“สุขุมพันธุ์” ดูงานระบบรถไฟใติดินเซี่ยงไฮ้ เผย สายโมโนเรลสยาม รอแค่ลายเซ็นจาก มท.เท่านั้น สามารถเดินหน้าได้ รับล่าช้ามาแต่รัฐบาลชุดก่อน กระตุ้นรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับระบบขนส่ง และคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดตามมา
วันนี้ (14 ก.พ.) เวลา 10.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวภายหลังศึกษาดูงานระบบรถไฟใต้ดินของเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่บริษัท เซี่ยงไฮ้ เฉียงตง เมโทร กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากนั้นได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กับบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนทรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ซีอาร์ซี ว่า การขยายระบบรถไฟใต้ดินของเซี่ยงไฮ้เป็นเรื่องที่น่าประทับใจ เริ่มมีขึ้นก่อนกรุงเทพฯ เพียง 5 ปี แต่ขณะนี้เซี่ยงไฮ้มีระบบขนส่งมวลชนแบบรางระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลาเพียง 20 ปี เซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาระบบรางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่กรุงเทพฯ มีระยะทาง 70 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้น มีหลายสิ่งที่กรุงเทพฯ ต้องเรียนรู้ ทั้งเรื่องของระบบและการบริหารระบบ ตนมั่นใจว่า ความตกลงของทั้ง 2 บริษัทจะสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างกรุงเทพฯ และเมืองฉางชุน ในอนาคต รวมทั้งบริษัท บีทีเอสซี และบริษัท ซีอาร์ซี
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า สำหรับบริษัท ซีอาร์ซี เป็นบริษัทที่ผลิตรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจีน แม้ความร่วมมือครั้งนี้จะไม่เกี่ยวกับ กทม.โดยตรง แต่ก็มีความสำคัญในระยะยาว ทั้งนี้ กทม. คงไม่สามารถนำระบบขนส่งมวลชนแบบรางของเซี่ยงไฮ้มาปรับใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ทั้งการบริหารและการปกครอง ฝ่ายการเมืองของไทยควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล
“ความคืบหน้าของโมโนเรลสายสยาม ขณะนี้ กทม.รอแค่ลายเซ็น ขอความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) ในการขอใช้เส้นทาง หากอนุมัติก็สามารถเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งฯ ได้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้เกิดความล่าช้ามาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว แม้จะเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวกันก็ตาม ดังนั้น รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ท้องถิ่นดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เอง จึงอยากขอให้รัฐบาลชุดนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะตามมา โดยขอเพียงลายเซ็นจากรัฐ ท้องถิ่นจะดำเนินการเองได้” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างกันของ 2 บริษัท และหาก กทม.มีโครงการด้านการขนส่ง ตนก็พร้อมร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนา เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในอนาคต เนื่องจากการขนส่งแบบระบบรางช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างไรก็ตาม ระบบรางต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ตนเป็นเพียงเอกชนที่มีความพร้อมอยู่แล้วทั้งประสบการณ์และการเงิน แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน จึงจะสามารถเดินหน้าได้ เหมือนอย่างที่เซี่ยงไฮ้ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ประชาชนจึงใช้บริการในการเดินทางกว่าร้อยละ 35
วันนี้ (14 ก.พ.) เวลา 10.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวภายหลังศึกษาดูงานระบบรถไฟใต้ดินของเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่บริษัท เซี่ยงไฮ้ เฉียงตง เมโทร กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากนั้นได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กับบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนทรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ซีอาร์ซี ว่า การขยายระบบรถไฟใต้ดินของเซี่ยงไฮ้เป็นเรื่องที่น่าประทับใจ เริ่มมีขึ้นก่อนกรุงเทพฯ เพียง 5 ปี แต่ขณะนี้เซี่ยงไฮ้มีระบบขนส่งมวลชนแบบรางระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลาเพียง 20 ปี เซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาระบบรางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่กรุงเทพฯ มีระยะทาง 70 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้น มีหลายสิ่งที่กรุงเทพฯ ต้องเรียนรู้ ทั้งเรื่องของระบบและการบริหารระบบ ตนมั่นใจว่า ความตกลงของทั้ง 2 บริษัทจะสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างกรุงเทพฯ และเมืองฉางชุน ในอนาคต รวมทั้งบริษัท บีทีเอสซี และบริษัท ซีอาร์ซี
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า สำหรับบริษัท ซีอาร์ซี เป็นบริษัทที่ผลิตรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจีน แม้ความร่วมมือครั้งนี้จะไม่เกี่ยวกับ กทม.โดยตรง แต่ก็มีความสำคัญในระยะยาว ทั้งนี้ กทม. คงไม่สามารถนำระบบขนส่งมวลชนแบบรางของเซี่ยงไฮ้มาปรับใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ทั้งการบริหารและการปกครอง ฝ่ายการเมืองของไทยควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล
“ความคืบหน้าของโมโนเรลสายสยาม ขณะนี้ กทม.รอแค่ลายเซ็น ขอความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) ในการขอใช้เส้นทาง หากอนุมัติก็สามารถเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งฯ ได้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้เกิดความล่าช้ามาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว แม้จะเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวกันก็ตาม ดังนั้น รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ท้องถิ่นดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เอง จึงอยากขอให้รัฐบาลชุดนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะตามมา โดยขอเพียงลายเซ็นจากรัฐ ท้องถิ่นจะดำเนินการเองได้” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างกันของ 2 บริษัท และหาก กทม.มีโครงการด้านการขนส่ง ตนก็พร้อมร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนา เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในอนาคต เนื่องจากการขนส่งแบบระบบรางช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างไรก็ตาม ระบบรางต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ตนเป็นเพียงเอกชนที่มีความพร้อมอยู่แล้วทั้งประสบการณ์และการเงิน แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน จึงจะสามารถเดินหน้าได้ เหมือนอย่างที่เซี่ยงไฮ้ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ประชาชนจึงใช้บริการในการเดินทางกว่าร้อยละ 35