ศธ.ทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาภาคใต้ มุ่งส่งเสริมการมีงานทำ และเรียนรู้ภาษาอาหรับ คาดเสร็จภายใน 2 สัปดาห์จากนั้นจะนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมา การจัดการศึกษาชายแดนใต้ยังมีปัญหาเรื่องของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ภาษาไทยที่ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ดังนั้น ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 2555 ของ ศธ.ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำและให้ความสำคัญกับพื้นที่ด้วย
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ภาคใต้มีบริบทที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ทั้งสภาพพื้นที่ ภาษา และวัฒนธรรม เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาคใต้ นอกจากจะต้องเน้นการเรียนรู้ภาษาไทย คุณภาพชีวิต ยังต้องเพิ่มเรื่องการมีงานทำที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของชาวภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้สัมฤทธิ์ผลตามนโยบาย
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศธ.มุ่งเตรียมความพร้อมนักเรียนและสถานศึกษาเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รวมไปถึงประชาคมโลก ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้นั้นจะได้เปรียบกว่าพื้นที่อื่น ๆ เพราะอยู่ใกล้และมีความผูกพันกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก ดังนั้นนอกจากส่งเสริมเรียนรู้ภาษาไทยแล้วต่อไปจะเน้นเรื่องการเรียนรู้ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศทางเลือกใหม่ อย่างประเทศตะวันออกกลาง โดยขณะนี้ แม้แต่ในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ศธ.ยังกำหนดให้มีประเทศแถบตะวันออกกลางให้เลือกไปเรียนด้วย ซึ่งนักศึกษาจากภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการก็สามารถเลือกไปเรียนได้
“การจัดการเรียนการสอนใน จ.ชายแดนภาคใต้จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของ ศธ.รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ซึ่งศธ.จะไปตั้งศูนย์ฝึกอาชีพในจ.ชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ศธ.จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการปรับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งในวันนี้ก็ได้เชิญผู้นำท้องถิ่นจากจ.ชายแดนภาคใต้มาร่วมหารือด้วย และหลังจากนั้นจะนำแผนฯเสนอในที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักก่อนนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณา และในเดือนมกราคม 2555 รัฐมนตรีว่าการ ศธ. จะเดินทางไปเปิดงานด้านการศึกษาที่ จ.ยะลา ในเรื่อง การจัดการเรียนการสอนภาคใต้ เพื่อเตรียมตัวก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ทุนในโครงการ 1 ทุน 1 อ.และชี้แจงให้ชาวภาคใต้ได้รับทราบว่าต่อไปนักเรียนในระดับประถมฯของพื้นที่ภาคใต้ก็จะได้รับแท็บเล็ตด้วยเช่นกัน” ปลัด ศธ.กล่าว
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมา การจัดการศึกษาชายแดนใต้ยังมีปัญหาเรื่องของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ภาษาไทยที่ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ดังนั้น ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 2555 ของ ศธ.ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำและให้ความสำคัญกับพื้นที่ด้วย
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ภาคใต้มีบริบทที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ทั้งสภาพพื้นที่ ภาษา และวัฒนธรรม เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาคใต้ นอกจากจะต้องเน้นการเรียนรู้ภาษาไทย คุณภาพชีวิต ยังต้องเพิ่มเรื่องการมีงานทำที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของชาวภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้สัมฤทธิ์ผลตามนโยบาย
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศธ.มุ่งเตรียมความพร้อมนักเรียนและสถานศึกษาเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รวมไปถึงประชาคมโลก ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้นั้นจะได้เปรียบกว่าพื้นที่อื่น ๆ เพราะอยู่ใกล้และมีความผูกพันกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก ดังนั้นนอกจากส่งเสริมเรียนรู้ภาษาไทยแล้วต่อไปจะเน้นเรื่องการเรียนรู้ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศทางเลือกใหม่ อย่างประเทศตะวันออกกลาง โดยขณะนี้ แม้แต่ในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ศธ.ยังกำหนดให้มีประเทศแถบตะวันออกกลางให้เลือกไปเรียนด้วย ซึ่งนักศึกษาจากภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการก็สามารถเลือกไปเรียนได้
“การจัดการเรียนการสอนใน จ.ชายแดนภาคใต้จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของ ศธ.รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ซึ่งศธ.จะไปตั้งศูนย์ฝึกอาชีพในจ.ชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ศธ.จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการปรับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งในวันนี้ก็ได้เชิญผู้นำท้องถิ่นจากจ.ชายแดนภาคใต้มาร่วมหารือด้วย และหลังจากนั้นจะนำแผนฯเสนอในที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักก่อนนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณา และในเดือนมกราคม 2555 รัฐมนตรีว่าการ ศธ. จะเดินทางไปเปิดงานด้านการศึกษาที่ จ.ยะลา ในเรื่อง การจัดการเรียนการสอนภาคใต้ เพื่อเตรียมตัวก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ทุนในโครงการ 1 ทุน 1 อ.และชี้แจงให้ชาวภาคใต้ได้รับทราบว่าต่อไปนักเรียนในระดับประถมฯของพื้นที่ภาคใต้ก็จะได้รับแท็บเล็ตด้วยเช่นกัน” ปลัด ศธ.กล่าว