กรมอนามัยส่ง “ชุดนายสะอาด” บรรจุถุงดำเล็กใส่อุจจาระ น้ำยาล้างจาน สบู่ เจลล้างมือ คลอรีนน้ำกว่าหมื่นชุด ป้องกันโรคระบาด เล็งกระเดินหน้า นำทีมตลกลงพื้นที่แก้เครียดต่อจาก ลพบุรี หลังพบประชานมีปัญหาสุขภาพจิตร่วม 8.8 หมื่นราย
วันนี้ (14 ต.ค.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มอบหมายให้กรมอนามัยเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างแร่งด่วน โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมและจุดอพยพในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมทั้งสนับสนุนชุดนายสะอาด โดยแจกจ่ายไปยังจุดอพยพ จำนวน 1.5 หมื่นชุด ซึ่งชุดนายสะอาดเป็นชุดป้องกันโรคด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ถุงดำขนาดใหญ่สำหรับใส่ขยะ ถุงดำเล็กสำหรับใส่อุจจาระ น้ำยาล้างจาน สบู่ เจลล้างมือใช้ทำความสะอาดเมื่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค หยดทิพย์(คลอรีนน้ำ)ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำ เพื่อนำน้ำมาอุปโภคและเมกะคลีนพลัส ใช้บำบัดน้ำเสียที่ท่วมขังเป็นเวลานาน แก้ปัญหาส้วมเต็ม หรือกำจัดกลิ่นจากกองขยะ พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับผู้ประสบภัย เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและป้องกันโรคระบาด
“ กรมอนามัยยังได้เฝ้าระวังบริเวณจุดอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้มหาวิทยาลัย โรงเรียน วัด หรือเต็นท์ชั่วคราวเป็นจุดอพยพ โดยแนะวิธีการจัดการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อป้องกันโรคระบาด คือ 1.ที่นอนหรือที่พัก ควรมีลักษณะพื้นเรียบ การระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ และกางมุ้งเพื่อป้องกันยุง หากเป็นเต็นท์ควรปรับพื้นให้เรียบ ปูด้วยผ้ายางหรือพลาสติก กำจัดมดและแมลงโดยการโรยปูนขาวรอบๆบริเวณเต็นท์ 2.การทิ้งขยะ ต้องรวบรวมขยะมูลฝอยใส่ในถุงดำและมัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปทิ้งในจุดที่กำหนดไว้” นายต่อพงษ์ กล่าว
3.สถานที่ปรุงอาหารหรือครัวควรระบายอากาศได้ดี แยกห่างจากที่นอนหรือที่พัก เพื่อป้องกันกลิ่น แมลงและสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค มีโต๊ะหรือชั้นสำหรับเตรียมปรุงอาหาร ไม่วางไว้กับพื้น อาหารต้องมีฝาปิดให้มิดชิด 4. สถานที่รับประทานอาหาร ควรอยู่ใกล้ กับที่ปรุงอาหาร เพื่อความสะดวก สะอาด และถูกสุขลักษณะ และ5.ห้องส้วม ห้องอาบน้ำ และห้องซักล้าง ควรอยู่ใกล้จุดจ่ายน้ำ สำหรับห้องส้วมต้องมีผนังกั้นมิดชิด สามารถทำเป็นที่อาบน้ำแบบรวม แต่ควรแยกชาย-หญิง ต้องมีส้วมสำหรับขับถ่ายและมีระบบเก็บกักอุจจาระ ห้ามทิ้งลงแหล่งน้ำ นอกจากนี้ สธ.ยังได้คุมเข้มเป็นพิเศษในจุดอพยพโดยเฉพาะจุดปรุงอาหาร โดยเฝ้าระวังปัญหาโรคระบาดที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น อุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ประสบภัย คือ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ภายใน 3-4 ชม. ก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องส้วมต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง”นายต่อพงษ์กล่าว
นายต่อพงษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์การเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ สธ.ได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับผู้ป่วยเรื่องเครียดและซึมเศร้า ตลอดจนเสี่ยงฆ่าตัวตายซึ่งนอกจากจะส่งทีมแพทย์ตรวจรักษาแล้ว คาดว่า อีกไม่นานคาดจะนำโมเดลการแสดงของคณะตลกเพื่อมอบความบันเทิง แก้เครียดให้ประชาชน กระจายไปยังพื้นที่อื่น หลังจากนำร่องใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรีแล้ว
สำหรับเกี่ยวกับสุขภาพจิตนั้นได้ดำเนินการไปแล้วใน 35 จ.เยี่ยมครอบครัวผู้เสยชีวิต จำนวน 190 ราย ครอบครัว มียอดรวมสะสม 88,334 ราย พบมีความเครียดสูง 4,323 ราย มีภาวะซึมเศร้า 5,007 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 679 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ 1,023 ราย ซึ่งทาง สธ.เร่งเยียวยาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะนำโมเดลการนำคณะตลกแสดงเพื่อคลายเครียดแก่แระชาชน กระจายไปตามพื้นที่แต่ละแห่ง หลังจากที่นำร่องไปแล้วใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
วันนี้ (14 ต.ค.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มอบหมายให้กรมอนามัยเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างแร่งด่วน โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมและจุดอพยพในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมทั้งสนับสนุนชุดนายสะอาด โดยแจกจ่ายไปยังจุดอพยพ จำนวน 1.5 หมื่นชุด ซึ่งชุดนายสะอาดเป็นชุดป้องกันโรคด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ถุงดำขนาดใหญ่สำหรับใส่ขยะ ถุงดำเล็กสำหรับใส่อุจจาระ น้ำยาล้างจาน สบู่ เจลล้างมือใช้ทำความสะอาดเมื่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค หยดทิพย์(คลอรีนน้ำ)ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำ เพื่อนำน้ำมาอุปโภคและเมกะคลีนพลัส ใช้บำบัดน้ำเสียที่ท่วมขังเป็นเวลานาน แก้ปัญหาส้วมเต็ม หรือกำจัดกลิ่นจากกองขยะ พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับผู้ประสบภัย เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและป้องกันโรคระบาด
“ กรมอนามัยยังได้เฝ้าระวังบริเวณจุดอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้มหาวิทยาลัย โรงเรียน วัด หรือเต็นท์ชั่วคราวเป็นจุดอพยพ โดยแนะวิธีการจัดการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อป้องกันโรคระบาด คือ 1.ที่นอนหรือที่พัก ควรมีลักษณะพื้นเรียบ การระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ และกางมุ้งเพื่อป้องกันยุง หากเป็นเต็นท์ควรปรับพื้นให้เรียบ ปูด้วยผ้ายางหรือพลาสติก กำจัดมดและแมลงโดยการโรยปูนขาวรอบๆบริเวณเต็นท์ 2.การทิ้งขยะ ต้องรวบรวมขยะมูลฝอยใส่ในถุงดำและมัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปทิ้งในจุดที่กำหนดไว้” นายต่อพงษ์ กล่าว
3.สถานที่ปรุงอาหารหรือครัวควรระบายอากาศได้ดี แยกห่างจากที่นอนหรือที่พัก เพื่อป้องกันกลิ่น แมลงและสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค มีโต๊ะหรือชั้นสำหรับเตรียมปรุงอาหาร ไม่วางไว้กับพื้น อาหารต้องมีฝาปิดให้มิดชิด 4. สถานที่รับประทานอาหาร ควรอยู่ใกล้ กับที่ปรุงอาหาร เพื่อความสะดวก สะอาด และถูกสุขลักษณะ และ5.ห้องส้วม ห้องอาบน้ำ และห้องซักล้าง ควรอยู่ใกล้จุดจ่ายน้ำ สำหรับห้องส้วมต้องมีผนังกั้นมิดชิด สามารถทำเป็นที่อาบน้ำแบบรวม แต่ควรแยกชาย-หญิง ต้องมีส้วมสำหรับขับถ่ายและมีระบบเก็บกักอุจจาระ ห้ามทิ้งลงแหล่งน้ำ นอกจากนี้ สธ.ยังได้คุมเข้มเป็นพิเศษในจุดอพยพโดยเฉพาะจุดปรุงอาหาร โดยเฝ้าระวังปัญหาโรคระบาดที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น อุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ประสบภัย คือ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ภายใน 3-4 ชม. ก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องส้วมต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง”นายต่อพงษ์กล่าว
นายต่อพงษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์การเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ สธ.ได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับผู้ป่วยเรื่องเครียดและซึมเศร้า ตลอดจนเสี่ยงฆ่าตัวตายซึ่งนอกจากจะส่งทีมแพทย์ตรวจรักษาแล้ว คาดว่า อีกไม่นานคาดจะนำโมเดลการแสดงของคณะตลกเพื่อมอบความบันเทิง แก้เครียดให้ประชาชน กระจายไปยังพื้นที่อื่น หลังจากนำร่องใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรีแล้ว
สำหรับเกี่ยวกับสุขภาพจิตนั้นได้ดำเนินการไปแล้วใน 35 จ.เยี่ยมครอบครัวผู้เสยชีวิต จำนวน 190 ราย ครอบครัว มียอดรวมสะสม 88,334 ราย พบมีความเครียดสูง 4,323 ราย มีภาวะซึมเศร้า 5,007 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 679 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ 1,023 ราย ซึ่งทาง สธ.เร่งเยียวยาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะนำโมเดลการนำคณะตลกแสดงเพื่อคลายเครียดแก่แระชาชน กระจายไปตามพื้นที่แต่ละแห่ง หลังจากที่นำร่องไปแล้วใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี