ASTVผู้จัดการรายวัน - ลือหึ่งพบอุตสาหกรรมยา เดินหน้า ล็อบบี้ กมธ.สาธารณสุข หวังล้ม พ.ร.บ.ยา ภาคประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ภาคประชาชน ได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....(ฉบับประชาชน) เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพการใช้ยาของประชาชน มีกระแสข่าวว่า อุตสาหกรรมยา มีการล็อบบี้คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข เพื่อไม่ให้กฎหมายดังกล่าวผ่านกระบวนการของสภาผู้แทนราษฎร
ล่าสุด ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ข้อดีของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพการใช้ยา และพัฒนาอุตสาหกรรมยาทั้งแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....(ภาคประชาชน) เป็นการทำเพื่อทำการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสถานการณ์ สอดคล้องกับสากลซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันตามกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมาย
“กรณีที่เป็นปัญหา คือ กลุ่มธุรกิจยาอาจเป็นกังวล จาก ร่าง พ.ร.บ.ยา ในเรื่องโครงสร้างราคายา ซึ่งเดิมในการขึ้นทะเบียนยา ไม่ต้องมีการคำนวณแยกต้นทุนราคายา แต่ในร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ระบุว่า ให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ซื้อเพื่อจำหน่าย หรือ ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ต้องแสดงราคายา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบต้นทุนและกำไรของยาชนิดนั้นๆ เพราะที่ผ่านมา มีการอ้างว่าต้นทุนราคายาสูงเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการวิจัยสูง แต่ความจริงแล้วยาบางประเภทต้นทุนอยู่ที่ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่” ภญ.นิยดา กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ภาคประชาชน ได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....(ฉบับประชาชน) เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพการใช้ยาของประชาชน มีกระแสข่าวว่า อุตสาหกรรมยา มีการล็อบบี้คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข เพื่อไม่ให้กฎหมายดังกล่าวผ่านกระบวนการของสภาผู้แทนราษฎร
ล่าสุด ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ข้อดีของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพการใช้ยา และพัฒนาอุตสาหกรรมยาทั้งแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....(ภาคประชาชน) เป็นการทำเพื่อทำการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสถานการณ์ สอดคล้องกับสากลซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันตามกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมาย
“กรณีที่เป็นปัญหา คือ กลุ่มธุรกิจยาอาจเป็นกังวล จาก ร่าง พ.ร.บ.ยา ในเรื่องโครงสร้างราคายา ซึ่งเดิมในการขึ้นทะเบียนยา ไม่ต้องมีการคำนวณแยกต้นทุนราคายา แต่ในร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ระบุว่า ให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ซื้อเพื่อจำหน่าย หรือ ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ต้องแสดงราคายา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบต้นทุนและกำไรของยาชนิดนั้นๆ เพราะที่ผ่านมา มีการอ้างว่าต้นทุนราคายาสูงเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการวิจัยสูง แต่ความจริงแล้วยาบางประเภทต้นทุนอยู่ที่ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่” ภญ.นิยดา กล่าว