ก.พ.อ.อนุมัติตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” รวดเดียว 15 ราย “สุชาติ” ย้ำที่ประชุมไปกำหนดวิธีการให้คล่องตัวมากขึ้น ด้าน “กำจร” ชี้เป็นการอนุมัติมาก ที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ยันทุกขั้นตอนโปร่งใส เผย “อภิรัฐ” จาก ม.ขอนแก่น เป็นผู้ได้ตำแหน่งที่อายุน้อยสุดเพียง 37 ปี
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เปิดเผยผลการประชุมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” เพื่อนำความเสนอกราบบังคมทูลฯ โปรดเกล้าฯ จำนวน 15 ราย ดังนี้
1. รศ.ประยงค์ เนตยารักษ์ อายุ 62 ปี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 2. นายสุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ อายุ 53 ปี สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 3. นายเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ อายุ 53 ปี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ชัยภูมิ 4. นายวัชระ งามจิตรเจริญ อายุ 49 ปี สาขาวิชาปรัชญา มธ. 5. นายธีรยุทธ บุญมี อายุ 60 ปี ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ สาขาวิชามานุษยวิทยา มธ. 6. นายฉลียว ศาลากิจ อายุ 50 ปี สาขาวิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 7. นางมาลินี เหล่าไพบูลย์ อายุ 54 ปี สาขาวิชาชีวสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
8. นายอุดม รัฐอมฤต อายุ 51 ปี สาขาวิชากฎหมายวิธีบัญญัติ มธ. 9. นางอรุณี เจตศรีสุภาพ อายุ 58 ปี สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ มข. 10. นายวิชัย เอกพลากร อายุ 52 ปี สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน ระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) 11. นายกำชัย จงจักรพันธ์ อายุ 50 ปี สาขาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 12. นายพลภัทร โรจน์นครินทร์ อายุ 43 ปี สาขาวิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13. นายเกษียร เตชะพีระ อายุ 53 ปี สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มธ. 14. นายธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ อายุ 64 ปี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ 15. นายอภิรัฐ ศิริธราธิวัตร อายุ 37 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มข.
“ได้หารือถึงระยะเวลาในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งที่ผ่านมาใช้เวลาค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยเรื่องไปค้างที่มหาวิทยาลัยรายละ 1 ปี 5 เดือน และค้างที่ ก.พ.อ.เพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการอีก 4 เดือน บางรายกว่าจะได้เป็น ศ.ต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี หรือเกษียณ หรือลาออกไปแล้วจึงจะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือบางรายเงินเดือนตัน ก็ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน เรื่องนี้เป็นนโยบายของผมที่ต้องการให้มีความคล่องตัวในการดำเนินการ และไม่ล่าช้า ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่กระจายอำนาจให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา โดยก.พ.อ.ซึ่งเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ จึงต้องหาวิธีการดำเนินการเรื่องเหล่านี้ให้รวดเร็วขึ้น” รมว.ศึกษาธิการกล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า การอนุมัติบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ศ.ครั้งนี้ถือว่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี ตั้งแต่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ออกประกาศมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณา แต่ยืนยันว่าการพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกัน การที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานะมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ ทำให้การบริหารงานคล่องตัว ก็สามารถสนับสนุนให้อาจารย์สร้างงานวิจัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้มีบุคคลที่อายุน้อยที่สุดได้รับอนุมัติตำแหน่ง คือ นายอภิรัฐ อายุ 37 ปี ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก หากมีความสามารถจริง และที่ผ่านมาก็มีคนที่ได้ตำแหน่ง ศ. ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น นายวิษณุ เครืองาม เป็นต้น ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้เร่งรัดในที่ประชุมด้วยว่าควรให้กระบวนการพิจารณาตำแหน่ง ศ.ให้เร็วขึ้น ซึ่ง สกอ.จะขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น และเมื่อถึง สกอ.ก็จะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 2 เดือน
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เปิดเผยผลการประชุมเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” เพื่อนำความเสนอกราบบังคมทูลฯ โปรดเกล้าฯ จำนวน 15 ราย ดังนี้
1. รศ.ประยงค์ เนตยารักษ์ อายุ 62 ปี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 2. นายสุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ อายุ 53 ปี สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 3. นายเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ อายุ 53 ปี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ชัยภูมิ 4. นายวัชระ งามจิตรเจริญ อายุ 49 ปี สาขาวิชาปรัชญา มธ. 5. นายธีรยุทธ บุญมี อายุ 60 ปี ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ สาขาวิชามานุษยวิทยา มธ. 6. นายฉลียว ศาลากิจ อายุ 50 ปี สาขาวิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 7. นางมาลินี เหล่าไพบูลย์ อายุ 54 ปี สาขาวิชาชีวสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
8. นายอุดม รัฐอมฤต อายุ 51 ปี สาขาวิชากฎหมายวิธีบัญญัติ มธ. 9. นางอรุณี เจตศรีสุภาพ อายุ 58 ปี สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ มข. 10. นายวิชัย เอกพลากร อายุ 52 ปี สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน ระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) 11. นายกำชัย จงจักรพันธ์ อายุ 50 ปี สาขาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 12. นายพลภัทร โรจน์นครินทร์ อายุ 43 ปี สาขาวิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13. นายเกษียร เตชะพีระ อายุ 53 ปี สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มธ. 14. นายธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ อายุ 64 ปี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ 15. นายอภิรัฐ ศิริธราธิวัตร อายุ 37 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มข.
“ได้หารือถึงระยะเวลาในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งที่ผ่านมาใช้เวลาค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยเรื่องไปค้างที่มหาวิทยาลัยรายละ 1 ปี 5 เดือน และค้างที่ ก.พ.อ.เพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการอีก 4 เดือน บางรายกว่าจะได้เป็น ศ.ต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี หรือเกษียณ หรือลาออกไปแล้วจึงจะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือบางรายเงินเดือนตัน ก็ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน เรื่องนี้เป็นนโยบายของผมที่ต้องการให้มีความคล่องตัวในการดำเนินการ และไม่ล่าช้า ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่กระจายอำนาจให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา โดยก.พ.อ.ซึ่งเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ จึงต้องหาวิธีการดำเนินการเรื่องเหล่านี้ให้รวดเร็วขึ้น” รมว.ศึกษาธิการกล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า การอนุมัติบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ศ.ครั้งนี้ถือว่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี ตั้งแต่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ออกประกาศมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณา แต่ยืนยันว่าการพิจารณาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกัน การที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานะมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ ทำให้การบริหารงานคล่องตัว ก็สามารถสนับสนุนให้อาจารย์สร้างงานวิจัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้มีบุคคลที่อายุน้อยที่สุดได้รับอนุมัติตำแหน่ง คือ นายอภิรัฐ อายุ 37 ปี ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก หากมีความสามารถจริง และที่ผ่านมาก็มีคนที่ได้ตำแหน่ง ศ. ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น นายวิษณุ เครืองาม เป็นต้น ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้เร่งรัดในที่ประชุมด้วยว่าควรให้กระบวนการพิจารณาตำแหน่ง ศ.ให้เร็วขึ้น ซึ่ง สกอ.จะขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น และเมื่อถึง สกอ.ก็จะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 2 เดือน