“เครือข่ายต้านเหล้า” บุก สธ. จี้ “วิทยา” ลงดาบโฆษณา export ค่ายไทยเบฟ หลังพบป้ายเกลื่อนเมืองไม่ระบุเป็นเบียร์ ตั้งใจหลบกฎหมาย วอนเดินหน้ากฎหมายลูก ตาม พ.ร.บ.คุมน้ำเมา ป้องนักดื่มหน้าใหม่ หลังติดหล่มมานาน พร้อมฉีกหน้ากากบริษัทเหล้านอกลวง สธ.ร่วมกิจกรรม เตือนอย่าตกเป็นเครื่องมือโปรโมต
วันนี้ (22 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ เครือข่ายผู้ชายหยุดความรุนแรง และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กว่า 50 คน รวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอให้ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวาระครบรอบ 4 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มารับเรื่องแทน
นายชูวิทย์ กล่าวว่า ตลอด 4 ปี ที่ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สามารถสรุปปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือ กฎหมายลูกอยู่ในสภาวะติดหล่ม เช่น มาตรการคุมเหล้าปั่น มาตรการห้ามดื่มในรถ/ท้ายกระบะ มาตรการโซนนิ่งร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่า บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉ้อฉล หาช่องว่างเลี่ยงกฎหมาย และทำผิดต่อเนื่อง รวมถึงทำการตลาดด้วยการสร้างเครือข่ายในโลกออนไลน์ และโหมกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่สำคัญยังพบว่าส่วนราชการบางหน่วยงานทำผิดเสียเอง โดยร่วมมือกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“องค์กรหน้าฉากที่มีอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เบื้องหลัง พยายามหาช่องว่างเข้าแทรกแซงนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ด้วยการหลอกลวงว่าให้ดื่มอย่างรับผิดชอบ ล่อลวงให้เยาวชนประมาท หรือท้าทายให้เยาวชนอยากดื่ม เพื่อสร้างภาพลักษณ์และการจดจำตราสินค้า ที่น่าห่วงคือ ร้านค้า ผับบาร์ สถานบันเทิงพร้อมใจกันขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และยังยึดทำเลทองรอบมหาวิทยาลัยกอบโกยเงินจากลูกค้าที่เป็นนิสิตนักศึกษา” นายชูวิทย์กล่าว
ด้านนายนรินทร์ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ กล่าวว่า จากกรณีการโฆษณาเครื่องดื่ม export ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด ซึ่งใช้สื่อโฆษณาป้ายแบนเนอร์ สติกเกอร์ ฯลฯ ไปทั่วประเทศ ซึ่งระบุข้อความว่า “EXPORT มอลต์ 100%” แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีข้อความคำเตือน ไม่มีข้อความสร้างสรรค์สังคมใดๆ ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง คือผลิตภัณฑ์เบียร์อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันวางขายแล้วทั่วประเทศ แต่บริษัทเหล้าตั้งใจท้าทายกฎหมาย ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องนำหลักฐานมาร้องเรียนขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทดังกล่าวโดยเร่งด่วน
นายนรินทร์ กล่าวว่า แม้จะเป็นโอกาสครบรอบ 4 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 แต่ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ครอบคลุม จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำข้อเรียกร้องจากเครือข่ายฯไปพิจารณา ดังนี้ 1. เร่งบังคับใช้กฎหมาย และประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับ หน่วยงานราชการ ที่ร่วมมือกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ละเมิดกฎหมาย 2. เร่งตรวจสอบความพยายามของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เข้ามาแทรกแซงนโยบาย และหลอกล่อให้หน่วยงานภาครัฐที่ไม่รู้เท่าทัน สนับสนุนในประเด็นการดื่มอย่างรับผิดชอบ หรือประเด็นอื่นๆอย่างแอบแฝง ผ่านทางองค์กรหน้าฉากที่ตั้งขึ้นโดยมีอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เบื้องหลัง ซึ่งมีเป้าหมายการตลาดที่เยาวชนมากกว่ารับผิดชอบจริง และข้อ 3.ผลักดันกฎหมายลูกซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เช่น มาตรการคุมเหล้าปั่น ควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ห้ามดื่มในรถหรือท้ายกระบะเป็นต้น ที่ติดค้างมานานก่อนหน้านี้
นายพสิษฐ์ กล่าวรับข้อเสนอว่า การร้องเรียนของทางเครือข่าย คงต้องแยกแต่ละประเด็นและจะทำรายงานเรื่องนี้เสนอ รมว.สาธารณสุข และนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบ และตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อแก้โจทย์ตรงนี้ ส่วนประเด็นที่ข้าราชการของกระทรวงไปร่วมกิจกรรมกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างที่เครือข่ายระบุนั้น คงต้องไตร่สวนหากว่ามีความผิด คงต้องมีมาตรการเอาผิด
วันนี้ (22 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ เครือข่ายผู้ชายหยุดความรุนแรง และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กว่า 50 คน รวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอให้ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวาระครบรอบ 4 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มารับเรื่องแทน
นายชูวิทย์ กล่าวว่า ตลอด 4 ปี ที่ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สามารถสรุปปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือ กฎหมายลูกอยู่ในสภาวะติดหล่ม เช่น มาตรการคุมเหล้าปั่น มาตรการห้ามดื่มในรถ/ท้ายกระบะ มาตรการโซนนิ่งร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่า บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉ้อฉล หาช่องว่างเลี่ยงกฎหมาย และทำผิดต่อเนื่อง รวมถึงทำการตลาดด้วยการสร้างเครือข่ายในโลกออนไลน์ และโหมกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่สำคัญยังพบว่าส่วนราชการบางหน่วยงานทำผิดเสียเอง โดยร่วมมือกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“องค์กรหน้าฉากที่มีอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เบื้องหลัง พยายามหาช่องว่างเข้าแทรกแซงนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ด้วยการหลอกลวงว่าให้ดื่มอย่างรับผิดชอบ ล่อลวงให้เยาวชนประมาท หรือท้าทายให้เยาวชนอยากดื่ม เพื่อสร้างภาพลักษณ์และการจดจำตราสินค้า ที่น่าห่วงคือ ร้านค้า ผับบาร์ สถานบันเทิงพร้อมใจกันขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และยังยึดทำเลทองรอบมหาวิทยาลัยกอบโกยเงินจากลูกค้าที่เป็นนิสิตนักศึกษา” นายชูวิทย์กล่าว
ด้านนายนรินทร์ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพ กล่าวว่า จากกรณีการโฆษณาเครื่องดื่ม export ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด ซึ่งใช้สื่อโฆษณาป้ายแบนเนอร์ สติกเกอร์ ฯลฯ ไปทั่วประเทศ ซึ่งระบุข้อความว่า “EXPORT มอลต์ 100%” แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีข้อความคำเตือน ไม่มีข้อความสร้างสรรค์สังคมใดๆ ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง คือผลิตภัณฑ์เบียร์อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันวางขายแล้วทั่วประเทศ แต่บริษัทเหล้าตั้งใจท้าทายกฎหมาย ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องนำหลักฐานมาร้องเรียนขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทดังกล่าวโดยเร่งด่วน
นายนรินทร์ กล่าวว่า แม้จะเป็นโอกาสครบรอบ 4 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 แต่ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ครอบคลุม จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำข้อเรียกร้องจากเครือข่ายฯไปพิจารณา ดังนี้ 1. เร่งบังคับใช้กฎหมาย และประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับ หน่วยงานราชการ ที่ร่วมมือกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ละเมิดกฎหมาย 2. เร่งตรวจสอบความพยายามของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เข้ามาแทรกแซงนโยบาย และหลอกล่อให้หน่วยงานภาครัฐที่ไม่รู้เท่าทัน สนับสนุนในประเด็นการดื่มอย่างรับผิดชอบ หรือประเด็นอื่นๆอย่างแอบแฝง ผ่านทางองค์กรหน้าฉากที่ตั้งขึ้นโดยมีอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เบื้องหลัง ซึ่งมีเป้าหมายการตลาดที่เยาวชนมากกว่ารับผิดชอบจริง และข้อ 3.ผลักดันกฎหมายลูกซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เช่น มาตรการคุมเหล้าปั่น ควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ห้ามดื่มในรถหรือท้ายกระบะเป็นต้น ที่ติดค้างมานานก่อนหน้านี้
นายพสิษฐ์ กล่าวรับข้อเสนอว่า การร้องเรียนของทางเครือข่าย คงต้องแยกแต่ละประเด็นและจะทำรายงานเรื่องนี้เสนอ รมว.สาธารณสุข และนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบ และตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อแก้โจทย์ตรงนี้ ส่วนประเด็นที่ข้าราชการของกระทรวงไปร่วมกิจกรรมกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างที่เครือข่ายระบุนั้น คงต้องไตร่สวนหากว่ามีความผิด คงต้องมีมาตรการเอาผิด