กรมอนามัย เตือน กินอาหารปิ้งย่างถี่ ระวังมะเร็งคุกคาม แนะหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทานสลับมื้อ
วันนี้ (20 ธ.ค.) นายแพทย์ (นพ.) สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องจากช่วงอากาศหนาวนั้น คนไทยนิยมบริโภคอาหารปิ้ง ย่าง ทั้งมันเผา เผือกปิ้ง หรือเผา กันอย่างแพร่หลาย เพื่อคลายหนาวนั้น อาจเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางสุขภาพอย่างมาก ซึ่งการบริภาคอาหารประเภทดังกล่าว เสี่ยงต่อการรับสารก่อมะเร็งอย่างมาก โดยเฉพาะสารพีเอเอช หรือ สารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH : Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งพบในเขม่าควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ น้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมัน และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ ดังนั้น จึงพบสารชนิดนี้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง อาหารทอดกรอบ อาหารรมควัน นอกจากนี้ ยังพบสาร PAH คล้ายคลึงกับการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ บุหรี่ ซึงเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะอยู่ในเซลล์ หากสะสมมากๆก็จะก่อเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ
“สารดังกล่าวจะก่อเกิดเป็นควันที่มีสารพีเอเอชลอยขึ้นมาเกาะที่ผิวอาหาร โดยสารนี้จะมีมากในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่าง ดังนั้น ก่อนปิ้งย่างควรตัดส่วนที่เป็นมันออกไปก่อน เพื่อลดไขมันที่จะไปหยด ลงบนถ่าน ถ้าต้องปิ้งย่างบนเตาถ่านธรรมดา ควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน ไม่ควรใช้ถ่านป่นละเอียด หรืออาจใช้ฟืน ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ที่สำคัญ ควรใช้ใบตองห่ออาหารก่อนจะทำการปิ้งย่าง เพื่อเป็นการลดปริมาณไขมันจากอาหารที่หยดลงไปบนถ่าน ซึ่งจะทำให้อาหารมีกลิ่นหอมใบตอง และหลังปิ้งย่างควรหั่นส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้มากที่สุด” นพ.สมยศ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ในอาหารประเภทเนื้อย่างยังมีสารก่อมะเร็งอีกอย่างที่เรียกว่า เอชซีเอ ปรุงเฮเทอโรไซคลิก เอมีนส์ ( HCA :Heterocyclic amines ) เช่น หมูปิ้ง ฯลฯ จะมีสารเอชซีเอ เพิ่มขึ้นถ้าเป็นเนื้อติดมัน เนื่องจากน้ำมันจะหยดลงบนถ่าน เกิดเปลวไฟลุกขึ้นมาใกล้ชิ้นเนื้อ และเกิดควันเพิ่มขึ้น ยิ่งปิ้งนานจะยิ่งมีดังกล่าวมาก จึงอยากให้ทานแต่พอประมาณ อย่าบริโภคถี่เกินไป แต่หากยังมีความต้องการอาหารประเภทปิ้งยาง แนะนำให้ทานสลับมื้อกับผัก ผลไม้ และที่สำคัญควรทานให้ครบ 5 หมู่ จะดีกว่า พร้อมทั้งควรมีการออกกำลังกายเพื่อให้มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงทนต่ออากาศหนาวได้ด้วย
วันนี้ (20 ธ.ค.) นายแพทย์ (นพ.) สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องจากช่วงอากาศหนาวนั้น คนไทยนิยมบริโภคอาหารปิ้ง ย่าง ทั้งมันเผา เผือกปิ้ง หรือเผา กันอย่างแพร่หลาย เพื่อคลายหนาวนั้น อาจเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางสุขภาพอย่างมาก ซึ่งการบริภาคอาหารประเภทดังกล่าว เสี่ยงต่อการรับสารก่อมะเร็งอย่างมาก โดยเฉพาะสารพีเอเอช หรือ สารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH : Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งพบในเขม่าควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ น้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมัน และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ ดังนั้น จึงพบสารชนิดนี้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง อาหารทอดกรอบ อาหารรมควัน นอกจากนี้ ยังพบสาร PAH คล้ายคลึงกับการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ บุหรี่ ซึงเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะอยู่ในเซลล์ หากสะสมมากๆก็จะก่อเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ
“สารดังกล่าวจะก่อเกิดเป็นควันที่มีสารพีเอเอชลอยขึ้นมาเกาะที่ผิวอาหาร โดยสารนี้จะมีมากในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่าง ดังนั้น ก่อนปิ้งย่างควรตัดส่วนที่เป็นมันออกไปก่อน เพื่อลดไขมันที่จะไปหยด ลงบนถ่าน ถ้าต้องปิ้งย่างบนเตาถ่านธรรมดา ควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน ไม่ควรใช้ถ่านป่นละเอียด หรืออาจใช้ฟืน ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ที่สำคัญ ควรใช้ใบตองห่ออาหารก่อนจะทำการปิ้งย่าง เพื่อเป็นการลดปริมาณไขมันจากอาหารที่หยดลงไปบนถ่าน ซึ่งจะทำให้อาหารมีกลิ่นหอมใบตอง และหลังปิ้งย่างควรหั่นส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้มากที่สุด” นพ.สมยศ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ในอาหารประเภทเนื้อย่างยังมีสารก่อมะเร็งอีกอย่างที่เรียกว่า เอชซีเอ ปรุงเฮเทอโรไซคลิก เอมีนส์ ( HCA :Heterocyclic amines ) เช่น หมูปิ้ง ฯลฯ จะมีสารเอชซีเอ เพิ่มขึ้นถ้าเป็นเนื้อติดมัน เนื่องจากน้ำมันจะหยดลงบนถ่าน เกิดเปลวไฟลุกขึ้นมาใกล้ชิ้นเนื้อ และเกิดควันเพิ่มขึ้น ยิ่งปิ้งนานจะยิ่งมีดังกล่าวมาก จึงอยากให้ทานแต่พอประมาณ อย่าบริโภคถี่เกินไป แต่หากยังมีความต้องการอาหารประเภทปิ้งยาง แนะนำให้ทานสลับมื้อกับผัก ผลไม้ และที่สำคัญควรทานให้ครบ 5 หมู่ จะดีกว่า พร้อมทั้งควรมีการออกกำลังกายเพื่อให้มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงทนต่ออากาศหนาวได้ด้วย