หากใครเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” และ “โรคเบาหวาน” จะทราบดีว่า ตนควรดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอ เพราะทั้งสองโรคสามารถพรากลมหายใจของตนไปได้เสมอ แต่ที่น่ากังวลกว่านั้น คือ พบว่า ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตวาย ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยใหม่และจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น
หลากหลายหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างออกมาทำการรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง อย่างโครงการ “กำลังใจเพื่อชีวิตอิสระ ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง” ได้จัดเสวนา “3 รู้...สู้โรคไต” เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รวมทั้งการป้องกัน และวิธีการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและการบำบัดทดแทนไต เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงถึงร้อยละ 4.5 จากประชากรที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ทั้งที่ไม่ทราบมาก่อน หรือทราบแต่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด และยังมีโรคเกาต์ นิ่วในไต หน่วยไตอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม “เอ็นเสด (NSAIDs)” และยาปฏิชีวนะบางตัว รวมถึงภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ไต และการเป็นมาแต่กำเนิด
สำหรับความสำเร็จของการป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง พญ.ปิยะธิดา มองว่า ต้องกระตุ้นให้ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของไต และโรคไต มีด้วยกัน 3 รู้ ได้แก่ การรู้โรค การรู้จักป้องกัน และรู้บำบัด
การรู้โรค พญ.ปิยะธิดา กล่าวว่า ต้องรู้ว่าโรคไตคืออะไร มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน เมื่อเป็นแล้วมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและให้ความสำคัญของการป้องกันโรคไต ส่วนการรู้จักป้องกัน โดยต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเอง และนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา โดยเฉพาะยาสมุนไพร ยาหม้อ หรือยาเม็ดลูกกลอน รวมถึงยาแผนปัจจุบันบางชนิดที่รับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และดูแลสุขภาพ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญต้องรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องรู้จักสังเกตสัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต เพื่อยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานขึ้น
“ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ปริมาณปัสสาวะออกน้อยลง มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุด หรือมีเศษนิ่วปนออกมา ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ หรือปัสสาวะเป็นฟอง การบวมของใบหน้า รอบดวงตา เท้า และท้อง กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม มีอาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอว หรือไม่อยู่กลางหลัง) และความดันโลหิตสูง แต่ทั้งนี้ ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัย” พญ.ปิยะธิดา กล่าว
ขณะที่การรู้บำบัด พญ.ปิยะธิดา อธิบายว่า เมื่อป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเป็นประจำและต่อเนื่อง เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคที่มีการทำลายเนื้อไตทั้งสองข้างอย่างถาวรและต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของไตบกพร่องมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด ในที่สุดผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะทนทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ ที่เกิดจากของเสียคั่งในเลือด ซึ่งถ้าไม่รักษาโดยการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาไม่นานนัก
สำหรับกรณีผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก พญ.ปิยะธิดา บอกว่า ยังไม่จำเป็นต้องบำบัดทดแทนไต แต่ต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ด้วยการจำกัดอาหารที่มีรสจัด เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อกโกแลต มะพร้าวขูด (ให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน) จำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
นอกจากนี้ การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือดก็สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ รวมถึงต้องไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมัน หรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ
หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้าย พญ.ปิยะธิดา แนะนำว่า ต้องบำบัดทดแทนไต ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี คือ 1. การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือด ผู้ป่วยต้องเดินทางไปยังศูนย์ไตเทียมเพื่อฟอกเลือดทุกสัปดาห์ๆ ละ 2-3 ครั้งตลอดชีวิต ทำให้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยในวัยทำงาน ชีวิตขาดอิสระ และผู้ป่วยยังจำเป็นต้องจำกัดน้ำและเกลือโดยเคร่งครัด และ 3. การล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยหรือญาติสามารถทำได้เองที่บ้านทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป ลดข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเดินทางไปพบแพทย์ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ได้รับตามสิทธิอีกด้วย โดยบรรจุอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ด้านนายธีรมนัส ธนเอกอัครพงษ์ อายุ 49 ปี ได้เล่าถึงชีวิตที่ต้องสู้กับโรคไต ว่า ก่อนป่วยได้มีโอกาสไปทำงานที่ประเทศฮ่องกง นาน 10 ปี กลางวันเป็นกุ๊กอาหารไทยในโรงแรม กลางคืนร้องเพลง พักผ่อนน้อยมาก เมื่อถึงหน้าหนาวก็หนาวมาก มีคนไทยที่นั่นแนะนำให้ดื่มสมุนไพรจีน เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อและกระดูก จึงดื่มวันละ 3 แก้ว เป็นเวลา 3 เดือน แต่มาทราบความจริงในภายหลังว่าให้ดื่มอาทิตย์ละ 1 แก้วเท่านั้น ทุกอย่างจึงสายเกินไป ปรากฏว่า เกิดอาการไตวายฉับพลัน และตามมาด้วยความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจโตในที่สุด
“ช่วงที่ทราบว่าป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังใหม่ๆ แรกๆ สุขภาพแย่มาก น้ำหนักตัวเหลือแค่ 37 กิโลกรัม หลังจากที่ได้รับการรักษาอยู่ระยะหนึ่ง ก็ปรับระดับจิตใจของตนเองให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หมั่นดูแลตนเองตามที่คุณหมอและพยาบาลแนะนำ ดื่มน้ำพอประมาณ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทโซเดียม (เกลือ ผงชูรส ผงฟู ผงนุ่ม เครื่องปรุงรสต่างๆ ที่มีรสเค็ม) ที่สำคัญที่สุด ต้องคิดอยู่เสมอว่า เราป่วยเพียงร่างกายเท่านั้น แต่อย่าให้จิตใจป่วยตามเด็ดขาด”
ธีรมนัส เล่าให้ฟังอีกว่า ตนได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ปัจจุบันทำงานเป็นผู้จัดการในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง การดำเนินชีวิตก็เป็นปกติ เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องปรับเวลาให้เข้ากับงานที่ทำ โดยต้องล้างไต 3 ครั้ง (8 ชั่วโมงล้าง 1 ครั้ง) และรู้สึกสนุกกับการล้างไตทุกครั้ง เพราะถือว่าการล้างไตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเป็นกิจวัตรประจำวัน บางครั้งอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น น้ำยาขุ่น เป็นแผล มีหนองเกิดขึ้นจึงรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์และพยาบาลก็จะหาสาเหตุให้ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และบอกวิธีการแก้ไขให้ในที่สุด
“ทุกวันนี้ก็แข็งแรงดี รับประทานอาหารได้ นอนหลับ น้ำหนักเกือบจะเท่าเดิมแล้ว ถ้ามีเวลาและโอกาสก็จะออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 30 นาที ที่เขาว่าชีวิตเปรียบเสมือนกับบทละคร ก็เพิ่งประจักษ์กับคำนี้ เพราะขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์เพียงชั่วเวลาหนึ่งก็กลับกลายเป็นคนหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เมื่อใช้คำว่า “สู้” ทุกๆ อย่างก็ดีขึ้น”
หลากหลายหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างออกมาทำการรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง อย่างโครงการ “กำลังใจเพื่อชีวิตอิสระ ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง” ได้จัดเสวนา “3 รู้...สู้โรคไต” เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รวมทั้งการป้องกัน และวิธีการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและการบำบัดทดแทนไต เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงถึงร้อยละ 4.5 จากประชากรที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ทั้งที่ไม่ทราบมาก่อน หรือทราบแต่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด และยังมีโรคเกาต์ นิ่วในไต หน่วยไตอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม “เอ็นเสด (NSAIDs)” และยาปฏิชีวนะบางตัว รวมถึงภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ไต และการเป็นมาแต่กำเนิด
สำหรับความสำเร็จของการป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง พญ.ปิยะธิดา มองว่า ต้องกระตุ้นให้ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของไต และโรคไต มีด้วยกัน 3 รู้ ได้แก่ การรู้โรค การรู้จักป้องกัน และรู้บำบัด
การรู้โรค พญ.ปิยะธิดา กล่าวว่า ต้องรู้ว่าโรคไตคืออะไร มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน เมื่อเป็นแล้วมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและให้ความสำคัญของการป้องกันโรคไต ส่วนการรู้จักป้องกัน โดยต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเอง และนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา โดยเฉพาะยาสมุนไพร ยาหม้อ หรือยาเม็ดลูกกลอน รวมถึงยาแผนปัจจุบันบางชนิดที่รับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และดูแลสุขภาพ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญต้องรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องรู้จักสังเกตสัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต เพื่อยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานขึ้น
“ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ปริมาณปัสสาวะออกน้อยลง มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุด หรือมีเศษนิ่วปนออกมา ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ หรือปัสสาวะเป็นฟอง การบวมของใบหน้า รอบดวงตา เท้า และท้อง กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม มีอาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอว หรือไม่อยู่กลางหลัง) และความดันโลหิตสูง แต่ทั้งนี้ ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัย” พญ.ปิยะธิดา กล่าว
ขณะที่การรู้บำบัด พญ.ปิยะธิดา อธิบายว่า เมื่อป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเป็นประจำและต่อเนื่อง เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคที่มีการทำลายเนื้อไตทั้งสองข้างอย่างถาวรและต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของไตบกพร่องมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด ในที่สุดผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะทนทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ ที่เกิดจากของเสียคั่งในเลือด ซึ่งถ้าไม่รักษาโดยการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาไม่นานนัก
สำหรับกรณีผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก พญ.ปิยะธิดา บอกว่า ยังไม่จำเป็นต้องบำบัดทดแทนไต แต่ต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ด้วยการจำกัดอาหารที่มีรสจัด เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อกโกแลต มะพร้าวขูด (ให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน) จำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
นอกจากนี้ การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือดก็สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ รวมถึงต้องไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมัน หรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ
หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้าย พญ.ปิยะธิดา แนะนำว่า ต้องบำบัดทดแทนไต ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี คือ 1. การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือด ผู้ป่วยต้องเดินทางไปยังศูนย์ไตเทียมเพื่อฟอกเลือดทุกสัปดาห์ๆ ละ 2-3 ครั้งตลอดชีวิต ทำให้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยในวัยทำงาน ชีวิตขาดอิสระ และผู้ป่วยยังจำเป็นต้องจำกัดน้ำและเกลือโดยเคร่งครัด และ 3. การล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยหรือญาติสามารถทำได้เองที่บ้านทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป ลดข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเดินทางไปพบแพทย์ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ได้รับตามสิทธิอีกด้วย โดยบรรจุอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ด้านนายธีรมนัส ธนเอกอัครพงษ์ อายุ 49 ปี ได้เล่าถึงชีวิตที่ต้องสู้กับโรคไต ว่า ก่อนป่วยได้มีโอกาสไปทำงานที่ประเทศฮ่องกง นาน 10 ปี กลางวันเป็นกุ๊กอาหารไทยในโรงแรม กลางคืนร้องเพลง พักผ่อนน้อยมาก เมื่อถึงหน้าหนาวก็หนาวมาก มีคนไทยที่นั่นแนะนำให้ดื่มสมุนไพรจีน เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อและกระดูก จึงดื่มวันละ 3 แก้ว เป็นเวลา 3 เดือน แต่มาทราบความจริงในภายหลังว่าให้ดื่มอาทิตย์ละ 1 แก้วเท่านั้น ทุกอย่างจึงสายเกินไป ปรากฏว่า เกิดอาการไตวายฉับพลัน และตามมาด้วยความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจโตในที่สุด
“ช่วงที่ทราบว่าป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังใหม่ๆ แรกๆ สุขภาพแย่มาก น้ำหนักตัวเหลือแค่ 37 กิโลกรัม หลังจากที่ได้รับการรักษาอยู่ระยะหนึ่ง ก็ปรับระดับจิตใจของตนเองให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หมั่นดูแลตนเองตามที่คุณหมอและพยาบาลแนะนำ ดื่มน้ำพอประมาณ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทโซเดียม (เกลือ ผงชูรส ผงฟู ผงนุ่ม เครื่องปรุงรสต่างๆ ที่มีรสเค็ม) ที่สำคัญที่สุด ต้องคิดอยู่เสมอว่า เราป่วยเพียงร่างกายเท่านั้น แต่อย่าให้จิตใจป่วยตามเด็ดขาด”
ธีรมนัส เล่าให้ฟังอีกว่า ตนได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ปัจจุบันทำงานเป็นผู้จัดการในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง การดำเนินชีวิตก็เป็นปกติ เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องปรับเวลาให้เข้ากับงานที่ทำ โดยต้องล้างไต 3 ครั้ง (8 ชั่วโมงล้าง 1 ครั้ง) และรู้สึกสนุกกับการล้างไตทุกครั้ง เพราะถือว่าการล้างไตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเป็นกิจวัตรประจำวัน บางครั้งอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น น้ำยาขุ่น เป็นแผล มีหนองเกิดขึ้นจึงรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์และพยาบาลก็จะหาสาเหตุให้ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และบอกวิธีการแก้ไขให้ในที่สุด
“ทุกวันนี้ก็แข็งแรงดี รับประทานอาหารได้ นอนหลับ น้ำหนักเกือบจะเท่าเดิมแล้ว ถ้ามีเวลาและโอกาสก็จะออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 30 นาที ที่เขาว่าชีวิตเปรียบเสมือนกับบทละคร ก็เพิ่งประจักษ์กับคำนี้ เพราะขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์เพียงชั่วเวลาหนึ่งก็กลับกลายเป็นคนหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เมื่อใช้คำว่า “สู้” ทุกๆ อย่างก็ดีขึ้น”