“วิทยา” เผยผลสำรวจประชาชน กทม.และปริมณฑลร้อยละ 65 มุ่งฉลองสงกรานต์ต่างจังหวัด กว่าครึ่งกลัวเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง สั่งรพ.ในสังกัดทั่วประเทศ เตรียมพร้อมดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ทั้งทีมกู้ชีพฉุกเฉิน ห้องอีอาร์/ผ่าตัด/ไอ.ซี.ยู.และเข้มคุมการขายการดื่มเหล้า เบียร์ ลดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับ
วันนี้ (4 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) พร้อมด้วยนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวง นายแพทย์ พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2555 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2555 ซึ่งปีนี้ ตั้งเป้าจะให้สงกรานต์มีความปลอดภัย ตายเป็นศูนย์ ให้ได้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสวนดุสิตโพล สำรวจความคาดหวังของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นปีแรก โดยสำรวจประชาชนในกทม.และปริมณฑลทุกอาชีพ รวม 696 คน ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม-3 เมษายน 2555 พบว่า มีผู้วางแผนเดินทางไปฉลองสงกรานต์ต่างจังหวัดร้อยละ 61 ส่วนใหญ่ร้อยละ 64 เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รองลงมา คือ รถทัวร์/รถประจำทาง และรถตู้โดยสารประจำทาง โดยเกือบร้อยละ 90 มีความกังวลกลัวเกิดอุบัติเหตุขณะเดินทาง และร้อยละ 89 คิดว่า การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยมาตรการที่ต้องการให้ภาครัฐนำมาใช้มากที่สุดคือ งดขายสุราในช่วงเทศกาลสงกรานต์ร้อยละ 24 รองลงมา คือ ให้ตำรวจตรวจจับเพิ่มมากขึ้นและปรับอัตราสูงสุดร้อยละ19 ให้จับร้านค้าที่ขายสุราให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 18 ห้ามนั่งท้ายรถกระบะเล่นสาดน้ำ ร้อยละ 12 และให้ทางราชการหรือจังหวัดจัดโซนนิ่งเล่นสงกรานต์ ร้อยละ 9
นอกจากนี้ ยังพบว่า ส่วนใหญ่รู้จักหรือเคยได้ยินหมายเลขแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 ในกลุ่มนี้มีส่วนน้อยที่เรียกใช้บริการ เพียงร้อยละ 3 เพราะส่วนใหญ่เมื่อพบเห็นหรือประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินจะโทรแจ้งตำรวจ 191 ร้อยละ 63 รองลงมา จะเรียก 1669 ร้อยละ 31 โดยประชาชนร้อยละ 36 มีความเชื่อมั่นการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ของรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุข จะนำไปพัฒนาระบบบริการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เดินทางมากขึ้น
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดทุกระดับที่มีกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศดำเนินการ 3 มาตรการ คือ 1.ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด 2.ด้านการรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งเตรียมทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องไอซียู พร้อมรักษาผู้บาดเจ็บตลอด 24 ชั่วโมง ตามนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ์ รักษาทันที ทุกที่ทุกคน” เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดความพิการและเสียชีวิต และ3.ให้ทุกจังหวัดเพิ่มความเข้มข้นมาตรการควบคุมการจำหน่ายเหล้า เบียร์ ในสถานที่ห้ามขาย ห้ามดื่ม โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากพบกระทำผิดให้ลงโทษตามกฎหมายทันที
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สถานบริการในสังกัดทั่วประเทศ จัดเจ้าหน้าที่และอสม.ร่วมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยกับหน่วยงานในพื้นที่ เน้นมาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร และง่วงไม่ขับ และให้บริการประชาชนที่จุดตรวจ/จุดบริการประชาชนในพื้นที่ นอกจากนั้นยังให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต และเครือข่ายรณรงค์งดเหล้าและลดอุบัติเหตุ จัดทีมออกตรวจเตือนผู้ประกอบการและร้านค้า ให้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ทั้งในช่วงก่อนเทศกาลและช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ ผลจากการรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างจริงจัง ทั้งการตั้งจุดบริการประชาชน ตรวจจับความเร็วรถ ตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจผู้ขับขี่ รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซนต์ การควบคุมพื้นที่และเวลาในการขาย พื้นที่ห้ามดื่ม และอายุผู้ซื้อ ติดต่อกัน 3 ปีได้ผลดี สถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลง ทั้งจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต โดยผู้บาดเจ็บลดจาก 4,332 ราย ในปี 2552 เป็น 3,476 ราย ในปี 2554 ผู้เสียชีวิตลดจาก 373 ราย เหลือ 271 ราย ในปีเดียวกัน ยังเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มากที่สุดร้อยละ 81 และมีเหล้าเกี่ยวข้องร้อยละ 39 รองลงมาคือขับรถเร็วร้อยละ 21 ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานร้อยละ 54 เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28
ด้านนายแพทย์ พรเทพ กล่าวว่า ในปีนี้ ได้ให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ จัดทีมออกสุ่มสำรวจการขายสุราในสถานที่ห้ามขาย ได้แก่ ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ และสำรวจร้านค้าในชุมชนที่ขายสุราในเวลาห้ามขาย คือนอกเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.ในวันที่ 11 และ 13 เมษายน 2555 ซึ่งจากการสำรวจในช่วงสงกรานต์ 2554 พบว่า มีการขายสุราในปั๊มน้ำมันลดลง แต่ขายในสวนสาธารณะ และขายในเวลาห้ามขายเพิ่มขึ้น ในปีนี้จะเข้มงวดมากขึ้น และส่งดำเนินคดีทุกราย และจากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลประชาชนยังพบเห็นการขายสุราในปั๊มน้ำมันบ่อยๆ ร้อยละ 24 และพบเห็นการขายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีบ่อยๆ สูงถึงร้อยละ 39
ทางด้านนายแพทย์ ชาตรี กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ได้เตรียมหน่วยกู้ชีพทั้งหมด 11,138 ทีม ครอบคลุมถึงระดับหมู่บ้าน มีบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน 122,945 คน มีรถปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน 14,189 คัน เรือ 1,128 ลำ เฮลิคอปเตอร์อีก 101 ลำ และเครื่องบิน 7 ลำ ประชาชนสามารถโทร.แจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนกู้ชีพ 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ หลังวางสายจะเดินทางถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ลดความพิการและการเสียชีวิต ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “3 เร็ว 2 ดี ฟรีทั่วไทย”
วันนี้ (4 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) พร้อมด้วยนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวง นายแพทย์ พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2555 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2555 ซึ่งปีนี้ ตั้งเป้าจะให้สงกรานต์มีความปลอดภัย ตายเป็นศูนย์ ให้ได้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสวนดุสิตโพล สำรวจความคาดหวังของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นปีแรก โดยสำรวจประชาชนในกทม.และปริมณฑลทุกอาชีพ รวม 696 คน ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม-3 เมษายน 2555 พบว่า มีผู้วางแผนเดินทางไปฉลองสงกรานต์ต่างจังหวัดร้อยละ 61 ส่วนใหญ่ร้อยละ 64 เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รองลงมา คือ รถทัวร์/รถประจำทาง และรถตู้โดยสารประจำทาง โดยเกือบร้อยละ 90 มีความกังวลกลัวเกิดอุบัติเหตุขณะเดินทาง และร้อยละ 89 คิดว่า การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยมาตรการที่ต้องการให้ภาครัฐนำมาใช้มากที่สุดคือ งดขายสุราในช่วงเทศกาลสงกรานต์ร้อยละ 24 รองลงมา คือ ให้ตำรวจตรวจจับเพิ่มมากขึ้นและปรับอัตราสูงสุดร้อยละ19 ให้จับร้านค้าที่ขายสุราให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 18 ห้ามนั่งท้ายรถกระบะเล่นสาดน้ำ ร้อยละ 12 และให้ทางราชการหรือจังหวัดจัดโซนนิ่งเล่นสงกรานต์ ร้อยละ 9
นอกจากนี้ ยังพบว่า ส่วนใหญ่รู้จักหรือเคยได้ยินหมายเลขแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 ในกลุ่มนี้มีส่วนน้อยที่เรียกใช้บริการ เพียงร้อยละ 3 เพราะส่วนใหญ่เมื่อพบเห็นหรือประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินจะโทรแจ้งตำรวจ 191 ร้อยละ 63 รองลงมา จะเรียก 1669 ร้อยละ 31 โดยประชาชนร้อยละ 36 มีความเชื่อมั่นการเตรียมความพร้อมรองรับอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ของรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุข จะนำไปพัฒนาระบบบริการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เดินทางมากขึ้น
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดทุกระดับที่มีกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศดำเนินการ 3 มาตรการ คือ 1.ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด 2.ด้านการรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งเตรียมทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องไอซียู พร้อมรักษาผู้บาดเจ็บตลอด 24 ชั่วโมง ตามนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ์ รักษาทันที ทุกที่ทุกคน” เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดความพิการและเสียชีวิต และ3.ให้ทุกจังหวัดเพิ่มความเข้มข้นมาตรการควบคุมการจำหน่ายเหล้า เบียร์ ในสถานที่ห้ามขาย ห้ามดื่ม โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากพบกระทำผิดให้ลงโทษตามกฎหมายทันที
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สถานบริการในสังกัดทั่วประเทศ จัดเจ้าหน้าที่และอสม.ร่วมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยกับหน่วยงานในพื้นที่ เน้นมาตรการ 3 ม 2 ข 1 ร และง่วงไม่ขับ และให้บริการประชาชนที่จุดตรวจ/จุดบริการประชาชนในพื้นที่ นอกจากนั้นยังให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต และเครือข่ายรณรงค์งดเหล้าและลดอุบัติเหตุ จัดทีมออกตรวจเตือนผู้ประกอบการและร้านค้า ให้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ทั้งในช่วงก่อนเทศกาลและช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ ผลจากการรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างจริงจัง ทั้งการตั้งจุดบริการประชาชน ตรวจจับความเร็วรถ ตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจผู้ขับขี่ รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซนต์ การควบคุมพื้นที่และเวลาในการขาย พื้นที่ห้ามดื่ม และอายุผู้ซื้อ ติดต่อกัน 3 ปีได้ผลดี สถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลง ทั้งจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต โดยผู้บาดเจ็บลดจาก 4,332 ราย ในปี 2552 เป็น 3,476 ราย ในปี 2554 ผู้เสียชีวิตลดจาก 373 ราย เหลือ 271 ราย ในปีเดียวกัน ยังเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มากที่สุดร้อยละ 81 และมีเหล้าเกี่ยวข้องร้อยละ 39 รองลงมาคือขับรถเร็วร้อยละ 21 ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานร้อยละ 54 เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28
ด้านนายแพทย์ พรเทพ กล่าวว่า ในปีนี้ ได้ให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ จัดทีมออกสุ่มสำรวจการขายสุราในสถานที่ห้ามขาย ได้แก่ ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ และสำรวจร้านค้าในชุมชนที่ขายสุราในเวลาห้ามขาย คือนอกเวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.ในวันที่ 11 และ 13 เมษายน 2555 ซึ่งจากการสำรวจในช่วงสงกรานต์ 2554 พบว่า มีการขายสุราในปั๊มน้ำมันลดลง แต่ขายในสวนสาธารณะ และขายในเวลาห้ามขายเพิ่มขึ้น ในปีนี้จะเข้มงวดมากขึ้น และส่งดำเนินคดีทุกราย และจากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลประชาชนยังพบเห็นการขายสุราในปั๊มน้ำมันบ่อยๆ ร้อยละ 24 และพบเห็นการขายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีบ่อยๆ สูงถึงร้อยละ 39
ทางด้านนายแพทย์ ชาตรี กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ได้เตรียมหน่วยกู้ชีพทั้งหมด 11,138 ทีม ครอบคลุมถึงระดับหมู่บ้าน มีบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน 122,945 คน มีรถปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน 14,189 คัน เรือ 1,128 ลำ เฮลิคอปเตอร์อีก 101 ลำ และเครื่องบิน 7 ลำ ประชาชนสามารถโทร.แจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนกู้ชีพ 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ หลังวางสายจะเดินทางถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ลดความพิการและการเสียชีวิต ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “3 เร็ว 2 ดี ฟรีทั่วไทย”