ผอ.-หน.เภสัชฯ รพ.อุดรฯ รอดคดีซูโดฯ ขณะที่ “ภก.สมชาย” ถูกไล่ออก ด้าน “พสิษฐ์” แฉ “รพ.สยามราษ” มี จนท.ปลอมลายเซ็น ผอ.ซื้อ ยา 4 แสนเม็ด
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการสอบทางวินัย กรณียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ว่า คณะกรรมการฯ ได้สอบวินัยผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยวางกรอบไว้ว่าให้ทิศทางการสอบสวนในจังหวัดต่างๆ ให้มีบทลงโทษ แนวทางการสอบสวนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยคณะกรรมการได้เร่งรัดให้จังหวัดต่างๆ ดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามกรอบเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คือ การสอบวินัยร้ายแรงภายใน 90 วัน และการสอบวินัยไม่ร้ายแรง ไม่ได้กำหนดเวลาแต่ต้องสอบสวนให้เร็วที่สุด ซึ่งคณะกรรมการแต่ละชุดจะมีอิสระต่อกัน ในการหาหลักฐาน หรือการเรียกสอบ โดยขณะนี้บางจังหวัดใกล้แล้วเสร็จ บางจังหวัดยังต้องหาหลักฐานต่อ ขึ้นอยู่กับผู้กระทำรับสารภาพหรือไม่ และมีหลักฐานมากหรือน้อย ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกระทรวงสาธารณสุข (อกพ.สธ.) จะเร่งรัดให้ได้ผลที่เร็วที่สุด
นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.หนองกี่ ผลการสอบสวนพบว่า เภสัชกร เป็นผู้ที่นำชื่อโรงพยาบาล ไปใช้ในการสั่งยาเข้าร้านขายยาของตนเอง และตัดยาออกไม่ได้ผ่านโรงพยาบาล ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่า โรงพยาบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้ตั้งคณะกรรมการสอบเภสัชกรรายดังกล่าวแล้ว
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า สำหรับผลการสอบข้อเท็จจริง ของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธารี และ หัวหน้าเภสัชกร ผลการสอบสวนสรุปว่า ทั้งสองคนไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำผิด แต่บกพร่องในการกำกับควบคุม หละหลวมในการกำกับดูแลเภสัชกรผู้กระทำความผิด คือ ภก.สมชาย แซ่โค้ว จึงได้ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ส่วน ภก.สมชาย แซ่โค้ว มีการประชุมเพื่อตัดสินความผิดในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ (5 เม.ย.) โดยผลการสอบสวนสรุป ว่า ให้ไล่ออกจากราชการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในปัจจุบันมีข้าราชการสังกัดสธ.เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด 15 คน โดยแบ่งเป็นถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง 9 คน ได้แก่ 1.เภสัชกรชำนาญการ รพ.อุดรธานี 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 3.ผอ.รพ.ทองแสนขัน 4.เภสัชกรชำนาญ รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 5.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญงาน รพ.กมลาไสย 6.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 7.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน รพ.ฮอด 8.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และ 9.เภสัชกร รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ อีก 5 คน ถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่ 1.ผอ.รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.กมลาไสย 3.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน รพ.กมลาไสย 2 คน และ 4.ผอ.รพ.ฮอด ส่วนกรณี รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาในระดับจังหวัดว่าจะถูกตั้งกรรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง นอกจากนี้ สำหรับที่โรงพยาบาลอุดรธานีได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผอ.รพ.โดยมี นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการเป็นประธาน
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.กล่าวว่า ตลอดทั้งวันนี้ มีเพียงผู้ผลิตยาเพียง 1 ราย ที่ได้รายงานเข้ามาว่า มีร้านยาได้ส่งคืนยาสูตรผสมโซดูอีเฟดรีนกับพาราเซตามอน ที่อยู่ในเม็ดเดียวกันแล้ว โดยมีปริมาณอยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น คาดว่า ในสัปดาห์หน้าจึงจะมีจำนวนผู้ติดต่อขอคืนยาดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากเมื่อวานนี้ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านขายยา เพิ่งจะรับทราบนโยบาย จึงอาจจะอยู่ระหว่างการรวบรวมยาดังกล่าวเพื่อส่งคืนก่อนวันที่ 3 พฤษภาคมนี้
ขณะที่ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่คณะทำงานป้องกันและปราบปราม ฟื้นฟู และเยียวยาด้านยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ร่วมกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พบว่า จากการตรวจสอบ รพ.สยาราษ จ.เชียงใหม่ ที่พบหลักฐานเป็นแผงยา และขวดยาทิ้งไว้ในป่านั้น ผู้ที่กระทำเป็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของโรงพยาบาล โดยทำการปลอมลายเซ็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพื่อสั่งซื้อยาจากบริษัท เป็นยาสูตรเดี่ยว 210,000 เม็ด โดยไม่ได้นำเข้าโรงพยาบาลเลย และเป็นยาสูตรผสม 200,000 เม็ด โดยเป็นส่วนที่โรงพยาบาลสั่งเพียง 20,000 เม็ดเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินการตามกฎหมายแล้ว นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติ ที่คลินิกหมอโอภาส อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยพบยาสูตรผสมหายไปจำนวน 300,000 เม็ด อยู่ระหว่างการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่พบภาคเหนือ และภาคอีสาน มีปริมาณยาที่ถูกลักลอบมากที่สุด
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการสอบทางวินัย กรณียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ว่า คณะกรรมการฯ ได้สอบวินัยผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยวางกรอบไว้ว่าให้ทิศทางการสอบสวนในจังหวัดต่างๆ ให้มีบทลงโทษ แนวทางการสอบสวนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยคณะกรรมการได้เร่งรัดให้จังหวัดต่างๆ ดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามกรอบเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คือ การสอบวินัยร้ายแรงภายใน 90 วัน และการสอบวินัยไม่ร้ายแรง ไม่ได้กำหนดเวลาแต่ต้องสอบสวนให้เร็วที่สุด ซึ่งคณะกรรมการแต่ละชุดจะมีอิสระต่อกัน ในการหาหลักฐาน หรือการเรียกสอบ โดยขณะนี้บางจังหวัดใกล้แล้วเสร็จ บางจังหวัดยังต้องหาหลักฐานต่อ ขึ้นอยู่กับผู้กระทำรับสารภาพหรือไม่ และมีหลักฐานมากหรือน้อย ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกระทรวงสาธารณสุข (อกพ.สธ.) จะเร่งรัดให้ได้ผลที่เร็วที่สุด
นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.หนองกี่ ผลการสอบสวนพบว่า เภสัชกร เป็นผู้ที่นำชื่อโรงพยาบาล ไปใช้ในการสั่งยาเข้าร้านขายยาของตนเอง และตัดยาออกไม่ได้ผ่านโรงพยาบาล ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่า โรงพยาบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้ตั้งคณะกรรมการสอบเภสัชกรรายดังกล่าวแล้ว
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า สำหรับผลการสอบข้อเท็จจริง ของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธารี และ หัวหน้าเภสัชกร ผลการสอบสวนสรุปว่า ทั้งสองคนไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำผิด แต่บกพร่องในการกำกับควบคุม หละหลวมในการกำกับดูแลเภสัชกรผู้กระทำความผิด คือ ภก.สมชาย แซ่โค้ว จึงได้ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ส่วน ภก.สมชาย แซ่โค้ว มีการประชุมเพื่อตัดสินความผิดในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ (5 เม.ย.) โดยผลการสอบสวนสรุป ว่า ให้ไล่ออกจากราชการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในปัจจุบันมีข้าราชการสังกัดสธ.เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด 15 คน โดยแบ่งเป็นถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง 9 คน ได้แก่ 1.เภสัชกรชำนาญการ รพ.อุดรธานี 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 3.ผอ.รพ.ทองแสนขัน 4.เภสัชกรชำนาญ รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 5.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญงาน รพ.กมลาไสย 6.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 7.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน รพ.ฮอด 8.เภสัชกรชำนาญการ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และ 9.เภสัชกร รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ อีก 5 คน ถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่ 1.ผอ.รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 2.เภสัชกรชำนาญการ รพ.กมลาไสย 3.เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน รพ.กมลาไสย 2 คน และ 4.ผอ.รพ.ฮอด ส่วนกรณี รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาในระดับจังหวัดว่าจะถูกตั้งกรรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง นอกจากนี้ สำหรับที่โรงพยาบาลอุดรธานีได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผอ.รพ.โดยมี นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการเป็นประธาน
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.กล่าวว่า ตลอดทั้งวันนี้ มีเพียงผู้ผลิตยาเพียง 1 ราย ที่ได้รายงานเข้ามาว่า มีร้านยาได้ส่งคืนยาสูตรผสมโซดูอีเฟดรีนกับพาราเซตามอน ที่อยู่ในเม็ดเดียวกันแล้ว โดยมีปริมาณอยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น คาดว่า ในสัปดาห์หน้าจึงจะมีจำนวนผู้ติดต่อขอคืนยาดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากเมื่อวานนี้ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ร้านขายยา เพิ่งจะรับทราบนโยบาย จึงอาจจะอยู่ระหว่างการรวบรวมยาดังกล่าวเพื่อส่งคืนก่อนวันที่ 3 พฤษภาคมนี้
ขณะที่ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่คณะทำงานป้องกันและปราบปราม ฟื้นฟู และเยียวยาด้านยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ร่วมกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พบว่า จากการตรวจสอบ รพ.สยาราษ จ.เชียงใหม่ ที่พบหลักฐานเป็นแผงยา และขวดยาทิ้งไว้ในป่านั้น ผู้ที่กระทำเป็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของโรงพยาบาล โดยทำการปลอมลายเซ็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพื่อสั่งซื้อยาจากบริษัท เป็นยาสูตรเดี่ยว 210,000 เม็ด โดยไม่ได้นำเข้าโรงพยาบาลเลย และเป็นยาสูตรผสม 200,000 เม็ด โดยเป็นส่วนที่โรงพยาบาลสั่งเพียง 20,000 เม็ดเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินการตามกฎหมายแล้ว นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติ ที่คลินิกหมอโอภาส อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยพบยาสูตรผสมหายไปจำนวน 300,000 เม็ด อยู่ระหว่างการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่พบภาคเหนือ และภาคอีสาน มีปริมาณยาที่ถูกลักลอบมากที่สุด