สวทช.ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” ทำความเข้าใจกับประชาชน ระบุ ใช้ป้องกันการติดโรคที่มากับน้ำท่วมได้ แต่ป้องกันไฟฟ้าดูดไม่ได้ เตือนใช้งานอย่างระมัดระวัง ทั้งกางเกงแก้วและกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ เผย ราคาถูกต้นทุนแค่ตัวละ 100 บาท
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” เพื่อการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน โดยระบุว่า สวทช.ได้นำนวัตกรรม “กางเกงแก้ว” ออกมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้นำไปใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้ จนได้รับความสนใจและการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงพบว่าในปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายกางเกงลุยน้ำในหลากหลายรูปแบบและราคาที่แตกต่างกันไป รวมถึงการระบุคุณสมบัติของกางเกงว่าสามารถป้องกันไฟฟ้าดูดได้ จนอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่อผู้บริโภคได้
ทั้งนี้ สวทช.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกางเกงแก้ว ดังนี้ 1.สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้พัฒนา “กางเกงแก้ว” หรือ “Magic Pants” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 และได้อนุญาตให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้สามารถหาซื้อมาใช้ได้ โดย สวทช.ไม่ได้คิดค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ผลิต โดยเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า “กางเกงแก้ว” มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยป้องกันการติดโรค เช่น ฉี่หนู น้ำกัดเท้า หรือป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจมากับน้ำ ในช่วงภาวะน้ำท่วมได้
2.สวทช.ขอเรียนว่า “กางเกงแก้ว” (หรือกางเกงลุยน้ำที่จำหน่ายทั่วไป) ไม่สามารถป้องกันไฟดูดได้ แม้ว่ากางเกงแก้วเป็นฉนวนไฟฟ้า แต่ด้วยความบางและพื้นผิวสัมผัสกับร่างกายมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสลับผ่านได้ด้วยกลไกการเชื่อมต่อด้วยตัวเก็บประจุ (capacitive coupling) หากผู้สวมใส่ไปสัมผัสตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว ก็อาจเกิดภัยต่อบุคคลนั้นได้ และในกรณีที่มีรูรั่วของกางเกงแก้วหรือกางเกงลุยน้ำก็จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงขอให้ระมัดระวังต่อการใช้งานกางเกงแก้ว หรือกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ
3.สวทช.ได้พัฒนาต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตสามารถผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ทำให้กางเกงแก้วมีราคาขายส่งเพียงตัวละ 100 บาทเท่านั้น (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
ในตอนท้ายประกาศยังมีหมายเหตุด้วยว่า คำว่า “แก้ว” ในชื่อผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้หมายถึง “แก้ว” หรือ “ใส” หากแต่หมายถึงความ “พิเศษ” หรือ “วิเศษ” (Magic) เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานสะดวก บรรจุในห่อเล็กและเบาจนสามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา และเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำเน่าเสีย ดังนั้น สวทช.จึงขอสงวนสิทธิ์การใช้ชื่อ “กางเกงแก้ว” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ สวทช.ได้ถ่ายทอดต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตนำไปผลิตเท่านั้น (อยู่ในระหว่างการประสานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกางเกงแก้วที่มีขายตามท้องตลาดขณะนี้ พบว่า มีราคาที่สูงตั้งแต่ 150-400 บาท ซึ่งประชาชนต่างพยายามหาซื้อมาไว้ป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ เป็นจำนวนมาก
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” เพื่อการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน โดยระบุว่า สวทช.ได้นำนวัตกรรม “กางเกงแก้ว” ออกมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้นำไปใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้ จนได้รับความสนใจและการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงพบว่าในปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายกางเกงลุยน้ำในหลากหลายรูปแบบและราคาที่แตกต่างกันไป รวมถึงการระบุคุณสมบัติของกางเกงว่าสามารถป้องกันไฟฟ้าดูดได้ จนอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่อผู้บริโภคได้
ทั้งนี้ สวทช.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกางเกงแก้ว ดังนี้ 1.สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้พัฒนา “กางเกงแก้ว” หรือ “Magic Pants” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 และได้อนุญาตให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้สามารถหาซื้อมาใช้ได้ โดย สวทช.ไม่ได้คิดค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ผลิต โดยเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า “กางเกงแก้ว” มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยป้องกันการติดโรค เช่น ฉี่หนู น้ำกัดเท้า หรือป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจมากับน้ำ ในช่วงภาวะน้ำท่วมได้
2.สวทช.ขอเรียนว่า “กางเกงแก้ว” (หรือกางเกงลุยน้ำที่จำหน่ายทั่วไป) ไม่สามารถป้องกันไฟดูดได้ แม้ว่ากางเกงแก้วเป็นฉนวนไฟฟ้า แต่ด้วยความบางและพื้นผิวสัมผัสกับร่างกายมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสลับผ่านได้ด้วยกลไกการเชื่อมต่อด้วยตัวเก็บประจุ (capacitive coupling) หากผู้สวมใส่ไปสัมผัสตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว ก็อาจเกิดภัยต่อบุคคลนั้นได้ และในกรณีที่มีรูรั่วของกางเกงแก้วหรือกางเกงลุยน้ำก็จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงขอให้ระมัดระวังต่อการใช้งานกางเกงแก้ว หรือกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ
3.สวทช.ได้พัฒนาต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตสามารถผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ทำให้กางเกงแก้วมีราคาขายส่งเพียงตัวละ 100 บาทเท่านั้น (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
ในตอนท้ายประกาศยังมีหมายเหตุด้วยว่า คำว่า “แก้ว” ในชื่อผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้หมายถึง “แก้ว” หรือ “ใส” หากแต่หมายถึงความ “พิเศษ” หรือ “วิเศษ” (Magic) เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานสะดวก บรรจุในห่อเล็กและเบาจนสามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา และเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำเน่าเสีย ดังนั้น สวทช.จึงขอสงวนสิทธิ์การใช้ชื่อ “กางเกงแก้ว” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ สวทช.ได้ถ่ายทอดต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตนำไปผลิตเท่านั้น (อยู่ในระหว่างการประสานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกางเกงแก้วที่มีขายตามท้องตลาดขณะนี้ พบว่า มีราคาที่สูงตั้งแต่ 150-400 บาท ซึ่งประชาชนต่างพยายามหาซื้อมาไว้ป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ เป็นจำนวนมาก