นักวิชาการ ยันยาสามัญไทย ได้มาตรฐานเทียบเท่ายาต้นแบบ มีคุณภาพไม่ต่างจากยานอก ชี้ ประเทศพัฒนาล้วนสนับสนุน วอนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อมายาคติ บ.ยาข้ามชาติ ย้ำ หากผู้ป่วยเข้าถึงยาสามัญมากขึ้น ช่วยประหยัดงบชาติ 2,400 ล้าน พร้อมเดินหน้าหนุน พ.ร.บ.ยาฉบับประชาชน เตรียมยื่นเรื่องถึงประธานรัฐสภา 19 ม.ค.นี้
วันนี้ (18 ม.ค.) ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง “ข้อเท็จจริงของคุณภาพยาชื่อสามัญ และความท้าทายในปี 2012” ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากสถานการณ์ของประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศมากถึง 65% ขณะที่มีการผลิตเองในประเทศแค่ 36% นั้น สะท้อนว่า ประเทศไทยค่าใช้จ่ายในการใช้ยาที่สูง ดังนั้น ความจำเป็นในเรื่องของการสนับสนุนให้เกิดการผลิตยาสามัญ (generic drug) จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงยาจำเป็นมากขึ้น ซึ่งในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนสนับสนุนการใช้ยาสามัญทั้งสิ้น อาทิ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ สหราชอาณาจักร เพื่อให้ประชากรในประเทศเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่เหมาะสมไม่แพงจนเกินไป โดยจากการศึกษาข้อมูลของ กพย.และเครือข่าย พบว่า โดยเฉลี่ยยาต้นแบบในไทยมีมูลค่าแพงกว่ายาสามัญที่ถูกที่สุดประมาณ 3.9 เท่า ซึ่งราคายาที่สูงนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้น้อยลง โดยผลจากการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ ซีแอล (CL) ในยา 5 รายการ พบว่า ช่วงปี 2551-2553 ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นเหล่านี้ได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 2,400 ล้านบาท ดังนั้น ยาสามัญจึงมีความสำคัญกับการเข้าถึงยาของประชาชนไทยอย่างยิ่ง
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าห่วงในการผลักดันเรื่องยาสามัญ คือ ผู้บริโภคหลายรายมีการรับรู้ข้อมูลผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ที่สร้างมายาคติโดยบริษัทยาข้ามชาติ ที่อ้างว่า ยาสามัญมีคุณภาพด้อยกว่ายาต้นแบบ จนผู้ใช้ยาเกิดความไม่มั่นใจ คิดว่า ยาราคาแพง คือ ยาคุณภาพดี และเมินต่อการบริโภคยาสามัญ ตัวอย่างเช่น ยาป้องกันเส้นเลือดอุดตัน (Clopidogrel) ราคาเม็ดละ 72.53 บาท แต่หลังจากประกาศซีแอลยาชนิดนี้ ทำให้สามารถผลิตยาสามัญ มีราคาเพียงเม็ดละ 3.05 บาทเท่านั้น ส่งผลให้ระบบหลักประกันสุขภาพสามารถสั่งซื้อยาได้มากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 467,600,400 บาท
“จากการติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาชื่อสามัญมีอาการทางคลินิกที่ดีไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ใช้ยาต้นแบบ ดังนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ เชื่อมั่นในยาสามัญของไทย” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว
ด้านดร.ภญ.อุษาวดี มาลีวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยเรื่อง “การวิจัยสังเคราะห์ขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการทำ ASEAN harmonization on pharmaceuticals สำหรับประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางการขัดขวางยาสามัญใหม่ (New generic drug) ที่บริษัทยาข้ามชาติยังได้ใช้ช่องทางในการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรยาอีกทางก็คือ การขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยาที่มีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า evergreening patent ซึ่งจากการศึกษาย้อนหลัง 10 ปี พบว่า มีการขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยาจากบริษัทนอกกว่า 1,200 รายการ และเป็น Evergreen patent ถึง 96% ส่วนสถานการณ์การวางจำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีกว่า 100 รายการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดความเชื่อถือในยาสามัญมากขึ้น
ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากที่กรมฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการตรวจวัดคุณภาพของยาสามัญอย่างต่อเนื่องทั้งระหว่างกระบวนการผลิตและยาที่ออกจำหน่ายตามท้องตลาดในประเทศไทย พบว่า ยาสามัญที่ผลิตในประเทศไทย มีคุณภาพ และมาตรฐานเทียบเท่ากับยาต้นแบบที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีรายการยาที่ตกมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 5 ซึ่งเท่ากับยาในต่างประเทศ เนื่องจากมาตรฐานยาไทยได้พัฒนาเป็นมาตรฐานสากลเทียบเท่าต่างประเทศ ซึ่งหากผู้บริโภคไม่มั่นใจสามารถสอบถามได้จากกรมวิทย์ ได้โดยตรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 19 ม.ค.นี้ ทาง กพย.และภาคีเครือข่ายจะมีการไปยื่นหนังสือเกี่ยวกับการผลักดัน พ.ร.บ.ยาภาคประชาชนแก่ประธานรัฐสภา เพื่อผลักดันในมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังระบบยาและการเข้าถึงยาอย่างเหมาะสม
วันนี้ (18 ม.ค.) ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง “ข้อเท็จจริงของคุณภาพยาชื่อสามัญ และความท้าทายในปี 2012” ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากสถานการณ์ของประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศมากถึง 65% ขณะที่มีการผลิตเองในประเทศแค่ 36% นั้น สะท้อนว่า ประเทศไทยค่าใช้จ่ายในการใช้ยาที่สูง ดังนั้น ความจำเป็นในเรื่องของการสนับสนุนให้เกิดการผลิตยาสามัญ (generic drug) จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงยาจำเป็นมากขึ้น ซึ่งในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนสนับสนุนการใช้ยาสามัญทั้งสิ้น อาทิ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ สหราชอาณาจักร เพื่อให้ประชากรในประเทศเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่เหมาะสมไม่แพงจนเกินไป โดยจากการศึกษาข้อมูลของ กพย.และเครือข่าย พบว่า โดยเฉลี่ยยาต้นแบบในไทยมีมูลค่าแพงกว่ายาสามัญที่ถูกที่สุดประมาณ 3.9 เท่า ซึ่งราคายาที่สูงนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้น้อยลง โดยผลจากการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ ซีแอล (CL) ในยา 5 รายการ พบว่า ช่วงปี 2551-2553 ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นเหล่านี้ได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 2,400 ล้านบาท ดังนั้น ยาสามัญจึงมีความสำคัญกับการเข้าถึงยาของประชาชนไทยอย่างยิ่ง
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าห่วงในการผลักดันเรื่องยาสามัญ คือ ผู้บริโภคหลายรายมีการรับรู้ข้อมูลผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ที่สร้างมายาคติโดยบริษัทยาข้ามชาติ ที่อ้างว่า ยาสามัญมีคุณภาพด้อยกว่ายาต้นแบบ จนผู้ใช้ยาเกิดความไม่มั่นใจ คิดว่า ยาราคาแพง คือ ยาคุณภาพดี และเมินต่อการบริโภคยาสามัญ ตัวอย่างเช่น ยาป้องกันเส้นเลือดอุดตัน (Clopidogrel) ราคาเม็ดละ 72.53 บาท แต่หลังจากประกาศซีแอลยาชนิดนี้ ทำให้สามารถผลิตยาสามัญ มีราคาเพียงเม็ดละ 3.05 บาทเท่านั้น ส่งผลให้ระบบหลักประกันสุขภาพสามารถสั่งซื้อยาได้มากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 467,600,400 บาท
“จากการติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาชื่อสามัญมีอาการทางคลินิกที่ดีไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ใช้ยาต้นแบบ ดังนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ เชื่อมั่นในยาสามัญของไทย” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว
ด้านดร.ภญ.อุษาวดี มาลีวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยเรื่อง “การวิจัยสังเคราะห์ขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการทำ ASEAN harmonization on pharmaceuticals สำหรับประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางการขัดขวางยาสามัญใหม่ (New generic drug) ที่บริษัทยาข้ามชาติยังได้ใช้ช่องทางในการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรยาอีกทางก็คือ การขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยาที่มีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า evergreening patent ซึ่งจากการศึกษาย้อนหลัง 10 ปี พบว่า มีการขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยาจากบริษัทนอกกว่า 1,200 รายการ และเป็น Evergreen patent ถึง 96% ส่วนสถานการณ์การวางจำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีกว่า 100 รายการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดความเชื่อถือในยาสามัญมากขึ้น
ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากที่กรมฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการตรวจวัดคุณภาพของยาสามัญอย่างต่อเนื่องทั้งระหว่างกระบวนการผลิตและยาที่ออกจำหน่ายตามท้องตลาดในประเทศไทย พบว่า ยาสามัญที่ผลิตในประเทศไทย มีคุณภาพ และมาตรฐานเทียบเท่ากับยาต้นแบบที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีรายการยาที่ตกมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 5 ซึ่งเท่ากับยาในต่างประเทศ เนื่องจากมาตรฐานยาไทยได้พัฒนาเป็นมาตรฐานสากลเทียบเท่าต่างประเทศ ซึ่งหากผู้บริโภคไม่มั่นใจสามารถสอบถามได้จากกรมวิทย์ ได้โดยตรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 19 ม.ค.นี้ ทาง กพย.และภาคีเครือข่ายจะมีการไปยื่นหนังสือเกี่ยวกับการผลักดัน พ.ร.บ.ยาภาคประชาชนแก่ประธานรัฐสภา เพื่อผลักดันในมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังระบบยาและการเข้าถึงยาอย่างเหมาะสม