วธ.รณรงค์คนไทยสืบสานวิถีไทยเล่นน้ำสงกรานต์ “ปลอดไคโยตี้” พร้อมเปิดสายด่วน 1765 แจ้งเหตุการณ์เล่นน้ำสงกรานต์ไม่เหมาะสม
วันนี้ (11 เม.ย.) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีรดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จำนวน 32 คน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2555 นางสุกุมล กล่าวว่า การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ วธ.อยากให้ประชาชนร่วมกันสืบสานคุณค่าความงดงามของประเพณีสงกรานต์ ตามแบบวิถีไทย โดยเฉพาะการขอพรจากผู้ใหญ่ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตในวันปีใหม่ไทย โดยสงกรานต์ปีนี้ วธ.รณรงค์ให้คนไทยอนุรักษ์ประเพณีการเล่นสงกรานต์ของแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร ขนทรายเข้าวัด ส่วนในเขตกรุงเทพฯ ได้จัดงาน “สงกรานต์เมษา ผ้าขาวม้าครองโลก” ณ สยามสแควร์ เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานใส่เสื้อลาย หรือผูกผ้าขาวม้า ร่วมกิจกรรมทั้งการฟังเทศน์จากพระชื่อดัง และกิจกรรมสงกรานต์แบบไทยๆ ระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย. ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป
นางสุกุมล แสดงความเห็นว่า หลายครั้งที่ เราพบว่า การเล่นสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนไป นับวันยิ่งอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะภาพของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เล่นน้ำสงกรานต์ เยาวชนนุ่งน้อยห่มน้อย เล่นน้ำสงกรานต์ การเต้นไคโยตี้ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อตัวเด็กและเยาวชน ในส่วนของ วธ.ได้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศดูแลเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเป็นสื่อกลางรับแจ้งเหตุ หรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการเล่นน้ำสงกรานต์ ผ่านสายด่วน 1765 ตลอด 24 ชั่วโมง
“เพื่อสืบสานวัฒนธรรมสงกรานต์ มอบให้วัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับชุมชน อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์สไตล์ดั้งเดิมเพื่อให้เด็กและเยาวชน เห็นแล้วสืบสานต่อไป ขณะเดียวกันขอความร่วมมือทุกหน่วยงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ปลอดโคโยตี้” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนายไพรัช สังวริบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ปี 2547 กล่าวว่า ประเพณีสงกรานต์ของไทยเป็นสิ่งที่ดีงามสืบทอดกันมา ไม่ว่าใครได้เข้ามาร่วมในประเพณีนี้ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งแสดงความรักของครอบครัว แสดงถึงกตัญญูต่อผู้ใหญ่ที่เคารพรัก โดยเฉพาะการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักร่มโพธิ์ร่มไทรของชีวิต พร้อมกันนี้ ยังขอให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสื่อมวลชนในการเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ประเพณีสงกรานต์แบบวิถีไทยนี้ให้คงอยู่สืบไป
วันนี้ (11 เม.ย.) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีรดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จำนวน 32 คน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2555 นางสุกุมล กล่าวว่า การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ วธ.อยากให้ประชาชนร่วมกันสืบสานคุณค่าความงดงามของประเพณีสงกรานต์ ตามแบบวิถีไทย โดยเฉพาะการขอพรจากผู้ใหญ่ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตในวันปีใหม่ไทย โดยสงกรานต์ปีนี้ วธ.รณรงค์ให้คนไทยอนุรักษ์ประเพณีการเล่นสงกรานต์ของแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร ขนทรายเข้าวัด ส่วนในเขตกรุงเทพฯ ได้จัดงาน “สงกรานต์เมษา ผ้าขาวม้าครองโลก” ณ สยามสแควร์ เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานใส่เสื้อลาย หรือผูกผ้าขาวม้า ร่วมกิจกรรมทั้งการฟังเทศน์จากพระชื่อดัง และกิจกรรมสงกรานต์แบบไทยๆ ระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย. ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป
นางสุกุมล แสดงความเห็นว่า หลายครั้งที่ เราพบว่า การเล่นสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนไป นับวันยิ่งอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะภาพของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เล่นน้ำสงกรานต์ เยาวชนนุ่งน้อยห่มน้อย เล่นน้ำสงกรานต์ การเต้นไคโยตี้ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อตัวเด็กและเยาวชน ในส่วนของ วธ.ได้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศดูแลเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเป็นสื่อกลางรับแจ้งเหตุ หรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการเล่นน้ำสงกรานต์ ผ่านสายด่วน 1765 ตลอด 24 ชั่วโมง
“เพื่อสืบสานวัฒนธรรมสงกรานต์ มอบให้วัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับชุมชน อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์สไตล์ดั้งเดิมเพื่อให้เด็กและเยาวชน เห็นแล้วสืบสานต่อไป ขณะเดียวกันขอความร่วมมือทุกหน่วยงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ปลอดโคโยตี้” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนายไพรัช สังวริบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ปี 2547 กล่าวว่า ประเพณีสงกรานต์ของไทยเป็นสิ่งที่ดีงามสืบทอดกันมา ไม่ว่าใครได้เข้ามาร่วมในประเพณีนี้ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งแสดงความรักของครอบครัว แสดงถึงกตัญญูต่อผู้ใหญ่ที่เคารพรัก โดยเฉพาะการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักร่มโพธิ์ร่มไทรของชีวิต พร้อมกันนี้ ยังขอให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสื่อมวลชนในการเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ประเพณีสงกรานต์แบบวิถีไทยนี้ให้คงอยู่สืบไป