“สมบัติ” ยอมทุกอย่าง พร้อมปรับโครงการครูพันธุ์ใหม่ เห็นด้วยสร้างครูคลังสมอง แต่ถ้าเป็นได้แค่ครูพิเศษ ก็ไม่ควร หวั่นไม่มีจิตวัิญญาณครู ด้าน “สมพงษ์” แนะทางออกบูรณาการ 2 โครงการ เกิดประโยชน์สูงสุดกับการศึกษาของประเทศ
วานนี้ (15 ธ.ค.) นายสมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่า จะพิจารณาเฉพาะโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลก่อน โดยจะผลิตครูคลังสมอง ส่วนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นั้น จะต้องหารือรายละเอียดก่อนถึงจะตัดสินใจจะดำเนินการหรือไม่นั้น ว่า ตนจะหารือร่วมกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างไรต่อไป
อย่างไรก็ตาม อาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการคนเก่ง คนดี มีความสามารถ มาเป็นครู ขณะเดียวกัน จะต้องผ่านการฝึกฝนและกล่อมเกลาจิตใจ เพื่อให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู ไม่ใช่เหมือนบางอาชีพที่แค่มีคุณสมบัติ เบื้องต้นก็สามารถจะมาทำงานได้ และโครงผลิตครูพันธุ์ใหม่ถือเป็นโครงการที่ผลิตครูคุณภาพ ดังนั้น การยกเลิกโครงการนี้เท่ากับไม่รู้ความหมายจริงๆ ว่า หัวใจของการศึกษาจริงๆ คืออะไร และจะกระทบกับคุณการศึกษาระยะยาว
“การผลิตครูคลังสมองนั้น ตนไม่แน่ใจว่า ความหมายของนายวรวัจน์ ตั้งใจจะให้เป็นครูพิเศษหรือให้มาเป็นครูประจำการ หากให้มาเป็นครูพิเศษโดยนำประสบการณ์ความรู้มาสอนเด็ก ตนเห็นด้วย แต่ถ้าให้เป็นครูประจำการตนไม่เห็นด้วย เพราะอาชีพครูถือเป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้น จึงไม่ใช่ใครก็ได้มาเป็นครู”
นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากนายวรวัจน์ ต้องการให้ตนเข้าไปชี้แจงรายละเอียดโครงการตนก็ยินดี และหากจะให้มีการปรับโครงการก็ไม่ขัดข้องไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อโครงการ หรือแม้แต่กระบวนการคัดเลือก เพื่อให้ได้คนเก่งคนดีมาเป็นครู โดยการดำเนินการที่ผ่านมาเห็นชัดเจนแล้วว่ามีนักเรียนสนใจมาเป็นครูเพิ่มขึ้น เพราะให้ทุนและประกันการมีงานทำ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องงบประมาณก็ขอให้ประกันการมีงานทำ และคงอัตราการบรรจุครูไว้”
ด้าน นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยเรื่องการผลิตครูคลังสมอง เพราะถือเป็นแนวทางที่ดีในการแก้ปัญหาขาดแคลนครูเก่ง รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 แต่ในทางกลับกันตนอยากให้ นายวรวัจน์ ต้องมองแบบเปิดใจด้วยว่า หากไม่ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งนี้แล้ว ผู้ที่มาใหม่ก็อาจมารื้อโครงการนี้เช่นกัน ดังนั้น ตนจึงอยากให้การตัดสินใจดำเนินโครงการใดๆ เป็นไปด้วยความรอบคอบ
“ส่วนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ถือเป็นโครงการที่ดี หากเดินหน้าต่อก็จะมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคต โดยตนเห็นว่าควรจะนำแนวทางการดำเนินงานทั้งสองโครงการมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการศึกษาของประเทศ” นายสมพงษ์ กล่าว
วานนี้ (15 ธ.ค.) นายสมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่า จะพิจารณาเฉพาะโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลก่อน โดยจะผลิตครูคลังสมอง ส่วนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นั้น จะต้องหารือรายละเอียดก่อนถึงจะตัดสินใจจะดำเนินการหรือไม่นั้น ว่า ตนจะหารือร่วมกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างไรต่อไป
อย่างไรก็ตาม อาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการคนเก่ง คนดี มีความสามารถ มาเป็นครู ขณะเดียวกัน จะต้องผ่านการฝึกฝนและกล่อมเกลาจิตใจ เพื่อให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู ไม่ใช่เหมือนบางอาชีพที่แค่มีคุณสมบัติ เบื้องต้นก็สามารถจะมาทำงานได้ และโครงผลิตครูพันธุ์ใหม่ถือเป็นโครงการที่ผลิตครูคุณภาพ ดังนั้น การยกเลิกโครงการนี้เท่ากับไม่รู้ความหมายจริงๆ ว่า หัวใจของการศึกษาจริงๆ คืออะไร และจะกระทบกับคุณการศึกษาระยะยาว
“การผลิตครูคลังสมองนั้น ตนไม่แน่ใจว่า ความหมายของนายวรวัจน์ ตั้งใจจะให้เป็นครูพิเศษหรือให้มาเป็นครูประจำการ หากให้มาเป็นครูพิเศษโดยนำประสบการณ์ความรู้มาสอนเด็ก ตนเห็นด้วย แต่ถ้าให้เป็นครูประจำการตนไม่เห็นด้วย เพราะอาชีพครูถือเป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้น จึงไม่ใช่ใครก็ได้มาเป็นครู”
นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากนายวรวัจน์ ต้องการให้ตนเข้าไปชี้แจงรายละเอียดโครงการตนก็ยินดี และหากจะให้มีการปรับโครงการก็ไม่ขัดข้องไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อโครงการ หรือแม้แต่กระบวนการคัดเลือก เพื่อให้ได้คนเก่งคนดีมาเป็นครู โดยการดำเนินการที่ผ่านมาเห็นชัดเจนแล้วว่ามีนักเรียนสนใจมาเป็นครูเพิ่มขึ้น เพราะให้ทุนและประกันการมีงานทำ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องงบประมาณก็ขอให้ประกันการมีงานทำ และคงอัตราการบรรจุครูไว้”
ด้าน นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยเรื่องการผลิตครูคลังสมอง เพราะถือเป็นแนวทางที่ดีในการแก้ปัญหาขาดแคลนครูเก่ง รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 แต่ในทางกลับกันตนอยากให้ นายวรวัจน์ ต้องมองแบบเปิดใจด้วยว่า หากไม่ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งนี้แล้ว ผู้ที่มาใหม่ก็อาจมารื้อโครงการนี้เช่นกัน ดังนั้น ตนจึงอยากให้การตัดสินใจดำเนินโครงการใดๆ เป็นไปด้วยความรอบคอบ
“ส่วนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ถือเป็นโครงการที่ดี หากเดินหน้าต่อก็จะมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคต โดยตนเห็นว่าควรจะนำแนวทางการดำเนินงานทั้งสองโครงการมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการศึกษาของประเทศ” นายสมพงษ์ กล่าว