“หมอหทัย” หนักใจองค์การศุลกากรโลก ชี้ ประเทศนำเข้าบุหรี่เถื่อนส่วนใหญ่มีการคอร์รัปชันมากที่สุด รับเป็นปัญหาหลักของไทย แนะทุกฝ่ายแก้ไข จี้สรรพสามิตเร่งปรับเพิ่มภาษี
วันนี้ (18 พ.ค.) ที่โรงแรมสยามซิตี กรุงเทพมหานคร สำนักงานงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมด้วยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันเสวนาในเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง “เจาะ 2 มาตรการ คุมเข้มยาสูบ”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าที่ช่วงที่ผ่านประเทศไทยจะมีมาตรการคุมเข้มเรื่องของการปราบปรามบุหรี่ควบคู่กับการรณรงค์งดสูบมาโดยตลอด จนจำนวนผู้สูบลดลงในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา แต่ว่าปัจจุบันกลับพบว่า มีนักสูบหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนและเป็นเพศหญิงมากขึ้น โดยจากข้อมูลการสำรวจระบุว่า ร้อยละ 8 ของเยาวชนที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่จะเริ่มสูบในปีหน้า และพบว่ากลุ่มผู้สูบในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มที่ยากจน ขณะที่สถานการณ์การตายจากการสูบบุหรี่ก็ยังน่าห่วงไม่แพ้กัน โดยในแต่ละปีพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ประมาณ 41,000 คนต่อปี อาทิ มะเร็งปอด หัวใจ และโรคถุงลมโป่งพอง จึงจำเป็นต้องผนึกกำลังภาคีในการปราบปรามและรณรงค์ต่อเนื่อง
ด้าน นพ.หทัย ชิตานนท์ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์บุหรี่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ บุหรี่ผิดกฎหมาย ที่มีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ และชายแดนมากขึ้น โดยองค์การศุลกากรโลก พบว่า ประเทศที่มีการนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุด โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นจากการสำรวจตลาดบุหรี่ พบว่า มีบุหรี่ผิดกฎหมายมากถึง 11.6% ของบุหรี่ที่มีการวางจำหน่ายแบบเสียภาษี จึงอยากกระตุ้นให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการปราบปราม และอยากให้กรมสรรพสามิตให้ความสำคัญเรื่องของการปรับขึ้นภาษีในส่วนของยาสูบ และบุหรี่เพิ่มเติมด้วย
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับมาตรการของกรมควบคุมโรค นั้น ยังคงเน้นที่การตั้งเป้าปราบปรามบุหรี่เถื่อนที่ไม่มีฉลากคำเตือน หรือไม่ยอมแสดงข้อความคำเตือนที่กฎหมายกำหนด โดยในวันที่ 28 พ.ค.นี้ ทางกรมฯ จะมีการเปิดเผยสถานการณ์การจับกุมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ สิ่งที่ สธ.ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม ก็คือ การให้ความร่วมมือกับภาคสังคมเพื่อรณรงค์ด้านบุหรี่กับอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่
วันนี้ (18 พ.ค.) ที่โรงแรมสยามซิตี กรุงเทพมหานคร สำนักงานงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมด้วยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันเสวนาในเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง “เจาะ 2 มาตรการ คุมเข้มยาสูบ”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าที่ช่วงที่ผ่านประเทศไทยจะมีมาตรการคุมเข้มเรื่องของการปราบปรามบุหรี่ควบคู่กับการรณรงค์งดสูบมาโดยตลอด จนจำนวนผู้สูบลดลงในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา แต่ว่าปัจจุบันกลับพบว่า มีนักสูบหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนและเป็นเพศหญิงมากขึ้น โดยจากข้อมูลการสำรวจระบุว่า ร้อยละ 8 ของเยาวชนที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่จะเริ่มสูบในปีหน้า และพบว่ากลุ่มผู้สูบในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มที่ยากจน ขณะที่สถานการณ์การตายจากการสูบบุหรี่ก็ยังน่าห่วงไม่แพ้กัน โดยในแต่ละปีพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ประมาณ 41,000 คนต่อปี อาทิ มะเร็งปอด หัวใจ และโรคถุงลมโป่งพอง จึงจำเป็นต้องผนึกกำลังภาคีในการปราบปรามและรณรงค์ต่อเนื่อง
ด้าน นพ.หทัย ชิตานนท์ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์บุหรี่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ บุหรี่ผิดกฎหมาย ที่มีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ และชายแดนมากขึ้น โดยองค์การศุลกากรโลก พบว่า ประเทศที่มีการนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุด โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นจากการสำรวจตลาดบุหรี่ พบว่า มีบุหรี่ผิดกฎหมายมากถึง 11.6% ของบุหรี่ที่มีการวางจำหน่ายแบบเสียภาษี จึงอยากกระตุ้นให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการปราบปราม และอยากให้กรมสรรพสามิตให้ความสำคัญเรื่องของการปรับขึ้นภาษีในส่วนของยาสูบ และบุหรี่เพิ่มเติมด้วย
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับมาตรการของกรมควบคุมโรค นั้น ยังคงเน้นที่การตั้งเป้าปราบปรามบุหรี่เถื่อนที่ไม่มีฉลากคำเตือน หรือไม่ยอมแสดงข้อความคำเตือนที่กฎหมายกำหนด โดยในวันที่ 28 พ.ค.นี้ ทางกรมฯ จะมีการเปิดเผยสถานการณ์การจับกุมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ สิ่งที่ สธ.ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม ก็คือ การให้ความร่วมมือกับภาคสังคมเพื่อรณรงค์ด้านบุหรี่กับอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่