รัชญา จันทะรัง
ย้อนไปเมื่อปี 2525 ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ถือกำเนิดขึ้นมา และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไว้ว่า “…ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ทำหน้าที่เสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็นสรุปผลของการพัฒนา ที่จะประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และปฏิบัติได้”
คณิต ธนูธรรมเจริญ นักวิชาการป่าไม้ ฝ่ายศึกษา และพัฒนาป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ บอกว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2555 ก็จะครบ 30 ปีเต็มที่ศูนย์แห่งนี้ได้เปิดขึ้นตามพระราชดำริของพระองค์ท่านซึ่งการสร้างฝายต้นน้ำเป็นอีกหนึ่งในงานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งในการสร้างฝายนั้นจักต้องทำในห้วยที่ไม่มีน้ำให้น้ำกลับมาไหลไม่ใช่อย่างที่ทุกคนคิดว่าการสร้างฝายจะเป็นเครื่องมือเก็บกักน้ำหากแต่เป็นการชะลอการไหลของน้ำ รับแรงปะทะที่น้ำไหลมาจากยอดดอย พร้อมทั้งดักตะกอนเพื่อใช้ฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำลำธาร
สำหรับลักษณะสำคัญของฝายต้นน้ำนั้น พี่คณิต บอกว่า ต้องเป็นฝายตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อที่ชาวบ้านจะมีทักษะสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และต้องไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเพราะใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก อีกทั้งต้องทำบนพื้นฐานความรู้ของชาวบ้าน
...ด้วยแนวพระราชดำริดังกล่าวนี้ เอสซีจี ได้น้อมนำแนวคิดด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ มาปฏิบัติอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน น้ำเสีย โดยได้สนับสนุนให้แต่ละชุมชนสร้างฝายในชุมชนของตนเองตามหลักการสร้างฝายในใจคน ซึ่งนอกจากจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้วยังช่วยสร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างชุมชนให้ยั่งยืนอีกด้วย
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ความสำเร็จของการสร้างฝายนอกเหนือจากจำนวนฝายที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉพาะที่ลำปางมีมากกว่า 28,000 ฝายจาก 30,000 กว่าฝาย ก็คือ ต้องให้ชุมชนเป็นเจ้าของมีความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติในระยะยาวอย่างยั่งยืน
บุญเรือน เฒ่าคำ ผู้ใหญ่บ้านสามขา บอกว่า ขณะนี้พื้นที่ป่าได้กลายเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของพวกเรา เป็นแหล่งอาหารให้กับชาวบ้านทุกคน ทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเป็นพี่เป็นน้อง เกิดความสามัคคีจากปกติที่ต้องทำ 5 ชั่วโมง เมื่อเรารักกันแค่ 1 ชั่วโมงก็สำเร็จแล้ว และท้ายที่สุดฝายที่พวกเราสร้างขึ้นก็ได้ช่วยชะลอน้ำ เป็นที่ดักตะกอนช่วยลดการเกิดไฟไหม้ป่า
และไม่ใช่เพียงแค่การสร้างฝายที่ได้ตั้งเป้าที่จะทำให้ได้ถึง 50,000 ฝาย ในโอกาสที่เอสซีจีจะครบ 100 ปี ในปี 2556 หากแต่ยังได้ต่อยอดความเข้มแข็งให้กับชุมชนเครือข่ายที่เป็นพันธมิตรในการสร้างฝายด้วยการจัดทำโครงการวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม บ้านสามขาโดยร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เขื่อนศรีนครินทร์ และชุมชนร่วมกันก่อตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง อันเป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าของประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย
ผู้ใหญ่บุญเรือน บอกว่า เอสซีจีได้ตั้งกองทุนจำนวน 1.6 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันลงทุนอีก 5 แสนบาท แม้เอสซีจีจะนำเงินมาลงทุนแต่ก็ไม่ได้มีส่วนในการบริหารงานและหากเรามีเงินเพียงพอเราก็จะซื้อหุ้นคืน ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าของบ้านสามขาสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 19.7 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้ 8 เดือนต่อปี โดยจะคืนทุนทั้งหมดภายในระยะเวลา 5.8 ปี โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายต่อให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหน่วยละ 4.80 บาท ซึ่งรายได้ก็จะกลับคืนสู่ชุมชน ส่งผลให้ชุมชนสามารถใช้ชีวิตตามวิถีแห่งความพอเพียงและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนและเป็นสุข
ย้อนไปเมื่อปี 2525 ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ถือกำเนิดขึ้นมา และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไว้ว่า “…ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ทำหน้าที่เสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็นสรุปผลของการพัฒนา ที่จะประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และปฏิบัติได้”
คณิต ธนูธรรมเจริญ นักวิชาการป่าไม้ ฝ่ายศึกษา และพัฒนาป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ บอกว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2555 ก็จะครบ 30 ปีเต็มที่ศูนย์แห่งนี้ได้เปิดขึ้นตามพระราชดำริของพระองค์ท่านซึ่งการสร้างฝายต้นน้ำเป็นอีกหนึ่งในงานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งในการสร้างฝายนั้นจักต้องทำในห้วยที่ไม่มีน้ำให้น้ำกลับมาไหลไม่ใช่อย่างที่ทุกคนคิดว่าการสร้างฝายจะเป็นเครื่องมือเก็บกักน้ำหากแต่เป็นการชะลอการไหลของน้ำ รับแรงปะทะที่น้ำไหลมาจากยอดดอย พร้อมทั้งดักตะกอนเพื่อใช้ฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำลำธาร
สำหรับลักษณะสำคัญของฝายต้นน้ำนั้น พี่คณิต บอกว่า ต้องเป็นฝายตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อที่ชาวบ้านจะมีทักษะสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และต้องไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเพราะใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก อีกทั้งต้องทำบนพื้นฐานความรู้ของชาวบ้าน
...ด้วยแนวพระราชดำริดังกล่าวนี้ เอสซีจี ได้น้อมนำแนวคิดด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ มาปฏิบัติอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน น้ำเสีย โดยได้สนับสนุนให้แต่ละชุมชนสร้างฝายในชุมชนของตนเองตามหลักการสร้างฝายในใจคน ซึ่งนอกจากจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้วยังช่วยสร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างชุมชนให้ยั่งยืนอีกด้วย
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ความสำเร็จของการสร้างฝายนอกเหนือจากจำนวนฝายที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเฉพาะที่ลำปางมีมากกว่า 28,000 ฝายจาก 30,000 กว่าฝาย ก็คือ ต้องให้ชุมชนเป็นเจ้าของมีความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติในระยะยาวอย่างยั่งยืน
บุญเรือน เฒ่าคำ ผู้ใหญ่บ้านสามขา บอกว่า ขณะนี้พื้นที่ป่าได้กลายเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของพวกเรา เป็นแหล่งอาหารให้กับชาวบ้านทุกคน ทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเป็นพี่เป็นน้อง เกิดความสามัคคีจากปกติที่ต้องทำ 5 ชั่วโมง เมื่อเรารักกันแค่ 1 ชั่วโมงก็สำเร็จแล้ว และท้ายที่สุดฝายที่พวกเราสร้างขึ้นก็ได้ช่วยชะลอน้ำ เป็นที่ดักตะกอนช่วยลดการเกิดไฟไหม้ป่า
และไม่ใช่เพียงแค่การสร้างฝายที่ได้ตั้งเป้าที่จะทำให้ได้ถึง 50,000 ฝาย ในโอกาสที่เอสซีจีจะครบ 100 ปี ในปี 2556 หากแต่ยังได้ต่อยอดความเข้มแข็งให้กับชุมชนเครือข่ายที่เป็นพันธมิตรในการสร้างฝายด้วยการจัดทำโครงการวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม บ้านสามขาโดยร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เขื่อนศรีนครินทร์ และชุมชนร่วมกันก่อตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง อันเป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าของประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย
ผู้ใหญ่บุญเรือน บอกว่า เอสซีจีได้ตั้งกองทุนจำนวน 1.6 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันลงทุนอีก 5 แสนบาท แม้เอสซีจีจะนำเงินมาลงทุนแต่ก็ไม่ได้มีส่วนในการบริหารงานและหากเรามีเงินเพียงพอเราก็จะซื้อหุ้นคืน ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าของบ้านสามขาสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 19.7 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้ 8 เดือนต่อปี โดยจะคืนทุนทั้งหมดภายในระยะเวลา 5.8 ปี โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายต่อให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหน่วยละ 4.80 บาท ซึ่งรายได้ก็จะกลับคืนสู่ชุมชน ส่งผลให้ชุมชนสามารถใช้ชีวิตตามวิถีแห่งความพอเพียงและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนและเป็นสุข