กรมควบคุมโรค แนะวิธีฟื้นฟูบ้านอย่างปลอดภัย เตือนระวัง เชื้อรา ชี้กลุ่มคนป่วย เด็ก แก่ ไม่ควรเข้าทำความสะอาดบ้าน เสี่ยงติดเชื้อง่าย
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการ ฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลด ว่า ขั้นตอนแรกต้องเตรียมร่างกายไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงทำความสะอาดที่พักอาศัย และเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำความสะอาด เช่น รองเท้าบูต ถุงมือยาง น้ำยาทำความสะอาด ซึ่งรองเท้า ถุงมือ จะช่วยป้องกันไฟฟ้าดูด และเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคเล็ปโตสไปโรซิส หรือ ฉี่หนู ส่วนสิ่งที่ต้องระวัง เช่น ไฟฟ้าดูด, โครงสร้างบ้าน สังเกตว่าเอียงหรือผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจไม่ปลอดภัย, สัตว์มีพิษ, สารเคมี, เชื้อรา ส่วนการทำความสะอาด ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันทั้งรองเท้าบูต ถุงมือยาง แว่นตากันกระเด็น เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ และนอกจากพื้นบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ม่าน ที่นอน หมอน ควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศด้วย เพราะมักพบว่าเชื้อราจะซ่อนอยู่ในนั้น เมื่อเข้าบ้านแนะนำว่า อย่าเพิ่งเปิดแอร์ เพราะอาจสกปรก
นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพนั้น หลังจากสัมผัสกับเชื้อราจะก่อให้เกิดภูมิแพ้ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหอบหืดจะยิ่งรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดความระคายเคืองตา จมูก หลอดลม ปวดแสบปวดร้อน และเกิดผื่นลมพิษได้ โดยส่วนใหญ่เชื้อราจะเข้าไปทางเดินหายใจ หรือ บาดแผลต่างๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งผู้ที่ทำความสะอาดควรพักทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ และไม่ควรให้คนที่มีร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ คนที่ใช้ยากดภูมิ ผู้เป็นโรคเบาหวาน เด็ก หรือ คนชรา เข้าไปทำความสะอาด เพราะจะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ
“นอกจากนี้ ปัญหาที่พบในบ้านหลังน้ำลด พบว่า บ้านที่ถูกน้ำท่วมเกิน 2 วันขึ้นไป มีโอกาสการเกิดเชื้อรา บางส่วนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเชื้อรามักซ่อนอยู่ใต้พื้น ฝ้าเพดาน ท่อน้ำที่รั่วซึม ใต้วอลเปเปอร์ และขึ้นตามเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แม้ไม่ถูกน้ำท่วม จึงต้องทำความสะอาดทั้งหมด” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
โฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า การสำรวจเชื้อราทำได้ 2 วิธี คือ ดูด้วยตา โดยจะเห็นเป็นรอยเปื้อน หรือ มีลักษณะเชื้อรา 2 ดมกลิ่น โดยกลิ่นเชื้อราจะเหม็นอับทึบ หรือ คล้ายกลิ่นดิน หากสงสัย หรือพบเชื้อรา มีวิธีปฏิบัติ คือ แยกประเภท หากสิ่งของชิ้นใดไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดให้ทิ้ง โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุน ทำให้แห้งไม่ได้ กลางเป็นแหล่งเพาะเชื้อราต่อ และควรนำเฟอร์นิเจอร์ที่พอกำจัดเชื้อราได้ มาตากแดดให้แห้งและสำรวจเชื้อราอีกครั้ง หากเป็นผ้าวิธีกำจัดที่ดีที่สุด คือ การต้ม โดยควรรีบทำความสะอาดพื้นและผนัง โดยขัดล้างให้เร็วที่สุด ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด ทั้งนี้ ระหว่างทำความสะอาด ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวกหรือให้แสงแดดส่องถึง ใส่อุปกรณ์ป้องกัน โดยเฉพาะหน้ากากป้องกันสปอร์เชื้อรา และไม่ควรฉีดน้ำแรงๆ ไปที่บริเวณเชื้อรา เพราะจะทำให้สปอร์กระจายตัว ควรทำความสะอาดโดยผสมน้ำยากับน้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ และใช้ทิชชู่แผ่นหนา เช็ดบริเวณที่เป็นเชื้อราและทิ้งในถุงปิดปากสนิม เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจาย ซึ่งควรใช้น้ำยาที่ผลิตขึ้นเพื่อฆ่าเชื้อรา ไม่ให้เชื้อราฝังตัวอยู่
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการ ฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลด ว่า ขั้นตอนแรกต้องเตรียมร่างกายไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงทำความสะอาดที่พักอาศัย และเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำความสะอาด เช่น รองเท้าบูต ถุงมือยาง น้ำยาทำความสะอาด ซึ่งรองเท้า ถุงมือ จะช่วยป้องกันไฟฟ้าดูด และเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคเล็ปโตสไปโรซิส หรือ ฉี่หนู ส่วนสิ่งที่ต้องระวัง เช่น ไฟฟ้าดูด, โครงสร้างบ้าน สังเกตว่าเอียงหรือผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจไม่ปลอดภัย, สัตว์มีพิษ, สารเคมี, เชื้อรา ส่วนการทำความสะอาด ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันทั้งรองเท้าบูต ถุงมือยาง แว่นตากันกระเด็น เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ และนอกจากพื้นบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ม่าน ที่นอน หมอน ควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศด้วย เพราะมักพบว่าเชื้อราจะซ่อนอยู่ในนั้น เมื่อเข้าบ้านแนะนำว่า อย่าเพิ่งเปิดแอร์ เพราะอาจสกปรก
นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพนั้น หลังจากสัมผัสกับเชื้อราจะก่อให้เกิดภูมิแพ้ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหอบหืดจะยิ่งรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดความระคายเคืองตา จมูก หลอดลม ปวดแสบปวดร้อน และเกิดผื่นลมพิษได้ โดยส่วนใหญ่เชื้อราจะเข้าไปทางเดินหายใจ หรือ บาดแผลต่างๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งผู้ที่ทำความสะอาดควรพักทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ และไม่ควรให้คนที่มีร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ คนที่ใช้ยากดภูมิ ผู้เป็นโรคเบาหวาน เด็ก หรือ คนชรา เข้าไปทำความสะอาด เพราะจะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ
“นอกจากนี้ ปัญหาที่พบในบ้านหลังน้ำลด พบว่า บ้านที่ถูกน้ำท่วมเกิน 2 วันขึ้นไป มีโอกาสการเกิดเชื้อรา บางส่วนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเชื้อรามักซ่อนอยู่ใต้พื้น ฝ้าเพดาน ท่อน้ำที่รั่วซึม ใต้วอลเปเปอร์ และขึ้นตามเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แม้ไม่ถูกน้ำท่วม จึงต้องทำความสะอาดทั้งหมด” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
โฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า การสำรวจเชื้อราทำได้ 2 วิธี คือ ดูด้วยตา โดยจะเห็นเป็นรอยเปื้อน หรือ มีลักษณะเชื้อรา 2 ดมกลิ่น โดยกลิ่นเชื้อราจะเหม็นอับทึบ หรือ คล้ายกลิ่นดิน หากสงสัย หรือพบเชื้อรา มีวิธีปฏิบัติ คือ แยกประเภท หากสิ่งของชิ้นใดไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดให้ทิ้ง โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุน ทำให้แห้งไม่ได้ กลางเป็นแหล่งเพาะเชื้อราต่อ และควรนำเฟอร์นิเจอร์ที่พอกำจัดเชื้อราได้ มาตากแดดให้แห้งและสำรวจเชื้อราอีกครั้ง หากเป็นผ้าวิธีกำจัดที่ดีที่สุด คือ การต้ม โดยควรรีบทำความสะอาดพื้นและผนัง โดยขัดล้างให้เร็วที่สุด ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด ทั้งนี้ ระหว่างทำความสะอาด ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวกหรือให้แสงแดดส่องถึง ใส่อุปกรณ์ป้องกัน โดยเฉพาะหน้ากากป้องกันสปอร์เชื้อรา และไม่ควรฉีดน้ำแรงๆ ไปที่บริเวณเชื้อรา เพราะจะทำให้สปอร์กระจายตัว ควรทำความสะอาดโดยผสมน้ำยากับน้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ และใช้ทิชชู่แผ่นหนา เช็ดบริเวณที่เป็นเชื้อราและทิ้งในถุงปิดปากสนิม เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจาย ซึ่งควรใช้น้ำยาที่ผลิตขึ้นเพื่อฆ่าเชื้อรา ไม่ให้เชื้อราฝังตัวอยู่