นับแสนคนน้ำท่วมทำพิษ!! สกอ.เผย เบื้องต้นมหา’ลัยเสียหาย 268 ล้านบาท ชี้ นิสิต/นศ.ได้รับผลกระทบ ประมาณ 8,000 คน อาจารย์/บุคลากรเดือดร้อนกว่า 1,000 คน เตรียมชง รมว.ศธ.ของบช่วยเหลือ ส่วนแผนฟื้นฟูระยะสั้น คาดนำเสนอพร้อมของบ 21 ต.ค.นี้
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่าจากกรณีที่สกอ.ได้เปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ของ สกอ.เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย หรือน้ำท่วมในครั้งนี้ จำนวน 20 ศูนย์ แบ่งเป็นศูนย์พักพิง 16 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรุงเทพฯ รองรับผู้อพยพได้ 2,000 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี รองรับได้ 3,764 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี จ.ปทุมธานี รองรับได้ 2,000 คน, ศูนย์ มทร.รัตนโกสินทร์ ศาลายา จ.นครปฐม รองรับได้จำนวน 100 คน, ศูนย์วิทยาลัยราชพฤกษ์ บางกรวย จ.นนทบุรี รองรับได้ 200 คน, ศูนย์วิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพฯ รองรับได้ 1,000 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กรุงเทพฯ รองรับได้ 300 คน ม.ศรีปทุม รองรับได้ 300 คน, ศูนย์มทร.สุวรรณภูมิ จ.นนทบุรี รองรับได้ 500 คน
ศูนย์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก รองรับได้ 500 คน, ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม รองรับได้ 300-500 คน, ศูนย์ ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รองรับได้ 500 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครินทร์ ศูนย์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา รองรับได้ 500 คน,ศูนย์วิทยาลัยนครราชสีมา รองรับได้ 200 คน, ศูนย์ ม.ขอนแก่น รองรับได้ 300 คน และศูนย์มรภ.นครสวรรค์ รองรับได้ 500 คน ส่วนอีก 4 ศูนย์ เป็นศูนย์ที่ให้การช่วยเหลือแบบไม่สามารถให้พักพิง มีอาหารให้บริการ มีสถานที่จอดรถ แต่ไม่มีที่นอนให้นั้น ได้แก่ มทร.กรุงเทพ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ ม.กรุงเทพ กล้วยน้ำไท และ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สกอ.ได้สำรวจสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบน้ำท่วมที่เกิดขึ้น เบื้องต้นมีทั้งหมด 16 สถาบัน 9 จังหวัด จาก 169 สถาบันทั่วประเทศ มีมูลค่าความเสียหาย 268 ล้านบาท ได้แก่ มรภ.กำแพงเพชร, มทร.สุวรรณภูมิหันตรา จ.อยุธยา, มทร.สุวรรณภูมิวาสุกรี จ.อยุธยา, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.วไลอลงกรณ์, มรภ.พระนครศรีอยุธยา, ม.ภาคกลาง จ.นครสวรรค์, ม.ชินวัตร, มทร.ธัญบุรี, มรภ.อุบลราชธานี, มรภ.ราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา, ม.เจ้าพระยา จ.นครสวรรค์, วิทยาลัยชุมชน (วชช.) พิจิตร, วชช.อุทัยธานี และ ม.กรุงเทพ รังสิต
ส่วนจำนวนนิสิตนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 8,000 คน จากสถาบันอุดมศึกษา 26 แห่ง ได้แก่ มจธ.2,000 คน, ม.รังสิต 50 คน, วิทยาลัย (ว.) นครราชสีมา 4 คน, ม.ศรีปทุม 500 คน, ว.ราชพฤกษ์ 300-500 คน, สถาบันรัชต์ภาคย์ 3 คน, สถาบันปัญญาภิวัฒน์ 1,000 คน, ว.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 20 คน, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 20 คน, สถาบันกันตนา 5 คน, ว.นานาชาติเซนต์เทเรซ่า 50 คน, ว.ดุสิตธานี 6 คน ,ม.ชินวัตร 30 คน, ม.คริสเตียน 10 คน, ม.การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 1,000 คน, ม.ปทุมธานี 300 คน, ม.ภาคกลาง 100 คน ว.เซนต์หลุยส์ 30 คน, ว.นอร์ทกรุงเทพ 20 คน, ม.เจ้าพระยา 200 คน, มรภ.กำแพงเพชร 14 คน, มรภ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ, มรภ.วไลอลงกรณ์ 35 คน, วชช.อุทัยธานี 110 คน, วชช.พิจิตร 180 คน และ ม.เกษมบัณฑิต 1,500 คน ขณะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 1,734 คน
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งการให้ สกอ.จัดทำแผนฟื้นฟูระยะสั้น เพื่อช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยขณะนี้ได้มีการประสานงานกับมหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนักศึกษา 5,000 คน ที่จะออกไปตรวจเช็กระบบวิศวพื้นฐานให้กับระบบอุตสาหกรรมที่เสียหายจากน้ำท่วม และด้านสัตวแพทย์ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับเป็นศูนย์กลางที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่มีคณะสัตวแพทย์ให้ความช่วยเหลือสัตว์ ซึ่งจะเสนอแผนช่วยเหลือฟื้นฟูทั้งหมด พร้อมเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาต่อนายวรวัจน์ ในวันศุกร์ที่ 21 ต.ค.นี้ เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 25 ต.ค.ต่อไป” นางวราภรณ์ กล่าว
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่าจากกรณีที่สกอ.ได้เปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ของ สกอ.เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย หรือน้ำท่วมในครั้งนี้ จำนวน 20 ศูนย์ แบ่งเป็นศูนย์พักพิง 16 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรุงเทพฯ รองรับผู้อพยพได้ 2,000 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี รองรับได้ 3,764 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี จ.ปทุมธานี รองรับได้ 2,000 คน, ศูนย์ มทร.รัตนโกสินทร์ ศาลายา จ.นครปฐม รองรับได้จำนวน 100 คน, ศูนย์วิทยาลัยราชพฤกษ์ บางกรวย จ.นนทบุรี รองรับได้ 200 คน, ศูนย์วิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพฯ รองรับได้ 1,000 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กรุงเทพฯ รองรับได้ 300 คน ม.ศรีปทุม รองรับได้ 300 คน, ศูนย์มทร.สุวรรณภูมิ จ.นนทบุรี รองรับได้ 500 คน
ศูนย์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จ.นครนายก รองรับได้ 500 คน, ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม รองรับได้ 300-500 คน, ศูนย์ ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รองรับได้ 500 คน, ศูนย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครินทร์ ศูนย์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา รองรับได้ 500 คน,ศูนย์วิทยาลัยนครราชสีมา รองรับได้ 200 คน, ศูนย์ ม.ขอนแก่น รองรับได้ 300 คน และศูนย์มรภ.นครสวรรค์ รองรับได้ 500 คน ส่วนอีก 4 ศูนย์ เป็นศูนย์ที่ให้การช่วยเหลือแบบไม่สามารถให้พักพิง มีอาหารให้บริการ มีสถานที่จอดรถ แต่ไม่มีที่นอนให้นั้น ได้แก่ มทร.กรุงเทพ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ ม.กรุงเทพ กล้วยน้ำไท และ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สกอ.ได้สำรวจสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบน้ำท่วมที่เกิดขึ้น เบื้องต้นมีทั้งหมด 16 สถาบัน 9 จังหวัด จาก 169 สถาบันทั่วประเทศ มีมูลค่าความเสียหาย 268 ล้านบาท ได้แก่ มรภ.กำแพงเพชร, มทร.สุวรรณภูมิหันตรา จ.อยุธยา, มทร.สุวรรณภูมิวาสุกรี จ.อยุธยา, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.วไลอลงกรณ์, มรภ.พระนครศรีอยุธยา, ม.ภาคกลาง จ.นครสวรรค์, ม.ชินวัตร, มทร.ธัญบุรี, มรภ.อุบลราชธานี, มรภ.ราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา, ม.เจ้าพระยา จ.นครสวรรค์, วิทยาลัยชุมชน (วชช.) พิจิตร, วชช.อุทัยธานี และ ม.กรุงเทพ รังสิต
ส่วนจำนวนนิสิตนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 8,000 คน จากสถาบันอุดมศึกษา 26 แห่ง ได้แก่ มจธ.2,000 คน, ม.รังสิต 50 คน, วิทยาลัย (ว.) นครราชสีมา 4 คน, ม.ศรีปทุม 500 คน, ว.ราชพฤกษ์ 300-500 คน, สถาบันรัชต์ภาคย์ 3 คน, สถาบันปัญญาภิวัฒน์ 1,000 คน, ว.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 20 คน, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 20 คน, สถาบันกันตนา 5 คน, ว.นานาชาติเซนต์เทเรซ่า 50 คน, ว.ดุสิตธานี 6 คน ,ม.ชินวัตร 30 คน, ม.คริสเตียน 10 คน, ม.การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 1,000 คน, ม.ปทุมธานี 300 คน, ม.ภาคกลาง 100 คน ว.เซนต์หลุยส์ 30 คน, ว.นอร์ทกรุงเทพ 20 คน, ม.เจ้าพระยา 200 คน, มรภ.กำแพงเพชร 14 คน, มรภ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ, มรภ.วไลอลงกรณ์ 35 คน, วชช.อุทัยธานี 110 คน, วชช.พิจิตร 180 คน และ ม.เกษมบัณฑิต 1,500 คน ขณะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 1,734 คน
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งการให้ สกอ.จัดทำแผนฟื้นฟูระยะสั้น เพื่อช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยขณะนี้ได้มีการประสานงานกับมหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนักศึกษา 5,000 คน ที่จะออกไปตรวจเช็กระบบวิศวพื้นฐานให้กับระบบอุตสาหกรรมที่เสียหายจากน้ำท่วม และด้านสัตวแพทย์ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับเป็นศูนย์กลางที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่มีคณะสัตวแพทย์ให้ความช่วยเหลือสัตว์ ซึ่งจะเสนอแผนช่วยเหลือฟื้นฟูทั้งหมด พร้อมเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาต่อนายวรวัจน์ ในวันศุกร์ที่ 21 ต.ค.นี้ เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 25 ต.ค.ต่อไป” นางวราภรณ์ กล่าว