อย. ยัน ระบบกระจายยา ยังไม่สะดุด ห่วงน้ำเกลือ ขาดแคลน เร่งอภ.สั่งนำเข้า ให้บริษัทที่เหลือ เร่งการผลิต
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้โรงงานผลิตยาไม่สามารถเดินสายการผลิตเหมือนเดิมได้ กำลังผลิตหายไปบางส่วน แต่อย.ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการ องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อร่วมแก้ปัญหาการกระจายยาแล้ว โดยขณะนี้พบว่า โรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน 13 โรง โรงงานผลิตยาสำหรับสัตว์ 7 โรง และโรงงานผลิตยาแผนโบราณ 33 โรง ซึ่งเวชภัณฑ์ที่อย.ให้ความเป็นห่วงและต้องเร่งแก้ปัญหา คือ น้ำเกลือ โดยโรงงานที่ผลิตน้ำเกลือมีทั้งสิ้น 4 โรงงาน แต่โรงงานที่จมน้ำมีกำลังการผลิตคิดเป็น 1 ใน 3 แต่ได้เร่งแก้ปัญหาโดยให้ อภ.เป็นผู้สั่งน้ำเข้าเพื่อทดแทน และโรงงานที่เหลือเพิ่มกำลังการผลิตอีกร้อยละ 20 เพื่อทดแทนน้ำเกลือที่หายไปประมาณ 1 ล้านลิตรต่อเดือน คาดว่า จะได้นำเข้ามาในช่วง 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอีกแห่ง คือ บ.โอลิค (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรงงานรับผลิตยากว่า 200 ทะเบียน ส่วนโรงงานผลิตน้ำยาล้างไต ผ่านหน้าท้อง พบว่าได้รับผลกระทบพอสมควร แต่โรงงานที่เหลือยังสามารถเร่งกำลังการผลิตชดเชยได้
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ในระหว่างนี้อย.จะแก้ปัญหาโดย ให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบ จับคู่กับบริษัทที่มีใบอนุญาติประเภทเดียวกัน เพื่อเดินการผลิตทดแทน และให้ อภ. เป็นผู้นำเข้าทดแทน และส่งมอบยาให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นผู้ทำการตลาด และส่งต่อให้กับโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ประสานงานเพื่อนำเข้ายาบางส่วนแล้ว โดยเฉพาะน้ำเกลือ และจะอนุญาติให้บริษัทยาขอทะเบียนการนำเข้าชั่วคราวเพื่อนำเข้ายาที่ได้รับผลกระทบให้เพียงพอ ซึ่งจะให้อนุญาติชั่วคราว 1 ปี โดยบริษัทผู้ผลิต ยืนยันว่า จะไม่เพิ่มภาระให้ผู้ใช้ยาแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาการกระจายยา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้เสนอในการช่วยเหลือกระจายยาที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้พื้นที่ต่างๆ ตามปกติ จึงขอให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล อย่าตระหนก ซึ่งจะเร่งแก้ปัญหาการกระจายยาให้ได้เป็นปกติ
นพ.พิพัฒน กล่าวอีกว่า สำหรับโรงงานอาหารที่ได้รับผลกระทบมีทั้ง น้ำดื่ม นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรซ์ นมข้น หัวเชื้อผลิตน้ำอัดลม ผงชูรส ซึ่งอย.จะเพิ่มช่องทางให้ผู้ผลิต สามารถขออนุญาตในการนำเข้าได้ในช่วงที่ยังไม่สามารถเดินการผลิตได้ สำหรับเครื่องมือแพทย์ บางส่วนพบว่าโรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นโรงงานผลิตสายยางสำหรับน้ำเกลือ น้ำยาล้างไต และยังมีวัตถุอันตราย เช่น ยากันยุง ยาฆ่าแมลง โดยอย.จะพิจารณาอนุญาติให้นำเข้า ในสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพ ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้า ถือเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตต้องแสดงจริยธรรมในช่วงเวลานี้
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้โรงงานผลิตยาไม่สามารถเดินสายการผลิตเหมือนเดิมได้ กำลังผลิตหายไปบางส่วน แต่อย.ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการ องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อร่วมแก้ปัญหาการกระจายยาแล้ว โดยขณะนี้พบว่า โรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน 13 โรง โรงงานผลิตยาสำหรับสัตว์ 7 โรง และโรงงานผลิตยาแผนโบราณ 33 โรง ซึ่งเวชภัณฑ์ที่อย.ให้ความเป็นห่วงและต้องเร่งแก้ปัญหา คือ น้ำเกลือ โดยโรงงานที่ผลิตน้ำเกลือมีทั้งสิ้น 4 โรงงาน แต่โรงงานที่จมน้ำมีกำลังการผลิตคิดเป็น 1 ใน 3 แต่ได้เร่งแก้ปัญหาโดยให้ อภ.เป็นผู้สั่งน้ำเข้าเพื่อทดแทน และโรงงานที่เหลือเพิ่มกำลังการผลิตอีกร้อยละ 20 เพื่อทดแทนน้ำเกลือที่หายไปประมาณ 1 ล้านลิตรต่อเดือน คาดว่า จะได้นำเข้ามาในช่วง 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอีกแห่ง คือ บ.โอลิค (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรงงานรับผลิตยากว่า 200 ทะเบียน ส่วนโรงงานผลิตน้ำยาล้างไต ผ่านหน้าท้อง พบว่าได้รับผลกระทบพอสมควร แต่โรงงานที่เหลือยังสามารถเร่งกำลังการผลิตชดเชยได้
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ในระหว่างนี้อย.จะแก้ปัญหาโดย ให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบ จับคู่กับบริษัทที่มีใบอนุญาติประเภทเดียวกัน เพื่อเดินการผลิตทดแทน และให้ อภ. เป็นผู้นำเข้าทดแทน และส่งมอบยาให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นผู้ทำการตลาด และส่งต่อให้กับโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ประสานงานเพื่อนำเข้ายาบางส่วนแล้ว โดยเฉพาะน้ำเกลือ และจะอนุญาติให้บริษัทยาขอทะเบียนการนำเข้าชั่วคราวเพื่อนำเข้ายาที่ได้รับผลกระทบให้เพียงพอ ซึ่งจะให้อนุญาติชั่วคราว 1 ปี โดยบริษัทผู้ผลิต ยืนยันว่า จะไม่เพิ่มภาระให้ผู้ใช้ยาแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาการกระจายยา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้เสนอในการช่วยเหลือกระจายยาที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้พื้นที่ต่างๆ ตามปกติ จึงขอให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล อย่าตระหนก ซึ่งจะเร่งแก้ปัญหาการกระจายยาให้ได้เป็นปกติ
นพ.พิพัฒน กล่าวอีกว่า สำหรับโรงงานอาหารที่ได้รับผลกระทบมีทั้ง น้ำดื่ม นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรซ์ นมข้น หัวเชื้อผลิตน้ำอัดลม ผงชูรส ซึ่งอย.จะเพิ่มช่องทางให้ผู้ผลิต สามารถขออนุญาตในการนำเข้าได้ในช่วงที่ยังไม่สามารถเดินการผลิตได้ สำหรับเครื่องมือแพทย์ บางส่วนพบว่าโรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นโรงงานผลิตสายยางสำหรับน้ำเกลือ น้ำยาล้างไต และยังมีวัตถุอันตราย เช่น ยากันยุง ยาฆ่าแมลง โดยอย.จะพิจารณาอนุญาติให้นำเข้า ในสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพ ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้า ถือเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตต้องแสดงจริยธรรมในช่วงเวลานี้