สพศท.จี้ สปสช.ยกเลิกระบบ DRG เวอร์ชัน 5 หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งให้โรงพยาบาล (รพ.) ทุกแห่งเริ่มใช้ DRG หรือการรักษารายโรค เวอร์ชัน (version ) 5 แทนเวอร์ชัน 4 ที่ใช้อยู่เดิม ซึ่ง สปสช.ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 ว่า จากการที่ สปสช.ดำเนินการดังกล่าว ตนในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ รู้สึกกังวลในเรื่องของภาระค่าใช้จ่ายที่อาจได้รับผลกระทบการการเปลี่ยนค่าคะแนนรายโรคทุกโรคที่มีกว่า 2,000 รายการ เพราะค่าใช้จ่ายจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของ DRG จากการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นในคู่มือ DRG เวอร์ชัน 5 พบว่า หลายโรคมีแต้ม หรือคะแนนลดลงอยู่ระหว่าง 10-15% เช่น กรณีของไส้ติ่งอักเสบนั้น เป็นอาการเดียวไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน ก็จะมีคะแนน DRG แบบเดิมที่ 1.4 แต่แบบใหม่เหลือแค่ 1.25 ขณะที่อาการไส้ติ่งอักเสบ และ แตก เป็นอาการรวม 2 อย่าง เดิมมีการให้แต้มที่ 3.77 แต่แบบใหม่ให้แค่ 1.98 ซึ่งหากปล่อยไว้สุดท้ายผลกระทบก็จะเกิดกับผู้ป่วยเอง เพราะยิ่งมีอาการหลายอย่างจากการรักษา ก็หมายความว่า รพ.ต้องใช้ทรัพยากรในการบริการมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อเพิ่มอย่างแน่นอน จึงอยากให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ศึกษาทบทวน และหันกลับมาให้ DRG เวอร์ชัน 4 เช่นเดิม
“หาก สปสช.ใช้ระบบดังกล่าว คิดว่า ไม่ได้กระทบแค่สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสิทธิ ทั้งประกันสังคม ซึ่งค่า DRG 1 แต้ม และ 2 แต้ม จะเบิกค่ารักษาได้ต่างกันสิ้นเชิง เช่น กรณี DRG 2 แต้มของประกันสังคม จะเบิกได้ 15,000 บาท แต่หาก 1 แต้มกว่า ก็จะเบิกได้แค่ 4,000 กว่าบาท ส่วนสิทธิข้าราชการ (ขรก.) นั้น ก็ยิ่งน่าห่วงอย่างมาก เพราะในปี 2556 นั้น ขรก.จะใช้ระบบจ่ายค่ารักษา DRG ทุกโรค แบบปลายเปิด แน่นอนว่า ไม่ช่วยประหยัดงบประมาณแต่อย่างใด” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวด้วยว่า จากข้อเสนอให้ระงับ DRG ดังกล่าวตนได้ส่งหนังสือไปยัง นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ.และแจ้งให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.ทราบแล้ว ซึ่งปลัด สธ.ระบุว่า อาจจะขอเวลาหารือกับ ผู้อำนวยการ รพ.นอกรอบ ในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการพิสูจน์ผลกระทบของ DRG ทั้ง 2 เวอร์ชัน ตนคิดว่า ทำได้ไม่ยาก เพราะแค่ให้ รพ.แต่ละแห่งนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ก็จะแยกได้ชัดเจน
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งให้โรงพยาบาล (รพ.) ทุกแห่งเริ่มใช้ DRG หรือการรักษารายโรค เวอร์ชัน (version ) 5 แทนเวอร์ชัน 4 ที่ใช้อยู่เดิม ซึ่ง สปสช.ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 ว่า จากการที่ สปสช.ดำเนินการดังกล่าว ตนในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ รู้สึกกังวลในเรื่องของภาระค่าใช้จ่ายที่อาจได้รับผลกระทบการการเปลี่ยนค่าคะแนนรายโรคทุกโรคที่มีกว่า 2,000 รายการ เพราะค่าใช้จ่ายจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของ DRG จากการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นในคู่มือ DRG เวอร์ชัน 5 พบว่า หลายโรคมีแต้ม หรือคะแนนลดลงอยู่ระหว่าง 10-15% เช่น กรณีของไส้ติ่งอักเสบนั้น เป็นอาการเดียวไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน ก็จะมีคะแนน DRG แบบเดิมที่ 1.4 แต่แบบใหม่เหลือแค่ 1.25 ขณะที่อาการไส้ติ่งอักเสบ และ แตก เป็นอาการรวม 2 อย่าง เดิมมีการให้แต้มที่ 3.77 แต่แบบใหม่ให้แค่ 1.98 ซึ่งหากปล่อยไว้สุดท้ายผลกระทบก็จะเกิดกับผู้ป่วยเอง เพราะยิ่งมีอาการหลายอย่างจากการรักษา ก็หมายความว่า รพ.ต้องใช้ทรัพยากรในการบริการมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อเพิ่มอย่างแน่นอน จึงอยากให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ศึกษาทบทวน และหันกลับมาให้ DRG เวอร์ชัน 4 เช่นเดิม
“หาก สปสช.ใช้ระบบดังกล่าว คิดว่า ไม่ได้กระทบแค่สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสิทธิ ทั้งประกันสังคม ซึ่งค่า DRG 1 แต้ม และ 2 แต้ม จะเบิกค่ารักษาได้ต่างกันสิ้นเชิง เช่น กรณี DRG 2 แต้มของประกันสังคม จะเบิกได้ 15,000 บาท แต่หาก 1 แต้มกว่า ก็จะเบิกได้แค่ 4,000 กว่าบาท ส่วนสิทธิข้าราชการ (ขรก.) นั้น ก็ยิ่งน่าห่วงอย่างมาก เพราะในปี 2556 นั้น ขรก.จะใช้ระบบจ่ายค่ารักษา DRG ทุกโรค แบบปลายเปิด แน่นอนว่า ไม่ช่วยประหยัดงบประมาณแต่อย่างใด” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวด้วยว่า จากข้อเสนอให้ระงับ DRG ดังกล่าวตนได้ส่งหนังสือไปยัง นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ.และแจ้งให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.ทราบแล้ว ซึ่งปลัด สธ.ระบุว่า อาจจะขอเวลาหารือกับ ผู้อำนวยการ รพ.นอกรอบ ในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการพิสูจน์ผลกระทบของ DRG ทั้ง 2 เวอร์ชัน ตนคิดว่า ทำได้ไม่ยาก เพราะแค่ให้ รพ.แต่ละแห่งนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ก็จะแยกได้ชัดเจน