เครือข่ายแพทย์ชนบทเคลื่อนไหวจับตาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช.ชุดใหม่ เผย มีผู้แทนแพทย์เอกชนยกขบวนยึดครอง หวั่นชงเสนอบอร์ดเก็บ 30 บาท
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่าเครือข่ายแพทย์ที่ทำงานอยู่ใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศ ได้เห็นร่างรายชื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช.ชุดใหม่ ซึ่งมี นางวรานุช หงส์ประภาส ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สธ.แต่งตั้งและจะเสนอบอร์ด สปสช.เห็นชอบในวันที่ 9 ม.ค.2555 นี้ ว่า ดูรายชื่อแล้วน่าเป็นห่วง เพราะนอกจากมี นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ กรรมการแพทย์ประกันสังคมเป็นรองประธานแล้ว ยังดึงกลุ่มแพทย์เอกชนและนายทุนพรรค เช่น นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นพ.พินิจ หิรัญโชติ และ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ร่วมเป็นอนุกรรมการและที่ปรึกษา เป็นการเปิดทางให้ รพ.เอกชนและนายทุนเข้ามากำหนดนโยบายกองทุน สปสช.และเตรียมเสนอเก็บเงิน 30 บาทกับผู้ป่วย รวมทั้งผลักดันเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายตามระบบ DRG ให้สูงเท่าเทียมกับระบบประกันสังคมซึ่งกำลังถูกสังคมมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ รพ.เอกชน
“การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในสปสช.โดยเปิดช่องให้เอกชนและนายทุนของพรรคเข้ามายึดครองกำหนดนโยบายการเงินการคลังของระบบบัตรทองครั้งนี้ จะทำให้ระบบ สปสช.อ่อนแอลง และต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากขึ้นมหาศาล เป็นภาระกับงบประมาณของประเทศ จนทำให้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติถึงกับล่มสลายกลายเป็นระบบสงเคราะห์คนจนอนาถาเหมือนในอดีต” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่าเครือข่ายแพทย์ที่ทำงานอยู่ใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศ ได้เห็นร่างรายชื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช.ชุดใหม่ ซึ่งมี นางวรานุช หงส์ประภาส ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สธ.แต่งตั้งและจะเสนอบอร์ด สปสช.เห็นชอบในวันที่ 9 ม.ค.2555 นี้ ว่า ดูรายชื่อแล้วน่าเป็นห่วง เพราะนอกจากมี นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ กรรมการแพทย์ประกันสังคมเป็นรองประธานแล้ว ยังดึงกลุ่มแพทย์เอกชนและนายทุนพรรค เช่น นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นพ.พินิจ หิรัญโชติ และ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ร่วมเป็นอนุกรรมการและที่ปรึกษา เป็นการเปิดทางให้ รพ.เอกชนและนายทุนเข้ามากำหนดนโยบายกองทุน สปสช.และเตรียมเสนอเก็บเงิน 30 บาทกับผู้ป่วย รวมทั้งผลักดันเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายตามระบบ DRG ให้สูงเท่าเทียมกับระบบประกันสังคมซึ่งกำลังถูกสังคมมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ รพ.เอกชน
“การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในสปสช.โดยเปิดช่องให้เอกชนและนายทุนของพรรคเข้ามายึดครองกำหนดนโยบายการเงินการคลังของระบบบัตรทองครั้งนี้ จะทำให้ระบบ สปสช.อ่อนแอลง และต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากขึ้นมหาศาล เป็นภาระกับงบประมาณของประเทศ จนทำให้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติถึงกับล่มสลายกลายเป็นระบบสงเคราะห์คนจนอนาถาเหมือนในอดีต” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว