เลขาธิการ กศน.ขานรับนโยบายอาเซียน มอบศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ให้วิทยุศึกษาผลิตรายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอาเซียน
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.เปิดเผยว่า จากการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 นั้น สำนักงาน กศน.ได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยสถานีวิทยุศึกษาเตรียมผลิตรายการวิทยุส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้มีทักษะที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษา (วศษ.) และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (สวศ.) โดยมีรายการต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ รายการภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย รายการภาษาจีน เวียดนาม ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี อินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งวิถีชีวิตของประชากรในอาเซียน ออกอากาศทางสถานี วศษ.เวลา 07.30-08.00 น.และ 18.30-19.00 น.ตั้งแต่วันจันทร์-อาทิตย์ และออกอากาศทางสถานี สวศ.ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-11.00 น.
“รายการหยิบมาเล่า เอามาฝาก” เป็นรายการที่ชี้แจงให้ทราบถึงความเป็นมาและความสำคัญของการเข้าร่วมและเตรียมตัวเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ตลอดจนแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ผ่านการเล่าเรื่องของนักเดินทางท่องเที่ยว ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางสถานี วศษ.เวลา 09.00-10.00 น.และทางสถานี สวศ.เวลา 09.30-10.20 น.“รายการอาเซียนเรียนรู้” เป็นรายการนิตยสารข่าว ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น.ดำเนินรายการโดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และ คุณชุติมา นันทะวงษ์ “รายการโลกกว้างทางการศึกษา” เป็นรายการที่รายงานความก้าวหน้าและบทบาทคนพิการกับอาเซียน โดยจัดเป็นระยะตามความเหมาะสม ออกอากาศทาง วศษ.เวลา 18.00-18.30 น.และ “รายการสรวล-สนุก” ช่วงนิทานอาเซียน เป็นการเล่านิทานพื้นบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมของชุมชน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ออกอากาศทางสถานี วศษ.เวลา 17.00-18.00 น.ซึ่งนักเรียน นักศึกษา กศน.ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถรับฟังรายการต่างๆ ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา คลื่นความถี่ FM 92 MHz และ AM 1161 kHz และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ผ่านทางเครือข่าย 11 จังหวัดทั่วประเทศ นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.เปิดเผยว่า จากการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 นั้น สำนักงาน กศน.ได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยสถานีวิทยุศึกษาเตรียมผลิตรายการวิทยุส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้มีทักษะที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษา (วศษ.) และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (สวศ.) โดยมีรายการต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ รายการภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย รายการภาษาจีน เวียดนาม ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี อินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งวิถีชีวิตของประชากรในอาเซียน ออกอากาศทางสถานี วศษ.เวลา 07.30-08.00 น.และ 18.30-19.00 น.ตั้งแต่วันจันทร์-อาทิตย์ และออกอากาศทางสถานี สวศ.ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-11.00 น.
“รายการหยิบมาเล่า เอามาฝาก” เป็นรายการที่ชี้แจงให้ทราบถึงความเป็นมาและความสำคัญของการเข้าร่วมและเตรียมตัวเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ตลอดจนแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ผ่านการเล่าเรื่องของนักเดินทางท่องเที่ยว ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางสถานี วศษ.เวลา 09.00-10.00 น.และทางสถานี สวศ.เวลา 09.30-10.20 น.“รายการอาเซียนเรียนรู้” เป็นรายการนิตยสารข่าว ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น.ดำเนินรายการโดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และ คุณชุติมา นันทะวงษ์ “รายการโลกกว้างทางการศึกษา” เป็นรายการที่รายงานความก้าวหน้าและบทบาทคนพิการกับอาเซียน โดยจัดเป็นระยะตามความเหมาะสม ออกอากาศทาง วศษ.เวลา 18.00-18.30 น.และ “รายการสรวล-สนุก” ช่วงนิทานอาเซียน เป็นการเล่านิทานพื้นบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมของชุมชน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ออกอากาศทางสถานี วศษ.เวลา 17.00-18.00 น.ซึ่งนักเรียน นักศึกษา กศน.ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถรับฟังรายการต่างๆ ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา คลื่นความถี่ FM 92 MHz และ AM 1161 kHz และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ผ่านทางเครือข่าย 11 จังหวัดทั่วประเทศ นายประเสริฐ กล่าว