สมาพันธ์แพทย์ฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ วอนดำเนินการ 3 ประเด็นหลัก ปลด “กรรมการ สปสช.ภาคประชาชน” เก็บ 30 บาท พร้อมขยายเพดานเงินชดเชยค่าเสียหายจากการบริการสาธารณสุข เชื่อ เอื้อประโยชน์ทุกฝ่าย
วันนี้ (24 ม.ค.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวภายหลังการเดินทางไปยื่นหนังสือ ถึง นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ว่า วันนี้ตนได้เดินทางไปยืนหนังสือเพื่อขอพิจารณาคำร้องเรียนของ สพศท.ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้ปลด กรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในสัดส่วนของตัวแทนองค์กรเอกชน ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ตัวแทนด้านผู้สูงอายุ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนด้านเกษตรกร นางสุนทรี เซ่งกี่ ตัวแทนด้านผู้ใช้แรงงาน นายนิมิตร เทียนอุดม ตัวแทนด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ตัวแทนด้านคนพิการ เนื่องจากกรรมการทั้ง 5 ราย ไม่ได้มาร่วมประชุมบอร์ดในช่วงที่มีการสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ถึง 3 ครั้ง ทำให้ไม่ครบองค์ประชุม และยังนำเหตุผลดังกล่าวมาฟ้องศาลปกครองอีกด้วย ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการจงใจไม่มาประชุมเพื่อเอาเป็นเหตุอ้างอย่างหวังผล สำหรับนำไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดใหม่ติดขัด และเป็นเจตนาไม่บริสุทธิ์ต่อคณะกรรมการชุดใหม่ในปัจจุบัน โดยไม่ใส่ใจต่อประชาชนผู้ที่ตนอ้างว่าเป็นตัวแทนเลยแม้แต่น้อยว่าจะได้รับผลเสียเดือดร้อนอย่างไรจากการกระทำของตน
“การกระทำเช่นนี้เข้าข่ายบกพร่องต่อหน้าที่อย่างจงใจหรือหย่อนความสามารถอย่างมากตามมาตรา 16(6) ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่งกรรมการได้ สมาพันธ์แพทย์ฯ จึงขอเสนอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีดำเนินการพิจารณาไต่สวนและมีคำสั่งเสนอปลด กรรมการทั้ง 5 ท่านนี้ และให้ดำเนินการสรรหาตัวแทนองค์กรเอกชน ที่มีคุณสมบัติจริง และมีคุณธรรมสูงกว่านี้มาทำหน้าที่แทนเพื่อประโยชน์สุขที่แท้จริงของประชาชน ไม่ควรปล่อยให้ผู้แสวงประโยชน์และอำนาจเพื่อตนและพวกพ้อง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ประชาชนทำหน้าที่นี้ต่อไปอีก เพราะอาจเกิดเหตุอื่นๆ จากบุคคลกลุ่มนี้ได้อีกในวันหน้า” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 ขอเรียกร้องให้เก็บเงิน 30 บาท อีกครั้ง เนื่องจากการยกเลิกการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ป่วยบัตรทอง ทำให้เกิดผลเสีย คือ ผู้ป่วยเข้ารับบริการล้นทะลักทุกโรงพยาบาล จากผู้ป่วยนอกประมาณ 100 ล้านครั้ง ในปี 2548 ไปเป็นประมาณ 150 ล้านครั้งต่อปี ขณะที่ ปี 2553 ซึ่งเพิ่มภาระอย่างมากต่อโรงพยาบาล (รพ.) ทุกแห่ง เพราะเจ้าหน้าที่มีเท่าเดิม และทำให้คิวรอตรวจและรักษาของผู้ที่ป่วยหนักยาวขึ้น ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการเก็บอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ อาทิ ประชาชนจะยั้งคิดในการใช้สิทธิ์ที่เกินจำเป็น ทำให้จำนวนผู้ป่วยลดลง ทำให้คิวรอตรวจรักษาสั้นลง ผู้ป่วยหนักจะได้รับบริการเร็วขึ้น และมีเวลาดูแลมากขึ้น ละเอียดขึ้น มีคุณภาพการรักษามากขึ้นกว่าเดิม โรงพยาบาลมีเงินมากขึ้น สามารถนำไปซื้อยาและอุปกรณ์การแพทย์มาใช้รักษาผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น แพทย์และพยาบาลจะมีเวลารักษาผู้ป่วยแต่ละคนมากกว่าเดิม ลดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดในการรักษา เป็นต้น
และประเด็นที่ 3 คือ ขอให้ขยายเพดานเงินชดเชย หรือเยียวยาค่าเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขตาม มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้มากกว่าเดิม จากเพดานเดิมที่เคยใช้ในอดีตเพียง 5 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม เช่น อาจขยายวงเงินเป็น 1 ล้านบาท หรือ 2 ล้านบาท ตามกรณีที่จำเป็น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการดำเนินการออกกฎหมายใหม่ อีกทั้งลดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ด้วย
วันนี้ (24 ม.ค.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวภายหลังการเดินทางไปยื่นหนังสือ ถึง นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ว่า วันนี้ตนได้เดินทางไปยืนหนังสือเพื่อขอพิจารณาคำร้องเรียนของ สพศท.ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้ปลด กรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในสัดส่วนของตัวแทนองค์กรเอกชน ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ตัวแทนด้านผู้สูงอายุ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนด้านเกษตรกร นางสุนทรี เซ่งกี่ ตัวแทนด้านผู้ใช้แรงงาน นายนิมิตร เทียนอุดม ตัวแทนด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ตัวแทนด้านคนพิการ เนื่องจากกรรมการทั้ง 5 ราย ไม่ได้มาร่วมประชุมบอร์ดในช่วงที่มีการสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ถึง 3 ครั้ง ทำให้ไม่ครบองค์ประชุม และยังนำเหตุผลดังกล่าวมาฟ้องศาลปกครองอีกด้วย ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการจงใจไม่มาประชุมเพื่อเอาเป็นเหตุอ้างอย่างหวังผล สำหรับนำไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดใหม่ติดขัด และเป็นเจตนาไม่บริสุทธิ์ต่อคณะกรรมการชุดใหม่ในปัจจุบัน โดยไม่ใส่ใจต่อประชาชนผู้ที่ตนอ้างว่าเป็นตัวแทนเลยแม้แต่น้อยว่าจะได้รับผลเสียเดือดร้อนอย่างไรจากการกระทำของตน
“การกระทำเช่นนี้เข้าข่ายบกพร่องต่อหน้าที่อย่างจงใจหรือหย่อนความสามารถอย่างมากตามมาตรา 16(6) ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่งกรรมการได้ สมาพันธ์แพทย์ฯ จึงขอเสนอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีดำเนินการพิจารณาไต่สวนและมีคำสั่งเสนอปลด กรรมการทั้ง 5 ท่านนี้ และให้ดำเนินการสรรหาตัวแทนองค์กรเอกชน ที่มีคุณสมบัติจริง และมีคุณธรรมสูงกว่านี้มาทำหน้าที่แทนเพื่อประโยชน์สุขที่แท้จริงของประชาชน ไม่ควรปล่อยให้ผู้แสวงประโยชน์และอำนาจเพื่อตนและพวกพ้อง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ประชาชนทำหน้าที่นี้ต่อไปอีก เพราะอาจเกิดเหตุอื่นๆ จากบุคคลกลุ่มนี้ได้อีกในวันหน้า” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 ขอเรียกร้องให้เก็บเงิน 30 บาท อีกครั้ง เนื่องจากการยกเลิกการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ป่วยบัตรทอง ทำให้เกิดผลเสีย คือ ผู้ป่วยเข้ารับบริการล้นทะลักทุกโรงพยาบาล จากผู้ป่วยนอกประมาณ 100 ล้านครั้ง ในปี 2548 ไปเป็นประมาณ 150 ล้านครั้งต่อปี ขณะที่ ปี 2553 ซึ่งเพิ่มภาระอย่างมากต่อโรงพยาบาล (รพ.) ทุกแห่ง เพราะเจ้าหน้าที่มีเท่าเดิม และทำให้คิวรอตรวจและรักษาของผู้ที่ป่วยหนักยาวขึ้น ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการเก็บอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ อาทิ ประชาชนจะยั้งคิดในการใช้สิทธิ์ที่เกินจำเป็น ทำให้จำนวนผู้ป่วยลดลง ทำให้คิวรอตรวจรักษาสั้นลง ผู้ป่วยหนักจะได้รับบริการเร็วขึ้น และมีเวลาดูแลมากขึ้น ละเอียดขึ้น มีคุณภาพการรักษามากขึ้นกว่าเดิม โรงพยาบาลมีเงินมากขึ้น สามารถนำไปซื้อยาและอุปกรณ์การแพทย์มาใช้รักษาผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น แพทย์และพยาบาลจะมีเวลารักษาผู้ป่วยแต่ละคนมากกว่าเดิม ลดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดในการรักษา เป็นต้น
และประเด็นที่ 3 คือ ขอให้ขยายเพดานเงินชดเชย หรือเยียวยาค่าเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขตาม มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้มากกว่าเดิม จากเพดานเดิมที่เคยใช้ในอดีตเพียง 5 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม เช่น อาจขยายวงเงินเป็น 1 ล้านบาท หรือ 2 ล้านบาท ตามกรณีที่จำเป็น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการดำเนินการออกกฎหมายใหม่ อีกทั้งลดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ด้วย