กรมควบคุมโรค จับมือ JICA - TICA ร่วมอบรมหลักสตูรป้องกันควบคุมมาลาเรียแก่ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา หลังพบเสียชีวิตทั่วโลก 1 ล้านคน
วันนี้ (23 ม.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในการเปิดการอบรมหลักสูตรด้านการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย หรือ( International Course on Malaria Prevention and Control ) ให้กับบุคลากรในด้านการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรียของประเทศในภูมิภาคแอฟริกา โดยในปี 2555 มีผู้เข้าร่วมอบรมนวน 18 คน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ, โกตดิวัวร์, กินี, เคนยา, โมซัมบิก, เซเนกัลและไทย ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้งหมด จะดำเนินการอบรมระหว่างวันที่ 23 ม.ค.-17 ก.พ. 2555 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์
โดย นพ.พรเทพ กล่าวว่า การอบรมดังกล่าว ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Japan International Cooperation Agency : JICA) และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency : TICA) ซึ่ง ตามหลักสูตร ประกอบด้วย 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยที่ 1 ทักษะพื้นฐานในการทำงาน ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การคิดแบบพินิจพิเคราะห์และ การแก้ปัญหา หน่วยที่ 2 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการควบคุมมาลาเรีย ได้แก่ ระบาดวิทยาและสถิติสำหรับการควบคุมมาลาเรีย, ระบาด วิทยามาลาเรีย(วงจรชีวิตมาลาเรีย,พาหะนำโรคมาลาเรีย) หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินผลการดำเนินการควบคุม มาลาเรีย และหน่วยที่ 4 การฝึกปฏิบัติภาคสนาม
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลก พบว่าในแต่ละปีจำนวนประชากรที่ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกมีประมาณ 300 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ จำนวนเกือบ 9 แสนคน หรือ ร้อยละ 90 เกิดขึ้นในแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก(WHO) จัดให้ “โรคมาลาเรีย”เป็น 1 ใน 4 โรคที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือจาก เอดส์ ไข้เลือดออกและวัณโรค ส่วนสถานการณ์โรคมาลาเรีย ปี 2554 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยทั้งหมด 29,025 ราย โดยแยกเป็นผู้ป่วยคนไทย จำนวน 11,013 ราย ผู้ป่วยชาวต่างชาติ จำนวน 18,012 ราย แยกเป็นรายจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับ จ.ตาก ผู้ป่วยไทย 2,676 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 9,484 ราย กาญจนบุรี ผู้ป่วยไทย 1,250 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 1,733 ราย จ.ศรีสะเกษ ผู้ป่วยไทย 816 ราย แม่ฮ่องสอน ผู้ป่วยไทย 811 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 524 ราย และ ยะลา ผู้ป่วยไทย 714 ราย ตามลำดับ
"สาเหตุที่ปัญหามาลาเรียส่วนมากเกิดขึ้น ตามชายแดน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขาและมียุงก้อนปล่องอันเป็นพาหะของมาลาเรียอย่างมาก และในฐานะที่ไทยมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหามาลาเรียได้ จึงนับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ถ่ยทอดสู่ต่างประเทศ" นพ.พรเทพ กล่าว
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับประชาชน ทั่วไปขอให้วางใจกับการมาตรการการควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรีย ด้วยเนื่องจากไทย มีทั้งมาตรการตรวจคัดกรองและกาให้การรักษาที่ดีอยู่แล้ว แค่เพียงป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากยุงก้นปล่อง และสวมเสื้อผ้ามิดชิดหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็พอแล้ว
วันนี้ (23 ม.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในการเปิดการอบรมหลักสูตรด้านการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย หรือ( International Course on Malaria Prevention and Control ) ให้กับบุคลากรในด้านการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรียของประเทศในภูมิภาคแอฟริกา โดยในปี 2555 มีผู้เข้าร่วมอบรมนวน 18 คน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ, โกตดิวัวร์, กินี, เคนยา, โมซัมบิก, เซเนกัลและไทย ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้งหมด จะดำเนินการอบรมระหว่างวันที่ 23 ม.ค.-17 ก.พ. 2555 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์
โดย นพ.พรเทพ กล่าวว่า การอบรมดังกล่าว ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Japan International Cooperation Agency : JICA) และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency : TICA) ซึ่ง ตามหลักสูตร ประกอบด้วย 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยที่ 1 ทักษะพื้นฐานในการทำงาน ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การคิดแบบพินิจพิเคราะห์และ การแก้ปัญหา หน่วยที่ 2 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการควบคุมมาลาเรีย ได้แก่ ระบาดวิทยาและสถิติสำหรับการควบคุมมาลาเรีย, ระบาด วิทยามาลาเรีย(วงจรชีวิตมาลาเรีย,พาหะนำโรคมาลาเรีย) หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินผลการดำเนินการควบคุม มาลาเรีย และหน่วยที่ 4 การฝึกปฏิบัติภาคสนาม
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลก พบว่าในแต่ละปีจำนวนประชากรที่ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกมีประมาณ 300 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ จำนวนเกือบ 9 แสนคน หรือ ร้อยละ 90 เกิดขึ้นในแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก(WHO) จัดให้ “โรคมาลาเรีย”เป็น 1 ใน 4 โรคที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือจาก เอดส์ ไข้เลือดออกและวัณโรค ส่วนสถานการณ์โรคมาลาเรีย ปี 2554 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยทั้งหมด 29,025 ราย โดยแยกเป็นผู้ป่วยคนไทย จำนวน 11,013 ราย ผู้ป่วยชาวต่างชาติ จำนวน 18,012 ราย แยกเป็นรายจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับ จ.ตาก ผู้ป่วยไทย 2,676 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 9,484 ราย กาญจนบุรี ผู้ป่วยไทย 1,250 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 1,733 ราย จ.ศรีสะเกษ ผู้ป่วยไทย 816 ราย แม่ฮ่องสอน ผู้ป่วยไทย 811 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 524 ราย และ ยะลา ผู้ป่วยไทย 714 ราย ตามลำดับ
"สาเหตุที่ปัญหามาลาเรียส่วนมากเกิดขึ้น ตามชายแดน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขาและมียุงก้อนปล่องอันเป็นพาหะของมาลาเรียอย่างมาก และในฐานะที่ไทยมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหามาลาเรียได้ จึงนับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ถ่ยทอดสู่ต่างประเทศ" นพ.พรเทพ กล่าว
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับประชาชน ทั่วไปขอให้วางใจกับการมาตรการการควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรีย ด้วยเนื่องจากไทย มีทั้งมาตรการตรวจคัดกรองและกาให้การรักษาที่ดีอยู่แล้ว แค่เพียงป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากยุงก้นปล่อง และสวมเสื้อผ้ามิดชิดหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็พอแล้ว