“สุขุมพันธุ์” สั่ง กทม.ประสาน ร.ฟ.ท.เร่งตรวจสอบความแข็งแรงเสาตอม่อโฮปเวลล์ทั้งหมด หวั่นกระทบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง พร้อมให้เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบป้ายโฆษณาทั่วกรุง หวั่นถล่มซ้ำรอย
วันนี้ (2 มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีชานชาลาคอนกรีตของโครงการโฮปเวลล์ถล่มเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า สาเหตุของการถล่มของชานชาลาดังกล่าวเกิดจากการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านที่รองรับตัวคอนกรีต โดยการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ 1. ความเสื่อมของตัวโครงสร้างวัสดุตัวนั่งร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีการใช้งานมานาน ขาดการดูแลรักษา 2. การลักขโมยตัวนอตที่ล็อกตัวโครงสร้างเหล็กของตัวนั่งร้าน ทำให้ความแข็งแรงช่วงรอยต่อของโครงสร้างขาดหายไป โดยการถล่มครั้งนี้เหมือนกับการถล่มของป้ายโฆษณาต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หลังจากนี้ กทม.จะดำเนินการเร่งออกสำรวจตัวโครงสร้างป้ายโฆษณาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ
ต่อข้อถามที่ว่า จุดที่เกิดการถล่มครั้งนี้เป็นจุดที่มีการก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ใช่หรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะหากมีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้วตัวคอนกรีตเองจะสามารถรองรับตัวโครงสร้างของเองได้ ซึ่งหากจะสังเกตในระยะใกล้ๆ ประมาณ 200 เมตร จะเห็นว่าจะมีชานชาลาที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตัวโครงสร้างต่างๆ ก็ตั้งอยู่บนตัวคานคอนกรีต จนถึงตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จุดที่มีปัญหายังก่อสร้างไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากบริษัทที่รับสัมปทานเกิดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
ต่อข้อถามที่ว่ายังมีจุดอื่นของโครงการนี้ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จในลักษณะเดียวกันนี้ นายธีระชน กล่าวว่า เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่น่าจะมี แต่เพื่อความรอบคอบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ช่วยดำเนินการตรวจสอบความแข็งของตอม่อของโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมด
เมื่อถามต่อว่า การถล่มครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่บางส่วนของโครงการจะมีการนำเสาตอม่อของโครงการโฮปเวลล์มาใช้ด้วยในโครงการด้วย นายธีระชน กล่าวว่า เสาตอม่อบางส่วนได้มีการนำไปใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ไปแล้ว โดยหลักวิศวกรรมแล้ว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และตัวเหล็กไม่ถูกตากแดดตากลมตัวโครงสร้างต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ เพียงแต่ว่าควรจะต้องมีการทดสอบโครงสร้างที่จะมาสอดรับกับตัวโครงสร้างใหม่จะมีรับกันได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่แข็งแรงเพียงพอก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มตัวรอบรับน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีก แต่ถ้ารับได้ก็คงจะไม่มีปัญหาเหมือนกับตัวโครงสร้างของโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีการดำเนินการไปแล้ว
วันนี้ (2 มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีชานชาลาคอนกรีตของโครงการโฮปเวลล์ถล่มเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า สาเหตุของการถล่มของชานชาลาดังกล่าวเกิดจากการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านที่รองรับตัวคอนกรีต โดยการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ 1. ความเสื่อมของตัวโครงสร้างวัสดุตัวนั่งร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีการใช้งานมานาน ขาดการดูแลรักษา 2. การลักขโมยตัวนอตที่ล็อกตัวโครงสร้างเหล็กของตัวนั่งร้าน ทำให้ความแข็งแรงช่วงรอยต่อของโครงสร้างขาดหายไป โดยการถล่มครั้งนี้เหมือนกับการถล่มของป้ายโฆษณาต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หลังจากนี้ กทม.จะดำเนินการเร่งออกสำรวจตัวโครงสร้างป้ายโฆษณาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ
ต่อข้อถามที่ว่า จุดที่เกิดการถล่มครั้งนี้เป็นจุดที่มีการก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ใช่หรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะหากมีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้วตัวคอนกรีตเองจะสามารถรองรับตัวโครงสร้างของเองได้ ซึ่งหากจะสังเกตในระยะใกล้ๆ ประมาณ 200 เมตร จะเห็นว่าจะมีชานชาลาที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตัวโครงสร้างต่างๆ ก็ตั้งอยู่บนตัวคานคอนกรีต จนถึงตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จุดที่มีปัญหายังก่อสร้างไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากบริษัทที่รับสัมปทานเกิดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
ต่อข้อถามที่ว่ายังมีจุดอื่นของโครงการนี้ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จในลักษณะเดียวกันนี้ นายธีระชน กล่าวว่า เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่น่าจะมี แต่เพื่อความรอบคอบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ช่วยดำเนินการตรวจสอบความแข็งของตอม่อของโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมด
เมื่อถามต่อว่า การถล่มครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่บางส่วนของโครงการจะมีการนำเสาตอม่อของโครงการโฮปเวลล์มาใช้ด้วยในโครงการด้วย นายธีระชน กล่าวว่า เสาตอม่อบางส่วนได้มีการนำไปใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ไปแล้ว โดยหลักวิศวกรรมแล้ว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และตัวเหล็กไม่ถูกตากแดดตากลมตัวโครงสร้างต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ เพียงแต่ว่าควรจะต้องมีการทดสอบโครงสร้างที่จะมาสอดรับกับตัวโครงสร้างใหม่จะมีรับกันได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่แข็งแรงเพียงพอก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มตัวรอบรับน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีก แต่ถ้ารับได้ก็คงจะไม่มีปัญหาเหมือนกับตัวโครงสร้างของโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีการดำเนินการไปแล้ว