“ต่อพงษ์” ชี้ สภาพน้ำเน่าเสียที่ จ.ลพบุรี ดีขึ้น เร่งเยียวยาใจผู้ประสบภัย 2 แสนคนต่อเนื่อง
วันนี้ (22 ต.ค.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และตรวจเยี่ยมการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ที่บริเวณกองขยะริมคลองชลประทาน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวดลพบุรี โดยได้โยนอีเอ็มชนิดก้อน และชนิดน้ำลงในน้ำเพื่อช่วยย่อยสลาย ปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น
นายต่อพงษ์ กล่าวว่า จังหวัดลพบุรีเผชิญปัญหาน้ำท่วมมานาน 1 เดือนเศษ ขณะนี้ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านหมี่ และ ท่าวุ้ง ระดับน้ำเฉลี่ย 1-6 เมตร ปัญหาที่น่าห่วงของลพบุรีขณะนี้คือเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำเน่าเสีย เนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และสภาพน้ำค่อนข้างนิ่ง เมื่อประชาชนเดินลุย จะทำให้เกิดปัญหาน้ำกัดเท้า หรือผื่นคันได้ง่าย รวมทั้งก่อให้เกิดความรำคาญในเรื่องกลิ่นเหม็น
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย กระทรวงสาธารณสุขได้ระดม อสม.เก็บขยะทุกวัน และใส่น้ำอีเอ็มทั้งชนิดน้ำและชนิดก้อน (EM BALL) โดยมีศูนย์ผลิตน้ำอีเอ็ม 3 แห่ง คือ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ผลิตได้วันละ 1,000 ลิตร ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี และที่โรงพยาบาลท่าวุ้ง ผลิตได้วันละ 500 ลิตร ได้แจกผู้ประสบภัยฯจำนวน 1,186 ลิตร เพื่อนำไปใส่ในแหล่งน้ำขังนิ่งที่เน่าเสียใกล้บริเวณบ้านเรือน ซึ่งน้ำจุลินทรีย์จะออกฤทธิ์กำจัดสิ่งเน่าเหม็นทันที ส่วนอีเอ็มชนิดก้อน สามารถโยนไปได้ไกลรัศมีประมาณ 50-100 เมตร จะค่อยๆ สลายและออกฤทธิ์ภายใน 3 วัน จนถึงขณะนี้ได้ใช้สารอีเอ็มชนิดน้ำ ฉีดพ่นบำบัดน้ำเสียไปแล้ว 120,000 ลิตร จากการประเมินคุณภาพน้ำ ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 พบว่าคุณภาพน้ำดีขึ้นเรื่อยๆ ระดับออกซิเจนในน้ำมีค่าเท่ากับ 3-4 มิลลิกรัมเปอร์ลิตร โดยจะใช้อีเอ็มกำจัดน้ำเสียทุก 5-7 วัน โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 6-7 มิลลิกรัมเปอร์ลิตร ซึ่งจะเป็นค่าปกติของน้ำโดยทั่วไป
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาโรคทางกายของผู้ประสบภัยขณะนี้ไม่น่าห่วงเท่าเรื่องสภาพจิตใจ เนื่องจากผลกระทบทั้งจากชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ ความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น ยิ่งภายหลังน้ำลดจะปรากฏชัดเจนขึ้นและมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2 แสนคน ได้ให้โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ให้บริการตรวจประเมินปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีทุกวัน ขณะนี้พบผู้ที่มีความเครียด 6,373 ราย มีอาการซึมเศร้า 180 ราย มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 70 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ จำนวน 244 ราย เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการปรึกษา 2,390 ราย และรักษาด้วยยา จำนวน 857 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการติดตามประเมินความคืบหน้าอาการอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะอยู่ในระดับปกติ
ด้าน นพ.ศิริชัย ลิ้มสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า วันนี้ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการในพื้นที่อ.ท่าวุ้ง อ.เมือง และ อ.บ้านหมี่ รวม 6 ทีม จากโรงพยาบาลบ้านหมี่ และโรงพยาบาลจากจังหวัด จ.กาญจนบุรี นครราชสีมา และจังหวัดสุรินทร์ ปละการให้บริการพบพบประชาชนเจ็บป่วยสะสม 54,474 ราย ปัญหาหลัก คือ โรคน้ำกัดเท้า และได้เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายดูแลพิเศษครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด รวม 20,827 ราย ยังไม่มีโรคระบาด
วันนี้ (22 ต.ค.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และตรวจเยี่ยมการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ที่บริเวณกองขยะริมคลองชลประทาน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวดลพบุรี โดยได้โยนอีเอ็มชนิดก้อน และชนิดน้ำลงในน้ำเพื่อช่วยย่อยสลาย ปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น
นายต่อพงษ์ กล่าวว่า จังหวัดลพบุรีเผชิญปัญหาน้ำท่วมมานาน 1 เดือนเศษ ขณะนี้ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านหมี่ และ ท่าวุ้ง ระดับน้ำเฉลี่ย 1-6 เมตร ปัญหาที่น่าห่วงของลพบุรีขณะนี้คือเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำเน่าเสีย เนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และสภาพน้ำค่อนข้างนิ่ง เมื่อประชาชนเดินลุย จะทำให้เกิดปัญหาน้ำกัดเท้า หรือผื่นคันได้ง่าย รวมทั้งก่อให้เกิดความรำคาญในเรื่องกลิ่นเหม็น
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย กระทรวงสาธารณสุขได้ระดม อสม.เก็บขยะทุกวัน และใส่น้ำอีเอ็มทั้งชนิดน้ำและชนิดก้อน (EM BALL) โดยมีศูนย์ผลิตน้ำอีเอ็ม 3 แห่ง คือ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ผลิตได้วันละ 1,000 ลิตร ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี และที่โรงพยาบาลท่าวุ้ง ผลิตได้วันละ 500 ลิตร ได้แจกผู้ประสบภัยฯจำนวน 1,186 ลิตร เพื่อนำไปใส่ในแหล่งน้ำขังนิ่งที่เน่าเสียใกล้บริเวณบ้านเรือน ซึ่งน้ำจุลินทรีย์จะออกฤทธิ์กำจัดสิ่งเน่าเหม็นทันที ส่วนอีเอ็มชนิดก้อน สามารถโยนไปได้ไกลรัศมีประมาณ 50-100 เมตร จะค่อยๆ สลายและออกฤทธิ์ภายใน 3 วัน จนถึงขณะนี้ได้ใช้สารอีเอ็มชนิดน้ำ ฉีดพ่นบำบัดน้ำเสียไปแล้ว 120,000 ลิตร จากการประเมินคุณภาพน้ำ ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 พบว่าคุณภาพน้ำดีขึ้นเรื่อยๆ ระดับออกซิเจนในน้ำมีค่าเท่ากับ 3-4 มิลลิกรัมเปอร์ลิตร โดยจะใช้อีเอ็มกำจัดน้ำเสียทุก 5-7 วัน โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 6-7 มิลลิกรัมเปอร์ลิตร ซึ่งจะเป็นค่าปกติของน้ำโดยทั่วไป
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาโรคทางกายของผู้ประสบภัยขณะนี้ไม่น่าห่วงเท่าเรื่องสภาพจิตใจ เนื่องจากผลกระทบทั้งจากชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ ความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น ยิ่งภายหลังน้ำลดจะปรากฏชัดเจนขึ้นและมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2 แสนคน ได้ให้โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ให้บริการตรวจประเมินปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีทุกวัน ขณะนี้พบผู้ที่มีความเครียด 6,373 ราย มีอาการซึมเศร้า 180 ราย มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 70 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ จำนวน 244 ราย เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการปรึกษา 2,390 ราย และรักษาด้วยยา จำนวน 857 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการติดตามประเมินความคืบหน้าอาการอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะอยู่ในระดับปกติ
ด้าน นพ.ศิริชัย ลิ้มสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า วันนี้ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการในพื้นที่อ.ท่าวุ้ง อ.เมือง และ อ.บ้านหมี่ รวม 6 ทีม จากโรงพยาบาลบ้านหมี่ และโรงพยาบาลจากจังหวัด จ.กาญจนบุรี นครราชสีมา และจังหวัดสุรินทร์ ปละการให้บริการพบพบประชาชนเจ็บป่วยสะสม 54,474 ราย ปัญหาหลัก คือ โรคน้ำกัดเท้า และได้เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายดูแลพิเศษครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด รวม 20,827 ราย ยังไม่มีโรคระบาด