สธ. สนองพระกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงห่วงผลกระทบสุขภาพจากปัญหาเชื้อราหลังน้ำท่วมบ้าน ให้สถาบันโรคผิวหนังเก็บตัวอย่างตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ เบื้องต้นพบเป็นเชื้อราชนิดที่ไม่ก่อโรค โดยจะเฝ้าระวังต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แนะประชาชนให้ยึดหลักปลอดภัย 3 ประการ ขณะล้างทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการเฝ้ารับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ทรงห่วงใยสุขภาพของประชาชน จากปัญหาเชื้อราที่ขี้นอยู่ในบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมขัง เนื่องจากทุกบ้านประสบทั้งหมด ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีหน่วยงานศึกษาว่าเป็นเชื้อราที่มีอันตราย มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่
นายวิทยา กล่าวว่า นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คนไทยและกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมใส่เกล้า และได้ให้สถาบันโรคผิวหนัง เร่งดำเนินการตรวจสอบชนิดและอันตรายของเชื้อราที่ขึ้นตามบ้านเรือนหลังน้ำท่วมเป็นการด่วน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ และป้องกันดูแลตัวเองอย่างปลอดภัยหลังเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือน ผลการเก็บตัวอย่างเชื้อราหลายแห่งทั้งในอาคารบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม พื้นผนังที่มีคราบเชื้อรา เบื้องต้นพบว่าเป็นเชื้อราชนิดที่ไม่ก่อโรค โดยจะให้สถาบันโรคผิงหนังเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างราตรวจอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ทางด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โดยปกติ เชื้อราสามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป ทั้งในดิน น้ำ อากาศ เมื่อเกิดน้ำท่วมขังในอาคารบ้านเรือนจะเกิดความชื้นสะสมในอาคารและสิ่งแวดล้อม เมื่อมีความชื้นสูงและอากาศร้อนอบอ้าว จะทำเชื้อราเจริญเติบโตได้ดี โดยในโลกมีเชื้อราประมาณ 1 แสนชนิด ส่วนมากเป็นเชื้อราในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อโรค โดยมีประมาณ 100 ชนิดที่สามารถก่อโรคผิวหนัง ในคนที่มีสุขภาพปกติที่พบบ่อย เช่นโรคกลาก เกลื้อน และมีเชื้อราประมาณ 400 ชนิด ที่สามารถก่อโรคได้หากมีปัจจัยเอื้อต่อกัน ได้แก่ ปัจจัยจากคน โดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีความต้านโรคต่ำ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างใช้เคมีบำบัด ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคปอด หรือเกิดในคนที่ผิวหนังเสียรูปจากถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บถูกเสี้ยนตำ หนามตำหรือคนที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ดังนั้น หลังน้ำท่วม อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือเกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อรา จากการสูดสปอร์เชื้อราเข้าไปได้ แต่จากการเฝ้าระวังผู้ป่วย ยังไม่พบผู้ป่วยจากเชื้อราหลังน้ำท่วม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่จะเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือน หลังน้ำลด ขอให้ยึดหลักปฏิบัติ 3 ประการดังนี้ 1.ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ 1-2 วัน เพื่อระบายอากาศและไล่ความอับชื้น และให้แสงแดดส่อง ช่วยจะช่วยฆ่าเชื้อราด้วย 2.ใส่เสื้อผ้าและเครื่องป้องกันตัวอย่างเหมาะสม ใส่รองเท้า ถุงมือยาง หมวกคลุมผม สวมแว่นตาและคาดหน้ากากอนามัย หน้ากากที่ป้องกันการสูดสปอร์เชื้อราที่ดีที่สุดคือชนิดเอ็น 95 แต่หากไม่มีสามารถใช้หน้ากากผ้าที่มีจำหน่ายทั่วไปก็ได้ 3.การขัดล้างขั้นแรก ให้เริ่มล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาขัดล้าง ซึ่งจะมีคลอรีนสามารถฆ่าเชื้อราได้ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดตามอีกและปล่อยให้แห้ง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการเฝ้ารับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ทรงห่วงใยสุขภาพของประชาชน จากปัญหาเชื้อราที่ขี้นอยู่ในบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมขัง เนื่องจากทุกบ้านประสบทั้งหมด ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีหน่วยงานศึกษาว่าเป็นเชื้อราที่มีอันตราย มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่
นายวิทยา กล่าวว่า นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คนไทยและกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมใส่เกล้า และได้ให้สถาบันโรคผิวหนัง เร่งดำเนินการตรวจสอบชนิดและอันตรายของเชื้อราที่ขึ้นตามบ้านเรือนหลังน้ำท่วมเป็นการด่วน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ และป้องกันดูแลตัวเองอย่างปลอดภัยหลังเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือน ผลการเก็บตัวอย่างเชื้อราหลายแห่งทั้งในอาคารบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม พื้นผนังที่มีคราบเชื้อรา เบื้องต้นพบว่าเป็นเชื้อราชนิดที่ไม่ก่อโรค โดยจะให้สถาบันโรคผิงหนังเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างราตรวจอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ทางด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โดยปกติ เชื้อราสามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป ทั้งในดิน น้ำ อากาศ เมื่อเกิดน้ำท่วมขังในอาคารบ้านเรือนจะเกิดความชื้นสะสมในอาคารและสิ่งแวดล้อม เมื่อมีความชื้นสูงและอากาศร้อนอบอ้าว จะทำเชื้อราเจริญเติบโตได้ดี โดยในโลกมีเชื้อราประมาณ 1 แสนชนิด ส่วนมากเป็นเชื้อราในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อโรค โดยมีประมาณ 100 ชนิดที่สามารถก่อโรคผิวหนัง ในคนที่มีสุขภาพปกติที่พบบ่อย เช่นโรคกลาก เกลื้อน และมีเชื้อราประมาณ 400 ชนิด ที่สามารถก่อโรคได้หากมีปัจจัยเอื้อต่อกัน ได้แก่ ปัจจัยจากคน โดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีความต้านโรคต่ำ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างใช้เคมีบำบัด ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคปอด หรือเกิดในคนที่ผิวหนังเสียรูปจากถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บถูกเสี้ยนตำ หนามตำหรือคนที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ดังนั้น หลังน้ำท่วม อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือเกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อรา จากการสูดสปอร์เชื้อราเข้าไปได้ แต่จากการเฝ้าระวังผู้ป่วย ยังไม่พบผู้ป่วยจากเชื้อราหลังน้ำท่วม
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่จะเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือน หลังน้ำลด ขอให้ยึดหลักปฏิบัติ 3 ประการดังนี้ 1.ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ 1-2 วัน เพื่อระบายอากาศและไล่ความอับชื้น และให้แสงแดดส่อง ช่วยจะช่วยฆ่าเชื้อราด้วย 2.ใส่เสื้อผ้าและเครื่องป้องกันตัวอย่างเหมาะสม ใส่รองเท้า ถุงมือยาง หมวกคลุมผม สวมแว่นตาและคาดหน้ากากอนามัย หน้ากากที่ป้องกันการสูดสปอร์เชื้อราที่ดีที่สุดคือชนิดเอ็น 95 แต่หากไม่มีสามารถใช้หน้ากากผ้าที่มีจำหน่ายทั่วไปก็ได้ 3.การขัดล้างขั้นแรก ให้เริ่มล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาขัดล้าง ซึ่งจะมีคลอรีนสามารถฆ่าเชื้อราได้ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดตามอีกและปล่อยให้แห้ง