วพ.เตือนประชาชนบริโภคเห็ดป่าที่ไม่รู้จัก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะบางชนิดมีพิษอาจถึงตายได้ เมินความเชื่อวิธีการทดสอบเห็ดของชาวบ้าน
นายแพทย์ บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนเหมาะสมต่อการเจริญพันธุ์ของเห็ด ทำให้มีเห็ดป่าหลายชนิดที่เจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ ประกอบกับคนไทยนิยมบริโภคเห็ด เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เห็ดบางชนิดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากมีสารพิษเป็นส่วนประกอบ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการมึนเมาและประสาทหลอน และหากบริโภคมากเกินไปอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สำหรับเห็ดพิษในประเทศไทย นายแพทย์ บุญชัย กล่าวว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุลอะมานิต้า (Amanita) ซึ่งเป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เห็ดระโงกหิน หรือในภาคเหนือเรียกว่า เห็ดไข่ตายซาก ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ หมวกเห็ดรูปครึ่งวงกลมสีขาวกว้าง 5-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ รูปกระทะคว่ำ ครีบสีขาวไม่ติดกับก้าน มีวงแหวนเป็นแผ่นบางสีขาวห้อยลงมาคล้ายม่านก้านสีขาว โคนก้านเป็นกระเปาะผิวเรียง สปอร์สีขาว หากรับประทานเข้าไปพิษจะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุ่นแรง อาเจียน ใจสั่น อ่อนเพลีย สารพิษที่ตรวจพบในเห็ด คือ ฟาลโลทอกซิน (phallotoxin) และอะมาทอกซิน (amatoxin) มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ตับ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะกำเริบจนถึงขั้นเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ยังมี เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน หรือ เห็ดกระโดงตีนต่ำ ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นร่มขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนา หมวกเห็ดสีขาวกว้าง 10-20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวก ครีบสีขาว เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ก้านรูปทรงกระบอกสีขาว โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อย ใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน เป็นเห็ดที่มีพิษไม่ร้ายแรงนัก หากรับประทานจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น และอ่อนเพลีย แต่ถ้าเป็นเด็กและรับประทานมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
นายแพทย์ บุญชัย กล่าวอีกว่า เห็ดมีพิษในธรรมชาติหลายชนิดมีความคล้ายคลึงกับเห็ดที่รับประทานได้จนยากที่จะจำแนกได้ว่าชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษ แต่ที่สำคัญคือ ไม่ควรนำเห็ดที่ไม่รู้จักและไม่ทราบชนิดแหล่งที่มาอย่างชัดเจนมาปรุงอาหารรับประทาน แต่ทุกวันนี้ยังมีประชาชนจำนวนมากยังมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เช่น ถ้านำน้ำต้มเห็ดมาแตะกับช้อนเงินแล้วเป็นสีดำแสดงว่าเป็นเห็ดพิษ หากเป็นเห็ดเมาเมื่อใส่หัวหอมจะเป็นสีดำ เห็ดที่มีสีสวยเท่านั้นจะเป็นเห็ดพิษ หรือเห็ดที่มีแมลงกัดกินย่อมรับประทานได้ ดังนั้น หากไม่แน่ใจ ไม่ควรเก็บเห็ดนั้นมาปรุงอาหาร โดยเฉพาะเห็ดป่าหรือเห็ดที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งมีโอกาสเกิดพิษได้มากกว่าเห็ดทั่วไป
นอกจากนี้ หากพบผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ด ควรพยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษออกมาให้หมด โดยการล้วงคอหรือกรอกด้วยไข่ขาว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที พร้อมกับนำเห็ดที่รับประทานส่งไปด้วย เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
นายแพทย์ บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนเหมาะสมต่อการเจริญพันธุ์ของเห็ด ทำให้มีเห็ดป่าหลายชนิดที่เจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ ประกอบกับคนไทยนิยมบริโภคเห็ด เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เห็ดบางชนิดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากมีสารพิษเป็นส่วนประกอบ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการมึนเมาและประสาทหลอน และหากบริโภคมากเกินไปอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สำหรับเห็ดพิษในประเทศไทย นายแพทย์ บุญชัย กล่าวว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุลอะมานิต้า (Amanita) ซึ่งเป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เห็ดระโงกหิน หรือในภาคเหนือเรียกว่า เห็ดไข่ตายซาก ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ หมวกเห็ดรูปครึ่งวงกลมสีขาวกว้าง 5-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ รูปกระทะคว่ำ ครีบสีขาวไม่ติดกับก้าน มีวงแหวนเป็นแผ่นบางสีขาวห้อยลงมาคล้ายม่านก้านสีขาว โคนก้านเป็นกระเปาะผิวเรียง สปอร์สีขาว หากรับประทานเข้าไปพิษจะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุ่นแรง อาเจียน ใจสั่น อ่อนเพลีย สารพิษที่ตรวจพบในเห็ด คือ ฟาลโลทอกซิน (phallotoxin) และอะมาทอกซิน (amatoxin) มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ตับ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะกำเริบจนถึงขั้นเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ยังมี เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน หรือ เห็ดกระโดงตีนต่ำ ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นร่มขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนา หมวกเห็ดสีขาวกว้าง 10-20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวก ครีบสีขาว เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ก้านรูปทรงกระบอกสีขาว โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อย ใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน เป็นเห็ดที่มีพิษไม่ร้ายแรงนัก หากรับประทานจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น และอ่อนเพลีย แต่ถ้าเป็นเด็กและรับประทานมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
นายแพทย์ บุญชัย กล่าวอีกว่า เห็ดมีพิษในธรรมชาติหลายชนิดมีความคล้ายคลึงกับเห็ดที่รับประทานได้จนยากที่จะจำแนกได้ว่าชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษ แต่ที่สำคัญคือ ไม่ควรนำเห็ดที่ไม่รู้จักและไม่ทราบชนิดแหล่งที่มาอย่างชัดเจนมาปรุงอาหารรับประทาน แต่ทุกวันนี้ยังมีประชาชนจำนวนมากยังมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เช่น ถ้านำน้ำต้มเห็ดมาแตะกับช้อนเงินแล้วเป็นสีดำแสดงว่าเป็นเห็ดพิษ หากเป็นเห็ดเมาเมื่อใส่หัวหอมจะเป็นสีดำ เห็ดที่มีสีสวยเท่านั้นจะเป็นเห็ดพิษ หรือเห็ดที่มีแมลงกัดกินย่อมรับประทานได้ ดังนั้น หากไม่แน่ใจ ไม่ควรเก็บเห็ดนั้นมาปรุงอาหาร โดยเฉพาะเห็ดป่าหรือเห็ดที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งมีโอกาสเกิดพิษได้มากกว่าเห็ดทั่วไป
นอกจากนี้ หากพบผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ด ควรพยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษออกมาให้หมด โดยการล้วงคอหรือกรอกด้วยไข่ขาว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที พร้อมกับนำเห็ดที่รับประทานส่งไปด้วย เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป