คณะทำงานส่งเสริมจริยธรรมยา เตรียมประชุมทำสื่อ นำร่องเกณฑ์ขายยา-สั่งยา อย่างมีจริยธรรม กระจายให้สถานบริการสาธารณสุข ลองใช้ ก่อนเสนอ “อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุสมผล-คสช.” ผลักดันเป็น กม.สำเร็จรูป
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะรองประธาน คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม กล่าวถึงความคืบหน้า กรณีการดำเนินการร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยว่า หลังจากที่ได้รับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในวันที่ 26 ก.ค. มาแล้วนั้น ขณะนี้ทางคณะทำงานได้เตรียมเรียบเรียงข้อมูลเพื่อเตรียมทำสื่อประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์ ก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในเร็วๆ นี้ เพื่อจะได้ประชุมตัวแทนจากสถานบริการสาธารณสุข เพื่อหาจำนวนสมาชิกที่อาจจะทดลองใช้เกณฑ์ในเบื้องต้นก่อน ว่า จะสามารถใช้ได้ผลดีเพียงใด ก่อนที่จะผลักดันให้คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการประชุมในเวทีใหญ่ราวเดือน ธ.ค.2554 เพื่อส่งเสริมให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในระดับประเทศได้
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในเรื่องของสื่อประชาสัมพันธ์และหลักเกณฑ์จริยธรรมเบื้องต้นนั้น ทางคณะทำงาจะจัดประชุมย่อยอีกครั้งในราว 1 พ.ย.นี้ เพื่อหารือร่วมกันว่า สถานบริการที่ทดลองใช้สามารถปฏิบัติตามข้อใดได้บ้าง อย่างไรก็ตามแม้จะมีหลายองค์กรท้วงติง ในบางประเด็น อาทิ เรื่องของความกังวลว่า จะไม่มีกองทุนกลางที่จะเข้ามาดูแลและควบคุมอย่างจริงจังนั้น ตนคิดว่า น่าจะสามารถหาทางออกได้ สำหรับข้อท้วงติงรายละเอียดหลักเกณฑ์นั้น คณะทำงานอาจขอเวลาในการศึกษาข้อมูลวิชาการเพิ่มเติม ก่อนจะปรับปรุงเนื้อหาต่อไป แต่เนื่องจากขณะนี้ขั้นตอนทางกฎหมายค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นคาดว่าจะใช้วิธีการนำร่องในสถานบริการสาธารณสุข แบบสมัครใจก่อนจะดีกว่า ได้ผลหรือไม่ อย่างไรค่อยมาปรับปรุง
“สาเหตุที่ต้องทำเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมามีปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการใช้ยาฟุ่มเฟือย เกิดปัญหาการใช้ยาเกินจำเป็น การใช้ยาราคาแพงรวมถึงการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผลและทำให้ประเทศเสียงบประมาณมหาศาล” ผศ.ภญ.นิยดา กล่าว
อนึ่ง สำหรับร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยฉบับใหม่ ได้มีการกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆ อาทิ ข้อปฏิบัติของผู้สั่งใช้ยา ไม่พึงรับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินจากผู้แทนยาหรือบริษัทยา ยกเว้นมีกำหนดไว้ตามสภาวิชาชีพ ไม่พึงรับบริการอันเป็นกิจส่วนตัวจากผู้แทนยา เช่น การจัดรถรับส่ง แต่สามารถรับทุนจากบริษัทยาไปประชุม ดูงานทั้งในและต่างประเทศที่ก่อประโยชน์ให้หน่วยงานได้ แต่ต้องไม่มีเงื่อนไขผูกมัดเพื่อส่งเสริมการขายยา ส่วนผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดซื้อยาในสถานพยาบาล ไม่พึงรับเงิน สิ่งของ หรือคิดค่าใช้จ่ายใดๆ จากบริษัทยา ที่นำมาซึ่งประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์แก่บุคลากรอื่นของสถานพยาบาล เพื่อแลกเปลี่ยนกับการตัดสินใจสั่งซื้อยา ส่วนของบริษัทยาต้องไม่กำหนดผลตอบแทนรายได้หลักของผู้แทนยาโดยขึ้นอยู่กับยอดขายยา
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะรองประธาน คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม กล่าวถึงความคืบหน้า กรณีการดำเนินการร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยว่า หลังจากที่ได้รับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในวันที่ 26 ก.ค. มาแล้วนั้น ขณะนี้ทางคณะทำงานได้เตรียมเรียบเรียงข้อมูลเพื่อเตรียมทำสื่อประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์ ก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในเร็วๆ นี้ เพื่อจะได้ประชุมตัวแทนจากสถานบริการสาธารณสุข เพื่อหาจำนวนสมาชิกที่อาจจะทดลองใช้เกณฑ์ในเบื้องต้นก่อน ว่า จะสามารถใช้ได้ผลดีเพียงใด ก่อนที่จะผลักดันให้คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการประชุมในเวทีใหญ่ราวเดือน ธ.ค.2554 เพื่อส่งเสริมให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในระดับประเทศได้
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในเรื่องของสื่อประชาสัมพันธ์และหลักเกณฑ์จริยธรรมเบื้องต้นนั้น ทางคณะทำงาจะจัดประชุมย่อยอีกครั้งในราว 1 พ.ย.นี้ เพื่อหารือร่วมกันว่า สถานบริการที่ทดลองใช้สามารถปฏิบัติตามข้อใดได้บ้าง อย่างไรก็ตามแม้จะมีหลายองค์กรท้วงติง ในบางประเด็น อาทิ เรื่องของความกังวลว่า จะไม่มีกองทุนกลางที่จะเข้ามาดูแลและควบคุมอย่างจริงจังนั้น ตนคิดว่า น่าจะสามารถหาทางออกได้ สำหรับข้อท้วงติงรายละเอียดหลักเกณฑ์นั้น คณะทำงานอาจขอเวลาในการศึกษาข้อมูลวิชาการเพิ่มเติม ก่อนจะปรับปรุงเนื้อหาต่อไป แต่เนื่องจากขณะนี้ขั้นตอนทางกฎหมายค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นคาดว่าจะใช้วิธีการนำร่องในสถานบริการสาธารณสุข แบบสมัครใจก่อนจะดีกว่า ได้ผลหรือไม่ อย่างไรค่อยมาปรับปรุง
“สาเหตุที่ต้องทำเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมามีปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการใช้ยาฟุ่มเฟือย เกิดปัญหาการใช้ยาเกินจำเป็น การใช้ยาราคาแพงรวมถึงการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผลและทำให้ประเทศเสียงบประมาณมหาศาล” ผศ.ภญ.นิยดา กล่าว
อนึ่ง สำหรับร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยฉบับใหม่ ได้มีการกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆ อาทิ ข้อปฏิบัติของผู้สั่งใช้ยา ไม่พึงรับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินจากผู้แทนยาหรือบริษัทยา ยกเว้นมีกำหนดไว้ตามสภาวิชาชีพ ไม่พึงรับบริการอันเป็นกิจส่วนตัวจากผู้แทนยา เช่น การจัดรถรับส่ง แต่สามารถรับทุนจากบริษัทยาไปประชุม ดูงานทั้งในและต่างประเทศที่ก่อประโยชน์ให้หน่วยงานได้ แต่ต้องไม่มีเงื่อนไขผูกมัดเพื่อส่งเสริมการขายยา ส่วนผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดซื้อยาในสถานพยาบาล ไม่พึงรับเงิน สิ่งของ หรือคิดค่าใช้จ่ายใดๆ จากบริษัทยา ที่นำมาซึ่งประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์แก่บุคลากรอื่นของสถานพยาบาล เพื่อแลกเปลี่ยนกับการตัดสินใจสั่งซื้อยา ส่วนของบริษัทยาต้องไม่กำหนดผลตอบแทนรายได้หลักของผู้แทนยาโดยขึ้นอยู่กับยอดขายยา