xs
xsm
sm
md
lg

ประเทศไทยต้องปฏิวัติสังคมและการเมืองใหม่ (ตอนที่ 1)

เผยแพร่:   โดย: ประพันธ์ คูณมี

วันนี้ขอพูดถึงปัญหาของชาติบ้านเมือง หลังจากที่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและการเมืองมาแล้วหลายตอน เหตุก็เพราะผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาของชาติ ประเทศ และสังคมไทย ทั้งหมดขณะนี้ปมเงื่อนสำคัญรวมศูนย์อยู่ที่ปัญหาการเมืองทั้งสิ้น ปัญหาการเมืองที่ล้มเหลวเป็นต้นเหตุของวิกฤตปัญหาทางสังคม ในทุกๆ ด้าน หากประเทศไทยและคนไทยไม่กล้าหาญที่จะพูดความจริง ไม่กล้าสู้ ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ประเทศและสังคมของเราที่เป็นอยู่ในขณะนี้อย่างถึงรากถึงโคน อย่างถึงที่สุดแล้วก็ยากที่จะก้าวให้พ้นวิกฤตของชาติในขณะนี้ไปได้ เหตุปัจจัยสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยจำต้องปฏิวัติสังคมและการเมือง ตั้งอยู่บนเหตุผลและข้อเท็จจริง ดังนี้

ปัญหาวิกฤตร้ายแรงทางสังคม

1. ความยากจนและความเหลี่ยมล้ำทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนต่างกันถึง 13-14 เท่า ส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มที่รวยที่สุดในสังคมมีถึงร้อยละ 55 ในขณะที่กลุ่มของคนจนที่สุดมีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้น และเมื่อพิจารณาการถือครองทรัพย์สินของประชาชนในประเทศ ปรากฏว่า กลุ่มคนรวยบนสุดมีทรัพย์สินในครัวเรือนถึงร้อยละ 69 ในขณะที่กลุ่มคนต่ำสุดมีทรัพย์สินครัวเรือนร้อยละ 1 เท่านั้น ทางด้านการถือครองที่ดิน อันถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีอยู่ร้อยละ 39.70 ในปี 2549 โดยเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ไม่มีที่ทำกิน หรือมีที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ ประชาชนส่วนน้อยเป็นผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 : การกระจายการถือครองที่ดินของครัวเรือนที่ทำการเกษตรในประเทศไทย
ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ส่วนสภาพปัญหาที่ดินเอกชนพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บุคคลและนิติบุคคล จำนวน 50 รายแรก ถือครองที่ดินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด และส่วนใหญ่ก็ถูกถือครองโดยชนชั้นนำในสังคม หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ตาราง 2-3)

ตารางที่ 2 : ผู้ถือครองที่ดินประเภทบุคคลธรรมดา ในกรุงเทพมหานคร ที่ถือครองที่ดินขนาดพื้นที่รวมมากที่สุดและน้อยที่สุด ในปี 2551 อย่างละ 50 ลำดับ
ที่มา: ดวงมณี เลาวกุล และเอื้อมพร พิชัยสนิธ (2551)
ตารางที่ 3 : สัดส่วนการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินประเภทบุคคลธรรมดา ในกรุงเทพมหานคร ในปี 2551
ที่มา : ดวงมณี เลาวกุล และเอื้อมพร พิชัยสนิธ (2551)
กรณีที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้พูดถึงการถือครองทรัพย์สินในภาคอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร และความไม่เป็นธรรม ในภาคของการใช้แรงงาน แต่ก็ทำให้เห็นได้ชัดเจนได้ว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน นับวันยิ่งห่าง จนกลายเป็นปัญหาวิกฤตทางสังคมแบบรวยกระจุกจนกระจาย เราจึงมี 40 เศรษฐีไทย ปรากฏในรายชื่อดังต่อไปนี้

1. ธนินท์ เจียรวนนท์ (7,400 ล้านดอลลาร์) อายุ 72 ปี 2. เฉลียว อยู่วิทยา (5,000 ล้านดอลลาร์) อายุ 79 ปี 3. เจริญ สิริวัฒนภักดี (4,800 ล้านดอลลาร์) อายุ 67 ปี 4. ตระกูลจิราธิวัฒน์ (4,300 ล้านดอลลาร์) 5. กฤตย์ รัตนรักษ์ และครอบครัว (2,500 ล้านดอลลาร์) อายุ 65 ปี 6. อาลก โลเฮีย (2,100 ล้านดอลลาร์) อายุ 53 ปี 7. จำนงค์ ภิรมย์ภักดี (2,000 ล้านดอลลาร์) อายุ 83 ปี 8. วิชัย มาลีนนท์ (1,500 ล้านดอลลาร์) อายุ 93 ปี 9. อิสระ ว่องกุศลกิจ (1,400 ล้านดอลลาร์) อายุ 63 ปี 10. คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว (1,050 ล้านดอลลาร์) อายุ 79 ปี

11. ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (1,000 ล้านดอลลาร์) อายุ 53 ปี 12. วานิช ไชยวรรณ (930 ล้านดอลลาร์) อายุ 79 ปี 13. ประยุทธ มหากิจศิริ (900 ล้านดอลลาร์) อายุ 65 ปี 14. สุรางค์ เปรมปรีดิ์ (790 ล้านดอลลาร์) อายุ 69 ปี 15. อนันต์ อัศวโภคิน (750 ล้านดอลลาร์) อายุ 61 ปี 16. คีรี กาญจนพาสน์ (625 ล้านดอลลาร์) อายุ 61 ปี 17. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (620 ล้านดอลลาร์) อายุ 78 ปี 18. สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ (610 ล้านดอลลาร์) อายุ 60 ปี 19. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว (600 ล้านดอลลาร์) อายุ 62 ปี 20. บุญชัย เบญจรงคกุล (550 ล้านดอลลาร์) อายุ 57 ปี

21. ไกรสร จันศิริ (460 ล้านดอลลาร์) อายุ 76 ปี 22. จำรูญ ชินธรรมมิตร์ (440 ล้านดอลลาร์) อายุ 61 ปี 23. วิลเลียม อี. ไฮเนคกี (425 ล้านดอลลาร์) อายุ 62 ปี 24. สรรเสริญ จุฬางกูร (420 ล้านดอลลาร์) อายุ 69 ปี 25. วิทย์ วิริยะประไพกิจ (380 ล้านดอลลาร์) ไม่มีข้อมูล 26. วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ (360 ล้านดอลลาร์) อายุ 66 ปี 27. นิชิต้า ชาห์ เฟเดอร์บุช (340 ล้านดอลลาร์) อายุ 31 ปี 28. พงษ์ศักดิ์ วิทยากร (310 ล้านดอลลาร์) อายุ 77 ปี 29. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (300 ล้านดอลลาร์) อายุ 67 ปี 30. วิชา พูลวรลักษณ์ (265 ล้านดอลลาร์) อายุ 47 ปี

31. นิจพร จรณะจิตต์ (260 ล้านดอลลาร์) อายุ 60 ปี 32. นิธิ โอสถานุเคราะห์ (255 ล้านดอลลาร์) อายุ 38 ปี 33. รุ่งโรจน์ แสงศาสตรา (250 ล้านดอลลาร์) อายุ 61 ปี 34. พิชญ์ โพธารามิก (245 ล้านดอลลาร์) อายุ 38 ปี 35. เปรมชัย กรรณสูต (240 ล้านดอลลาร์) อายุ 58 ปี 36. ประทีป ตั้งมติธรรม (230 ล้านดอลลาร์) อายุ 64 ปี 37. เฉลิม อยู่วิทยา (225 ล้านดอลลาร์) อายุ 61 ปี 38. วิชัย รักศรีอักษร (210 ล้านดอลลาร์) อายุ 53 ปี 39. พรดี ลี้อิสระนุกูล (200 ล้านดอลลาร์) อายุ 75 ปี 40. วิโรจน์ ธนาลงกรณ์ (195 ล้านดอลลาร์) อายุ 58 ปี

ด้วยโครงสร้างทางรายได้และความเหลี่ยมล้ำทางสังคมเช่นนี้ ซึ่งนับวันจะหนักหน่วงรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลง
กำลังโหลดความคิดเห็น