กทม. มอบรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปีแก่หน่วยงาน องค์กร และสถานบริการ รวม 10 แห่ง ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ทั้งด้านความสะอาด เพียงพอ และปลอดภัย พร้อมเดินหน้าส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญของการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อีกทั้งเน้นสร้างเครือข่ายกับสถานีบริการน้ำมันภาคเอกชนในการให้บริการส้วมสาธารณะที่สะอาด ได้มาตรฐาน เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
วันนี้ (22 ก.พ.) พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานแถลงข่าว “สุดยอดส้วมแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2554” ตามโครงการพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะ พร้อมมอบโล่รางวัลสุดยอดส้วมแก่หน่วยงานและองค์กร 10 แห่ง ที่พัฒนาส้วมสาธารณะให้มีสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน HAS คือ ด้านความสะอาด (Healthy) ของอาคารสถานที่และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ด้านความเพียงพอ (Accessibility) การมีห้องส้วมสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ และด้านความปลอดภัย (Safety) ประชาชนสามารถใช้บริการส้วมสาธารณะได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ตั้งอยู่ในที่ลับตาคน ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
สำหรับการคัดเลือกสุดยอดส้วมปี 2554 ของกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 12 ประเภท มีหน่วยงานหรือองค์กรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS จำนวน 9 ประเภท ได้รับรางวัลรวม 10 แห่ง ประกอบด้วย ประเภทศาสนสถาน ได้แก่ วัดมกุฏกษัตริยาราม ประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ บริษัท เลิศชวนะ จำกัด ประเภทร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารมณียา ประเภทโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสายไหม ประเภทห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ประเภทสถานที่ราชการ ได้แก่ สำนักงานเขตพญาไท ประเภทแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ประเภทสวนสาธารณะ ได้แก่ สวนหลวง ร.9 และประเภทโรงเรียน แบ่งเป็น สังกัดรัฐบาล ได้แก่ โรงเรียนวัดทองนพคุณ และสังกัดเอกชน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์สายลม ส่วนอีก 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทตลาดสด สถานีขนส่ง และอาชีวศึกษา ไม่มีหน่วยงานใดส่งเข้าประกวด
พญ.มาลินี กล่าวว่า กทม.เห็นความสำคัญเกี่ยวกับสุขลักษณะของส้วมสาธารณะ เนื่องจากหากไม่จัดการให้ถูกหลักสุขาภิบาลและการรักษาความสะอาด อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคที่สำคัญ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางผิวหนัง รวมถึงเกิดปัญหาทั้งความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และไม่น่าดูน่าใช้ ปัจจุบันพบว่าส้วมสาธารณะตามสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ประสบปัญหาด้านสุขลักษณะและอนามัย ทั้งความสกปรก มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสบู่และอ่างล้างมือ ถังขยะในห้องส้วมสกปรกไม่มีฝาปิดมิดชิด และไม่มีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดหลังการขับถ่าย กรุงเทพมหานครจึงจัดทำโครงการพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะใน 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตลาดสด ร้านอาหาร โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ โรงเรียน สถานีขนส่ง และอาชีวศึกษา รวมกว่า 3,000 แห่ง เพื่อปลุกจิตสำนึกผู้ประกอบการ สถานบริการ หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกิดความตระหนักและเห็นความจำเป็นของให้บริการส้วมสาธารณะที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และได้มาตรฐาน เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีและได้รับความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ในการใช้บริการส้วมสาธารณะ รวมถึงเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวได้ด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2555 กทม.จะเร่งปลูกฝังค่านิยม และทัศนคติที่ดีแก่ประชาชนให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการใช้บริการส้วมสาธารณะ ด้วยการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้ประชาชน อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของ กทม. โดยจะประสานความร่วมมือกับตัวแทนผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จากภาคเอกชนที่มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพฯ ในการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย
วันนี้ (22 ก.พ.) พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานแถลงข่าว “สุดยอดส้วมแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2554” ตามโครงการพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะ พร้อมมอบโล่รางวัลสุดยอดส้วมแก่หน่วยงานและองค์กร 10 แห่ง ที่พัฒนาส้วมสาธารณะให้มีสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน HAS คือ ด้านความสะอาด (Healthy) ของอาคารสถานที่และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ด้านความเพียงพอ (Accessibility) การมีห้องส้วมสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ และด้านความปลอดภัย (Safety) ประชาชนสามารถใช้บริการส้วมสาธารณะได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ตั้งอยู่ในที่ลับตาคน ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
สำหรับการคัดเลือกสุดยอดส้วมปี 2554 ของกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 12 ประเภท มีหน่วยงานหรือองค์กรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS จำนวน 9 ประเภท ได้รับรางวัลรวม 10 แห่ง ประกอบด้วย ประเภทศาสนสถาน ได้แก่ วัดมกุฏกษัตริยาราม ประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ บริษัท เลิศชวนะ จำกัด ประเภทร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารมณียา ประเภทโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสายไหม ประเภทห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ประเภทสถานที่ราชการ ได้แก่ สำนักงานเขตพญาไท ประเภทแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ประเภทสวนสาธารณะ ได้แก่ สวนหลวง ร.9 และประเภทโรงเรียน แบ่งเป็น สังกัดรัฐบาล ได้แก่ โรงเรียนวัดทองนพคุณ และสังกัดเอกชน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์สายลม ส่วนอีก 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทตลาดสด สถานีขนส่ง และอาชีวศึกษา ไม่มีหน่วยงานใดส่งเข้าประกวด
พญ.มาลินี กล่าวว่า กทม.เห็นความสำคัญเกี่ยวกับสุขลักษณะของส้วมสาธารณะ เนื่องจากหากไม่จัดการให้ถูกหลักสุขาภิบาลและการรักษาความสะอาด อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคที่สำคัญ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางผิวหนัง รวมถึงเกิดปัญหาทั้งความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และไม่น่าดูน่าใช้ ปัจจุบันพบว่าส้วมสาธารณะตามสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ประสบปัญหาด้านสุขลักษณะและอนามัย ทั้งความสกปรก มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสบู่และอ่างล้างมือ ถังขยะในห้องส้วมสกปรกไม่มีฝาปิดมิดชิด และไม่มีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดหลังการขับถ่าย กรุงเทพมหานครจึงจัดทำโครงการพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะใน 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตลาดสด ร้านอาหาร โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ โรงเรียน สถานีขนส่ง และอาชีวศึกษา รวมกว่า 3,000 แห่ง เพื่อปลุกจิตสำนึกผู้ประกอบการ สถานบริการ หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกิดความตระหนักและเห็นความจำเป็นของให้บริการส้วมสาธารณะที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และได้มาตรฐาน เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีและได้รับความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ในการใช้บริการส้วมสาธารณะ รวมถึงเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวได้ด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2555 กทม.จะเร่งปลูกฝังค่านิยม และทัศนคติที่ดีแก่ประชาชนให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการใช้บริการส้วมสาธารณะ ด้วยการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้ประชาชน อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาสุขลักษณะส้วมสาธารณะในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของ กทม. โดยจะประสานความร่วมมือกับตัวแทนผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จากภาคเอกชนที่มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพฯ ในการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย