล้ว หรือมีแผลที่เต้านม มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนม ซึ่งเป็นอาการของมะเร็งในระยะท้ายๆ ซึ่งมีการลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ไปแล้ว โอกาสรักษาหายจึงแทบจะไม่มี
วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านม คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลด หลีกเลี่ยงกินอาหารที่มีไขมันสูง รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด พบก้อนผิดปกติได้เร็ว ยิ่งเล็กได้เท่าไรยิ่งดี ต่อการรักษาได้ผล โอกาสรอดชีวิตมีสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การตรวจเต้านมทำได้ 2 วิธี คือ 1.ตรวจคลำด้วยตนเอง ทุกเดือนหลังเป็นประจำเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะสามารถคลำพบก้อนเนื้อที่โตประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นไป หากพบก้อนโตขนาด 2-5 เซนติเมตร อัตรารอดชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 70-75 หากก้อนโต 85 เซนติเมตรขึ้นไป อัตรารอดชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 30-15 และ2.การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม จะพบก้อนมะเร็งตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟ คือ แค่ 2-3 มิลลิเมตร สามารถรักษาให้หายได้เกือบทั้งหมด เพราะมะเร็งจะมีขนาดเล็กมาก ยังไม่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
สำหรับการระดมทุนซื้อเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ จำนวน 200 ล้านบาทนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธรรุ่น “เบญจนวมงคล”๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เพื่อให้ประชาชนเช่าไปบูชาและนำเงินที่ได้เข้าโครงการดังกล่าว วัตถุมงคลนี้ประกอบด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากพระเกจิทั่วประเทศกว่า 8,000 ชนิด สร้างทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่ 1.พระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะยังไม่มีใครจัดสร้างมาก่อน 2.ชนิดห้อยคอมี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองทิพย์ 3.เหรียญเสมา มีลายกนกประทับสิงห์ มี 4 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยามี 7 สี เนื้อทองทิพย์ และเนื้อทองแดงนอก 4.เหรียญหลวงพ่อโสธรสองหน้ามี 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองทิพย์ และ 5.สมเด็จหลวงพ่อโสธร
ประชาชนที่สนใจบูชาวัตถุมงคลชุดนี้ เพื่อสมทบทุนเข้าโครงการ สามารถสั่งจองได้ที่กรมอนามัย โทรศัพท์ 088-5055773, 088-5006854, 02-5904555, 02-9659244 หรือที่ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ เลขที่บัญชี 142-601-4120 หรือเว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th