“วรวัจน์” ย้ำรับ นร.ปี 55 ไม่มีแปะเจี๊ยะ ทุกอย่างต้องโปร่งใส เปิดทางขยายห้องเรียนห้องเรียนพิเศษโกยเงินผู้ปกครองกระเป๋าหนัก ระบุจะเอาเงินอุดหนุนไปพัฒนา ร.ร.ที่ห่างไกล ด้านเลขาธิการ กพฐ.ให้ ร.ร.แข่งขันสูงทำแผนรับ นร. โดยหากจะขยายชั้นเรียนให้เสนอมาแต่ต้องไม่เกิน 50 คนและรับให้เสร็จในรอบเดียว
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การรับนักเรียนปีการศึกษา 2555 นั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นยังเน้นในแนวทางเดียวกับปีการศึกษา 2554 โดยหลักในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงก็จะมีการสอบคัดเลือกเข้าเรียน ยกเว้นแต่ในส่วนโรงเรียนที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษ ในหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (English Programe : EP) หรือหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรม (Mini EP) ที่อนุญาตให้ขยายห้องเรียนเพิ่มอีก 10% จากเดิมกำหนดไว้ที่ 20% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีโรงเรียนกลุ่มนี้ จำนวน 217 โรง ทั้งนี้ การขยายนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองที่มีความ พร้อมสนับสนุนการศึกษาให้กับนักเรียนซึ่งเป็นการระดมทรัพยากรตามหลักเกณฑ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดไว้ ขณะที่ ศธ.ก็จะลดจำนวนเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้ลงและนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาโรงเรียน ที่ขาดแคลนและห่างไกล
“การรับนักเรียนเข้าเรียนให้ดำเนินการตามเกณฑ์ปกติ แต่ห้ามไม่ให้มีการเรียกรับเงิน หรือรับแปะเจี๊ยะ เด็ดขาดทุกอย่างต้องดำเนินการโปร่งใส ห้ามลักไก่เรียกเก็บภายหลัง ซึ่งหากพบจะถือว่ากระทำผิด โดยผู้ปกครองที่พบว่ามีการกระทำในลักษณะดังกล่าวให้แจ้งมายัง ศธ. หรือ สพฐ.” นายวรวัจน์กล่าว
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า การรับนักเรียนของปีการศึกษา 2555 นั้น ได้กำชับให้โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ที่มีอยู่ประมาณ 200 โรง ทำแผนการรับนักเรียน โดยประมาณการจำนวนนักเรียน ขยายชั้นเรียนเสนอเข้ามายัง สพฐ. โดยหากจะขอขยายห้องเรียนก็ให้เสนอเข้ามาในคราวเดียวกันและต้องรับให้เสร็จ ภายในรอบเดียว ซึ่งการขอขยายชั้นเรียนต้องไม่เกิน 50 คน อย่างไรก็ตาม ส่วนวิธีการรับนักเรียน ม.1 ให้กำหนดสัดส่วนเป็น 50:50 โดยรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือ จะรับมากกว่านี้ได้แล้วแต่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นชอบ ซึ่งทางโรงเรียนอาจจะใช้วิธีการจับสลาก หรือสอบแข่งขันก็ได้ ตามสัดส่วนที่จะกำหนดเอง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้รับนักเรียนทั่วไปโดยการคัดเลือกจากการสอบ หรือการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการที่โรงเรียนกำหนด ในส่วนการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษนั้นก็ยังจะมีอยู่เช่นเดิม โดยจะยึดกลุ่มใน 7 กลุ่มเหมือนปีที่ผ่านมา เช่น เป็นนักเรียนที่มีข้อตกลงในการจัดตั้งโรงเรียน เป็นนักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เป็นนักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติ เป็นต้น
“สำหรับการตั้งคณะกรรมการติดตามการรับนักเรียนนั้นในปีนี้ก็ยังจะมีคณะกรรมการชุดนี้อยู่ เพียงแต่จะมีการปรับแนวทางวิธีการในลักษณะไม่ใช่การไปจับผิดโรงเรียนมากเกินไป ส่วนนโยบายห้ามฝากเด็กเข้าเรียนนั้นก็ยังต้องเข้มงวดเหมือนปีที่ผ่านๆ มา เช่น กันที่ห้ามฝากเด็กเข้าเรียน” นายชินภัทรกล่าว
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การรับนักเรียนปีการศึกษา 2555 นั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นยังเน้นในแนวทางเดียวกับปีการศึกษา 2554 โดยหลักในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงก็จะมีการสอบคัดเลือกเข้าเรียน ยกเว้นแต่ในส่วนโรงเรียนที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษ ในหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (English Programe : EP) หรือหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรม (Mini EP) ที่อนุญาตให้ขยายห้องเรียนเพิ่มอีก 10% จากเดิมกำหนดไว้ที่ 20% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีโรงเรียนกลุ่มนี้ จำนวน 217 โรง ทั้งนี้ การขยายนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองที่มีความ พร้อมสนับสนุนการศึกษาให้กับนักเรียนซึ่งเป็นการระดมทรัพยากรตามหลักเกณฑ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดไว้ ขณะที่ ศธ.ก็จะลดจำนวนเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้ลงและนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาโรงเรียน ที่ขาดแคลนและห่างไกล
“การรับนักเรียนเข้าเรียนให้ดำเนินการตามเกณฑ์ปกติ แต่ห้ามไม่ให้มีการเรียกรับเงิน หรือรับแปะเจี๊ยะ เด็ดขาดทุกอย่างต้องดำเนินการโปร่งใส ห้ามลักไก่เรียกเก็บภายหลัง ซึ่งหากพบจะถือว่ากระทำผิด โดยผู้ปกครองที่พบว่ามีการกระทำในลักษณะดังกล่าวให้แจ้งมายัง ศธ. หรือ สพฐ.” นายวรวัจน์กล่าว
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า การรับนักเรียนของปีการศึกษา 2555 นั้น ได้กำชับให้โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ที่มีอยู่ประมาณ 200 โรง ทำแผนการรับนักเรียน โดยประมาณการจำนวนนักเรียน ขยายชั้นเรียนเสนอเข้ามายัง สพฐ. โดยหากจะขอขยายห้องเรียนก็ให้เสนอเข้ามาในคราวเดียวกันและต้องรับให้เสร็จ ภายในรอบเดียว ซึ่งการขอขยายชั้นเรียนต้องไม่เกิน 50 คน อย่างไรก็ตาม ส่วนวิธีการรับนักเรียน ม.1 ให้กำหนดสัดส่วนเป็น 50:50 โดยรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือ จะรับมากกว่านี้ได้แล้วแต่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นชอบ ซึ่งทางโรงเรียนอาจจะใช้วิธีการจับสลาก หรือสอบแข่งขันก็ได้ ตามสัดส่วนที่จะกำหนดเอง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้รับนักเรียนทั่วไปโดยการคัดเลือกจากการสอบ หรือการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการที่โรงเรียนกำหนด ในส่วนการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษนั้นก็ยังจะมีอยู่เช่นเดิม โดยจะยึดกลุ่มใน 7 กลุ่มเหมือนปีที่ผ่านมา เช่น เป็นนักเรียนที่มีข้อตกลงในการจัดตั้งโรงเรียน เป็นนักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เป็นนักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติ เป็นต้น
“สำหรับการตั้งคณะกรรมการติดตามการรับนักเรียนนั้นในปีนี้ก็ยังจะมีคณะกรรมการชุดนี้อยู่ เพียงแต่จะมีการปรับแนวทางวิธีการในลักษณะไม่ใช่การไปจับผิดโรงเรียนมากเกินไป ส่วนนโยบายห้ามฝากเด็กเข้าเรียนนั้นก็ยังต้องเข้มงวดเหมือนปีที่ผ่านๆ มา เช่น กันที่ห้ามฝากเด็กเข้าเรียน” นายชินภัทรกล่าว