สธ.พบปัญหาระบบบัตรทองกระจายงบฯ กระทบการเงิน รพ. เตรียมเสนอปรับแก้รูปแบบ เล็งของบฯสปสช.จ่ายค่าจ้างให้ถึง 15,000 บาทต่อเดือนตามนโยบายรัฐ
วานนี้ ( 29 ก.พ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมมอบนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) ว่า การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ จากการประเมินผลระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทองในรอบ 10 ปี พบว่า ประชาชนได้ประโยชน์เต็ม 100 % แต่สถานพยาบาลไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างราบรื่น โรงพยาบาบาล(รพ.)ยังมีปัญหาการเงินการคลัง ซึ่งตนในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) ได้ตั้งคณะทำงานวางแผนยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในอีก 10 ปีข้างหน้า เบื้องต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูล เห็นว่า หลักประกันสุขภาพฯมีการแบ่งกองทุนหลายกองทุนและมีเงินค้างท่อมาก ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินในระบบมีเพียงพอ แต่มีปัญหาตรงระบบการกระจ่ายเงิน รพ.จึงมีปัญหาการเงิน ซึ่งในส่วนนนี้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
ปลัดสธ. กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องค่าจ้างของลูกจ้างชั่วคราวที่สธ.มี 1.1 แสนคน ซึ่งตามนโยบาบรัฐบาลจะต้องปรับค่าจ้างให้เป็น 15,000 บาทต่อเดือน ตนได้เสนอบอร์ดสปสช.ให้จัดค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวเป็นต้นทุนการให้บริการ ซึ่งสปสช.ต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อจ่ายในส่วนนี้ราว 3,600 ล้านบาท
“สำหรับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนของสธ.จะดำเนินการใน 3 แนวทาง คือ 1.จัดหาตำแหน่งข้าราชการเพิ่มเติม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ยอมรับแล้วว่าสธ.ขาดแคลนจริง ส่วนขาดในจำนวนเท่าไหร่อยู่ระหว่างที่นักวิชาการและสธ.กำลังจัดทำข้อมูลร่วมกันคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 3 เดือน 2.การยกร่างระเบียบพนักงานราชการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเปลี่ยนสถานะลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นพนักงานราชการเต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 แนวทางอาจจำเป็นที่สธ.จะต้องออกจากก.พ. เพราะจำเป็นต้องดูแลบุคลากรของสธ.” ปลัด สธ.กล่าว
วานนี้ ( 29 ก.พ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมมอบนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) ว่า การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ จากการประเมินผลระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทองในรอบ 10 ปี พบว่า ประชาชนได้ประโยชน์เต็ม 100 % แต่สถานพยาบาลไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างราบรื่น โรงพยาบาบาล(รพ.)ยังมีปัญหาการเงินการคลัง ซึ่งตนในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) ได้ตั้งคณะทำงานวางแผนยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในอีก 10 ปีข้างหน้า เบื้องต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูล เห็นว่า หลักประกันสุขภาพฯมีการแบ่งกองทุนหลายกองทุนและมีเงินค้างท่อมาก ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินในระบบมีเพียงพอ แต่มีปัญหาตรงระบบการกระจ่ายเงิน รพ.จึงมีปัญหาการเงิน ซึ่งในส่วนนนี้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
ปลัดสธ. กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องค่าจ้างของลูกจ้างชั่วคราวที่สธ.มี 1.1 แสนคน ซึ่งตามนโยบาบรัฐบาลจะต้องปรับค่าจ้างให้เป็น 15,000 บาทต่อเดือน ตนได้เสนอบอร์ดสปสช.ให้จัดค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวเป็นต้นทุนการให้บริการ ซึ่งสปสช.ต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อจ่ายในส่วนนี้ราว 3,600 ล้านบาท
“สำหรับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนของสธ.จะดำเนินการใน 3 แนวทาง คือ 1.จัดหาตำแหน่งข้าราชการเพิ่มเติม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ยอมรับแล้วว่าสธ.ขาดแคลนจริง ส่วนขาดในจำนวนเท่าไหร่อยู่ระหว่างที่นักวิชาการและสธ.กำลังจัดทำข้อมูลร่วมกันคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 3 เดือน 2.การยกร่างระเบียบพนักงานราชการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเปลี่ยนสถานะลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นพนักงานราชการเต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 แนวทางอาจจำเป็นที่สธ.จะต้องออกจากก.พ. เพราะจำเป็นต้องดูแลบุคลากรของสธ.” ปลัด สธ.กล่าว