สมัชชาปฏิรูป เสนอ 4 แนวทางปฏิรูปการศึกษาไทย มี.ค.นี้ หมอประเวศ ระบุ รัฐบาลแก้ปัญหาการศึกษาล้มเหลว แนะอ่านให้มากอย่าดีแต่พูด
วันนี้ (22 ก.พ) ที่ โรงแรมสยามซิตี้ มีการแถลงข่าวการจัดงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย. ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดย นางวณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กล่าวว่า คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ได้พิจารณากำหนดระเบียบวาระสมัชชาฯ จากข้อเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะ เพื่อผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติ 6 ด้าน ได้แก่ 1.การปฏิรูประบบแรงงาน และสวัสดิการ 2.การปฏิรูประบบเกษตรกรรม 3.การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจสู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลและท้องถิ่น 4.การปฏิรูประบบการเมือง 5.การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน และ 6.การปฏิรูปการศึกษา
สำหรับการปฏิรูปการศึกษา ได้มีข้อเสนอเพื่อการพิจารณาในการประชุมสมัชชาระดับชาติ 4 มติหลัก ดังนี้ 1.การส่งเสริมภาคชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ทั้งในด้านการปรับแก้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น การปรับปรุงมาตรการทางการคลังและวิธีการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาที่เน้นระบบการจัดสรรงบประมาณตามตัวผู้เรียนและการจัดสรรงบประมาณลงไปสู่ฐานชุมชนท้องถิ่น หรือการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรและทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตลอดจนทรัพยากรของท้องถิ่นในการเข้าร่วมจัดการศึกษา เป็นต้น 2.สนับสนุนให้มีการพัฒนาและดำเนินการ “เครือข่ายประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้” ให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมจากชุมชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาสังคมและชุมชน ในระบบกลไกและกระบวนการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้
3.ให้คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการร่วมกับ องค์กรภาคีต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน และประชาสังคม ขับเคลื่อนให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นเป้าหมาย หลักการ การมีส่วนร่วม ก่อนการพิจารณาถึงโครงสร้างองค์กรในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ และ 4.ให้มีกลไกการวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับด้วย โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงระบบ ด้วยการทำงานร่วมกันภาคีเครอข่ายทางวิชาการทั่วประเทศ
ด้าน ศ.นพ. ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กล่าวว่า ปฏิรูปการศึกษา เป็นเรื่องใหญ่ ที่ทุกรัฐบาลมีความพยายามจะทำการปฏิรูปแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะฉะนั้น จะต้องกลับมาคิดทบทวนถึงต้นเหตุของปัญหาก่อนว่าจะทำอย่างไร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ อยากเสนอผู้ทำงานด้านการศึกษา ให้อ่านให้มาก อย่าดีแต่พูด และร่วมกันสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนการปฏิรูปให้ไปทิศทางเดียวกัน
“อยากให้นักวิชาการด้านการศึกษา อ่านข้อมูล ข้อเสนอ ให้หมด อ่านแล้วจะต้องทำความให้เข้าใจ อย่าดีแต่พูด เพราะทุกวันนี้มีแต่พูดๆ แต่ไม่ค่อยอ่านรายละเอียด” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
วันนี้ (22 ก.พ) ที่ โรงแรมสยามซิตี้ มีการแถลงข่าวการจัดงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย. ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดย นางวณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กล่าวว่า คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ได้พิจารณากำหนดระเบียบวาระสมัชชาฯ จากข้อเสนอประเด็นนโยบายสาธารณะ เพื่อผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติ 6 ด้าน ได้แก่ 1.การปฏิรูประบบแรงงาน และสวัสดิการ 2.การปฏิรูประบบเกษตรกรรม 3.การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจสู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลและท้องถิ่น 4.การปฏิรูประบบการเมือง 5.การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน และ 6.การปฏิรูปการศึกษา
สำหรับการปฏิรูปการศึกษา ได้มีข้อเสนอเพื่อการพิจารณาในการประชุมสมัชชาระดับชาติ 4 มติหลัก ดังนี้ 1.การส่งเสริมภาคชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ทั้งในด้านการปรับแก้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น การปรับปรุงมาตรการทางการคลังและวิธีการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาที่เน้นระบบการจัดสรรงบประมาณตามตัวผู้เรียนและการจัดสรรงบประมาณลงไปสู่ฐานชุมชนท้องถิ่น หรือการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรและทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตลอดจนทรัพยากรของท้องถิ่นในการเข้าร่วมจัดการศึกษา เป็นต้น 2.สนับสนุนให้มีการพัฒนาและดำเนินการ “เครือข่ายประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้” ให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมจากชุมชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาสังคมและชุมชน ในระบบกลไกและกระบวนการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้
3.ให้คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการร่วมกับ องค์กรภาคีต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน และประชาสังคม ขับเคลื่อนให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นเป้าหมาย หลักการ การมีส่วนร่วม ก่อนการพิจารณาถึงโครงสร้างองค์กรในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ และ 4.ให้มีกลไกการวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับด้วย โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงระบบ ด้วยการทำงานร่วมกันภาคีเครอข่ายทางวิชาการทั่วประเทศ
ด้าน ศ.นพ. ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กล่าวว่า ปฏิรูปการศึกษา เป็นเรื่องใหญ่ ที่ทุกรัฐบาลมีความพยายามจะทำการปฏิรูปแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะฉะนั้น จะต้องกลับมาคิดทบทวนถึงต้นเหตุของปัญหาก่อนว่าจะทำอย่างไร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ อยากเสนอผู้ทำงานด้านการศึกษา ให้อ่านให้มาก อย่าดีแต่พูด และร่วมกันสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนการปฏิรูปให้ไปทิศทางเดียวกัน
“อยากให้นักวิชาการด้านการศึกษา อ่านข้อมูล ข้อเสนอ ให้หมด อ่านแล้วจะต้องทำความให้เข้าใจ อย่าดีแต่พูด เพราะทุกวันนี้มีแต่พูดๆ แต่ไม่ค่อยอ่านรายละเอียด” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว