วธ.มึน แนวโน้มเยาวชนไทย ไม่เชื่อบาปบุญคุณโทษมากถึงร้อยละ 40 ขณะที่เด็กเข้าวัด สวดมนต์พุ่ง
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปี 2555 วธ.มอบให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ สำรวจสภาวการณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งภาวะเสี่ยงและภาวะที่ดีเพื่อนำมาประมวลในการทำงานวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสังคม โดยเฉพาะเยาวชนมีเรื่องที่น่าจับตามองหลายเรื่อง คือ แนวโน้มเด็กกับสื่อในโลกออนไลน์ จากข้อมูลของโครงการ Child Watch เมื่อปี 2550 เป็นต้นมา พบว่า มีแนวโน้มเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตประจำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 23 ในปี 2550 มาเป็นร้อยละ 31 ในปี 2552 และน่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35-40 ในปี 2555
นายสมชาย แสดงความเห็นว่า เครือข่ายทางสังคมในโลกออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ก ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วปี 2550 มีผู้ใช้เพียง 1.9 ล้านคน ในปี 2552 มาเป็น 6.7 ล้านคน ในปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 10 ล้านคน ในปี 2554 โดยคาดว่า ยอดผู้ใช้อาจทะลุ 15 ล้านคน ในปี 2555 นี้ และถือเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปีเป็นกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใหญ่ที่สุด หรือ ร้อยละ 40 ของผู้ใช้ทั้งหมด และเครือข่ายนี้สร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ เครือข่ายจิตอาสาของเยาวชนในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยในรอบ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมการจัดการเครือข่ายทางสังคมในโลกออนไลน์เช่นนี้ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมทางเลือกของเด็กและเยาวชนที่มีทรัพยากรสนับสนุนมากขึ้น ก็อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะและวัฒนธรรมพลเมืองให้กับแก่คนรุ่นใหม่ได้อย่างยั่งยืน
ปลัด วธ.กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพครอบครัวที่อ่อนแอลง สังคมไทยมีเด็กกำพร้าเทียม แม้ว่าเด็กยังอยู่กับพ่อแม่แต่มีเวลาให้กันน้อยมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัดตัว แนวโน้มครอบครัวแตกแยกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา จากสถิติการสมรสต่อการหย่าร้างประมาณ 10 ต่อ 1 ในปี 2542 กลายมาเป็นประมาณ 3 ต่อ 1 ในปัจจุบัน และจากแนวโน้มที่กล่าวมาจึงจะต้องเร่งส่งเสริมวัฒนธรรมครอบครัวให้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของชาติให้จนได้
ส่วนแนวโน้มเรื่องศาสนากับเยาวชน จากข้อมูลการสำรวจ พบว่า มีเด็กประกอบกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น เช่น การเข้าวัดทำบุญ หรือการสวดมนต์ไหว้พระ แต่พบว่าเด็กร้อยละ 40 เริ่มไม่เชื่อในกฎแห่งกรรมและบาปบุญคุณโทษ สะท้อนให้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่เริ่มขาดหลักใจและศรัทธาในการทำความดี ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทบทวนยุทธศาสตร์การเข้าถึงเด็กและเยาวชนของสถาบันศาสนาอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการเปิดรับทางเลือกใหม่ๆ ให้แก่เด็กเยาวชนในการเข้าถึงหลักศาสนาที่ถูกต้องไปด้วย
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ปี 2555 วธ.มอบให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ สำรวจสภาวการณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งภาวะเสี่ยงและภาวะที่ดีเพื่อนำมาประมวลในการทำงานวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสังคม โดยเฉพาะเยาวชนมีเรื่องที่น่าจับตามองหลายเรื่อง คือ แนวโน้มเด็กกับสื่อในโลกออนไลน์ จากข้อมูลของโครงการ Child Watch เมื่อปี 2550 เป็นต้นมา พบว่า มีแนวโน้มเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตประจำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 23 ในปี 2550 มาเป็นร้อยละ 31 ในปี 2552 และน่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35-40 ในปี 2555
นายสมชาย แสดงความเห็นว่า เครือข่ายทางสังคมในโลกออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ก ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วปี 2550 มีผู้ใช้เพียง 1.9 ล้านคน ในปี 2552 มาเป็น 6.7 ล้านคน ในปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 10 ล้านคน ในปี 2554 โดยคาดว่า ยอดผู้ใช้อาจทะลุ 15 ล้านคน ในปี 2555 นี้ และถือเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปีเป็นกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใหญ่ที่สุด หรือ ร้อยละ 40 ของผู้ใช้ทั้งหมด และเครือข่ายนี้สร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ เครือข่ายจิตอาสาของเยาวชนในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยในรอบ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมการจัดการเครือข่ายทางสังคมในโลกออนไลน์เช่นนี้ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมทางเลือกของเด็กและเยาวชนที่มีทรัพยากรสนับสนุนมากขึ้น ก็อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะและวัฒนธรรมพลเมืองให้กับแก่คนรุ่นใหม่ได้อย่างยั่งยืน
ปลัด วธ.กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพครอบครัวที่อ่อนแอลง สังคมไทยมีเด็กกำพร้าเทียม แม้ว่าเด็กยังอยู่กับพ่อแม่แต่มีเวลาให้กันน้อยมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัดตัว แนวโน้มครอบครัวแตกแยกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา จากสถิติการสมรสต่อการหย่าร้างประมาณ 10 ต่อ 1 ในปี 2542 กลายมาเป็นประมาณ 3 ต่อ 1 ในปัจจุบัน และจากแนวโน้มที่กล่าวมาจึงจะต้องเร่งส่งเสริมวัฒนธรรมครอบครัวให้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของชาติให้จนได้
ส่วนแนวโน้มเรื่องศาสนากับเยาวชน จากข้อมูลการสำรวจ พบว่า มีเด็กประกอบกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น เช่น การเข้าวัดทำบุญ หรือการสวดมนต์ไหว้พระ แต่พบว่าเด็กร้อยละ 40 เริ่มไม่เชื่อในกฎแห่งกรรมและบาปบุญคุณโทษ สะท้อนให้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่เริ่มขาดหลักใจและศรัทธาในการทำความดี ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทบทวนยุทธศาสตร์การเข้าถึงเด็กและเยาวชนของสถาบันศาสนาอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการเปิดรับทางเลือกใหม่ๆ ให้แก่เด็กเยาวชนในการเข้าถึงหลักศาสนาที่ถูกต้องไปด้วย