ผอ.กองควบคุมฯ อย.เผย ตั้งแต่ปี 51-ถึงปัจจุบัน จับกุมผู้ลักลอบกว้านซื้อ ลำเลียง นำเข้ายาแก้หวัดสูตรผสมซูโดฯ ได้กว่า 40 คดี โดยพบว่า มาจากประเทศเกาหลี มากที่สุด 36.5 ล้านเม็ด รองลงมา คือ มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ขณะที่ นายกเภสัชชุมชน จี้ ขอความชัดเจนการส่งคืนยาแก่ บ.ยา ภายใน 30 วัน เป็นไปได้หรือไม่ ด้าน ผอ.วท.คุ้มครองผู้บริโภคฯ แนะทบทวนให้ระบบการกรองยาและติดตามการใช้ยาเข้มข้นขึ้น
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ หรือ INCB (The International Narcotics Control Board) เป็นผู้ดูแลในเรื่องสารเสพติดภาพรวมของทั้งโลก ซึ่งการส่งออกนำเข้า หรือการใช้ของแต่ละประเทศ ก็จะต้องแจ้งไปยังหน่วยงานนี้ โดยปกติการดำเนินการตรงนี้ จึงทำเป็นอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เพื่อควบคุมตรงนี้ โดยจะควบคุมสารตั้งต้นใน 15 ตัว ซึ่งปัจจุบันรวมซูโดอีเฟดรีนด้วย
ภก.ประพนธ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-ปัจจุบัน พบการลักลอบกว้านซื้อ ลำเลียง นำเข้ายาแก้หวัดที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีน โดยจับกุมได้กว่า 40 คดี พบของกลางจำนวน 48.32 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นยาที่ผลิตในไทย 8.06 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 16.68 ลักลอบนำเข้า 40.26 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 83.32 โดยพบมากที่สุด คือ มาจากประเทศเกาหลี 36.5 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 75.54 รองลงมา คือ มาเลเซีย 3.47 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 7.18 และ สิงคโปร์ 0.29 ล้านเม็ด หรือ ร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดได้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหมดแล้ว ทั้งกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรมศุลากร
ภญ.ช้องมา ศนิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน กล่าวว่า การที่ อย.กำหนดให้ร้านขายยาส่งคืนยาเหล่านี้คืนบริษัทภายใน 30 วัน ตรงนี้ถามว่าจะทันหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันมีร้านขายยาสูงถึง 14,000 ร้าน ในทางปฏิบัติจะส่งคืนทันได้อย่างไร ตรงนี้อยากให้เข้าใจด้วยเช่นกัน
ขณะที่ ภก.รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า จากการที่พบเบาะแสยาหายจากกองขยะ ทำให้ต้องมีการทบทวนระบบการกรองยา และการติดตามการใช้ยาที่เข้มข้นขึ้น เพราะชี้ให้เห็นว่า มาตรการป้องกันที่มีอยู่ใช้ไม่ได้จริง ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการแยกระบบติดตามยากลุ่มที่ใช้แล้ว จะเกิดผลกระทบออกจากยาทั่วไป ซึ่งกรณียาสูตรผสมซูโดฯ คนที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังเริ่มรู้ว่ามีความผิดปกติตั้งแต่ปี 2549-2550 ซึ่งในอนาคตต้องมีวิธีแก้ปัญหาและติดตามสถานการณ์ที่ผิดปกติให้รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังพบว่าจากการประกาศยกระดับการใช้ยา ทำให้เกิดผู้ไม่หวังดี ใช้สถานการณ์ดังกล่าว ข่มขู่ประชาชน และร้านชำขนาดเล็ก ที่ยังมียาในครอบครอง ในพื้นที่ อ.เบญจลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ว่า จะถูกปรับแผงละหมื่นบาท หากพบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องมีการทำความเข้าใจประชาชน และเจ้าหน้าที่ ไม่ให้เกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิด
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดนานาชาติ หรือ INCB (The International Narcotics Control Board) เป็นผู้ดูแลในเรื่องสารเสพติดภาพรวมของทั้งโลก ซึ่งการส่งออกนำเข้า หรือการใช้ของแต่ละประเทศ ก็จะต้องแจ้งไปยังหน่วยงานนี้ โดยปกติการดำเนินการตรงนี้ จึงทำเป็นอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เพื่อควบคุมตรงนี้ โดยจะควบคุมสารตั้งต้นใน 15 ตัว ซึ่งปัจจุบันรวมซูโดอีเฟดรีนด้วย
ภก.ประพนธ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-ปัจจุบัน พบการลักลอบกว้านซื้อ ลำเลียง นำเข้ายาแก้หวัดที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีน โดยจับกุมได้กว่า 40 คดี พบของกลางจำนวน 48.32 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นยาที่ผลิตในไทย 8.06 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 16.68 ลักลอบนำเข้า 40.26 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 83.32 โดยพบมากที่สุด คือ มาจากประเทศเกาหลี 36.5 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 75.54 รองลงมา คือ มาเลเซีย 3.47 ล้านเม็ด หรือร้อยละ 7.18 และ สิงคโปร์ 0.29 ล้านเม็ด หรือ ร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดได้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหมดแล้ว ทั้งกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรมศุลากร
ภญ.ช้องมา ศนิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน กล่าวว่า การที่ อย.กำหนดให้ร้านขายยาส่งคืนยาเหล่านี้คืนบริษัทภายใน 30 วัน ตรงนี้ถามว่าจะทันหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันมีร้านขายยาสูงถึง 14,000 ร้าน ในทางปฏิบัติจะส่งคืนทันได้อย่างไร ตรงนี้อยากให้เข้าใจด้วยเช่นกัน
ขณะที่ ภก.รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า จากการที่พบเบาะแสยาหายจากกองขยะ ทำให้ต้องมีการทบทวนระบบการกรองยา และการติดตามการใช้ยาที่เข้มข้นขึ้น เพราะชี้ให้เห็นว่า มาตรการป้องกันที่มีอยู่ใช้ไม่ได้จริง ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการแยกระบบติดตามยากลุ่มที่ใช้แล้ว จะเกิดผลกระทบออกจากยาทั่วไป ซึ่งกรณียาสูตรผสมซูโดฯ คนที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังเริ่มรู้ว่ามีความผิดปกติตั้งแต่ปี 2549-2550 ซึ่งในอนาคตต้องมีวิธีแก้ปัญหาและติดตามสถานการณ์ที่ผิดปกติให้รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังพบว่าจากการประกาศยกระดับการใช้ยา ทำให้เกิดผู้ไม่หวังดี ใช้สถานการณ์ดังกล่าว ข่มขู่ประชาชน และร้านชำขนาดเล็ก ที่ยังมียาในครอบครอง ในพื้นที่ อ.เบญจลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ว่า จะถูกปรับแผงละหมื่นบาท หากพบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องมีการทำความเข้าใจประชาชน และเจ้าหน้าที่ ไม่ให้เกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิด