อย.เผย ไทยยังใช้มาตรการ COA คุมเข้มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น แจงกรณี “นมเมจิ” ที่เรียกเก็บในท้องตลาดนั้น ไทยไม่ได้นำเข้า วอนผู้บริโภคมั่นใจในมาตรการ
จากกรณีที่มีรายงานข่าวต่างประเทศว่า บริษัท เมจิ ในญี่ปุ่น ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า ได้เรียกเก็บนมผงสำหรับเด็กทารกบรรจุกระป๋อง ซึ่งหมดอายุในเดือน ธ.ค.ปีหน้า กว่า 400,000 กระป๋อง หลังพบว่ามีสารซีเซียมปนเปื้อนอยู่ในนมผงที่ผลิตระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคมจำนวน 30.8 แบคเคอเรล/1 กก.เนื่องจากโรงงานผลิตนมผงสำหรับทารกของเมจิตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่เกิดนิวเคลียร์รั่วไหลจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิประมาณ 320 กม.นั้น
ล่าสุด วันนี้ (7 ธ.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากการตรวจสอบ ประเทศไทยไม่มีการนำเข้านมผงล็อตดังกล่าว ที่สำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยยังคงมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ที่เคยออกมาตรการคุมเข้มตั้งแต่ครั้งที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอาหารที่นำเข้าจาก 12 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ ฟูกูชิมะ, กุนมะ, อิบารากิ, โตชิกิ, มิยากิ, ยามากาตะ, นิอิกาตะ, นากาโนะ, ยามานาชิ, ไชตามะ, โตเกียว และ ชิบะ ที่จะต้องแสดงผลตรวจวิเคราะห์จากห้องแล็บของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น ทีเรียกว่า COA หรือ Certificate of Analysis อย่างไรก็ตาม ได้สั่งให้สำนักอาหารและสำนักด่านอาหารและยาตรวจสอบและคุมเข้มการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น จนกว่าจะปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งไทยยังไม่ได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจได้
ด้าน น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ยืนยันว่านมผงทารกในประเทศไทยไม่มีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แต่นำเข้าจากนิวซีแลนด์ ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
จากกรณีที่มีรายงานข่าวต่างประเทศว่า บริษัท เมจิ ในญี่ปุ่น ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า ได้เรียกเก็บนมผงสำหรับเด็กทารกบรรจุกระป๋อง ซึ่งหมดอายุในเดือน ธ.ค.ปีหน้า กว่า 400,000 กระป๋อง หลังพบว่ามีสารซีเซียมปนเปื้อนอยู่ในนมผงที่ผลิตระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคมจำนวน 30.8 แบคเคอเรล/1 กก.เนื่องจากโรงงานผลิตนมผงสำหรับทารกของเมจิตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่เกิดนิวเคลียร์รั่วไหลจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิประมาณ 320 กม.นั้น
ล่าสุด วันนี้ (7 ธ.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากการตรวจสอบ ประเทศไทยไม่มีการนำเข้านมผงล็อตดังกล่าว ที่สำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยยังคงมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ที่เคยออกมาตรการคุมเข้มตั้งแต่ครั้งที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอาหารที่นำเข้าจาก 12 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ ฟูกูชิมะ, กุนมะ, อิบารากิ, โตชิกิ, มิยากิ, ยามากาตะ, นิอิกาตะ, นากาโนะ, ยามานาชิ, ไชตามะ, โตเกียว และ ชิบะ ที่จะต้องแสดงผลตรวจวิเคราะห์จากห้องแล็บของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น ทีเรียกว่า COA หรือ Certificate of Analysis อย่างไรก็ตาม ได้สั่งให้สำนักอาหารและสำนักด่านอาหารและยาตรวจสอบและคุมเข้มการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น จนกว่าจะปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งไทยยังไม่ได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจได้
ด้าน น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ยืนยันว่านมผงทารกในประเทศไทยไม่มีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แต่นำเข้าจากนิวซีแลนด์ ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา