xs
xsm
sm
md
lg

หมอขาด คสช.ขยายโครงการผลิตแพทย์ชนบทต่อ 5 ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โกวิท ธารณา  (แฟ้มภาพ)
“โกวิท” ประชุมคณะกรรมการสุขภาพเเห่งชาติ ถกแพทย์ขาดแคลน ขยายโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทต่อ 5 ปี พร้อมกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานชดใช้ทุนจาก 3 ปี เป็น 6 ปี และ เพิ่มค่าปรับแพทย์ที่ผิดสัญญาใช้ทุนจาก 4 แสนบาท เป็น 1 ล้านบาท

พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูเเลคณะกรรมการสุขภาพเเห่งชาติ (คสช.) ได้ประชุม คสช.ครั้งที่ 4 ประจำปี 2554 โดยทีประชุมรับทราบมติคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพเเห่งชาติเกี่ยวกัีบข้อเสนอเเนะการเเก้ปัญหาขาดเเคลนเเพทย์ในชนบท โดยขยายโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข เเละหนุนร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภคเเละร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

โดยการขาดเเคลนกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศโดยเฉพาะวิชาชีพเเพทย์ ส่งผลให้เกิดปัญหาจำนวนเเพทย์ที่ขาดเเคลนในชนบททวีความรุนเเรงขึ้นมาก โดยเเพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางเเละเล็ก 790 เเห่งในชนบททั่วประเทศมีเเค่ 4,787 คน จากจำนวนเเพทย์ในกระทรวงสาธารณสข 12,291 คน เเละเเพทย์ทั่วประเทศ 40,994 คน เท่ากับว่าไทยมีเเพทย์ร้อยละ 12 ที่ปฏิบัติงานในชนบทเเละรองรับประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศ

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิกา รคสช.กล่าวว่า ปัญหานี้ยังเป็นปัญหาสำคัญ ครม.อนุมัติโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชนบท (CPIRD) เเละโครงการกระจายเเพทย์หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน โดยโครงการนี้จะสิ้นสุดในปี 2555-56 เเละเมื่อปี 2553 ข้อมูลประเมินโครงการ CPIRD โดยเปรียบเทียบระหว่างเเพทย์ปกติเเละเเพทย์โครงการ CPIRD พบว่าเเพทย์ในระบบปกติมีโอกาสลาออกจากราชการสูงเป็น 1.7 เท่าของเเพทย์ในโครงการ CPIRD เเต่เเพทย์ในโครงการ CPIRD มีระยะเวลาใช้ทุนครบสามปีสูงกว่าเเพทย์ปกติร้อยละ 81:67 โดยมีสัดส่วนคงอยู่ในชนบทสูงกว่าเเพทย์ปกติร้อยบละ 25:10

คสช.พิจารณามาตรการธำรงรักษาเเพทย์ในไว้ในชนบทโดยเสนอ ครม.พิจารณา คือ 1.ขยายโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทต่อห้าปี (2557-61) โดยใหขยายสัดส่วนจำนวนเเพทย์ของโครงการไว้ร้อยละห้าสิบของนักศึกษาเเพทย์ทั้งหมด 2.กำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานชดใช้ทุน เพิ่มจากเดิม 3 ปี เป็น 6 ปี กรณีผิดสัญญาชดใช้ทุน กำหนดค่าปรับเพิ่มจาก 4 เเสนบาทเป็น 1 ล้านบาท 3.ปรับปรุงความยืดหยุ่นสัญญาการปฏิบัติงานให้เพิ่มขึ้น 4.ทบทวนการสนับสนุนงบประมาณ โดยเสนอไปยังจังหวัดที่เป็นเจ้าของทุนเพื่อสร้างความผูกพันระหว่างเเพทย์ผู้รับทุนกับพื้นที่

นพ.อำพลกล่าวว่า ส่วนเเละหนุนร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภคเเละร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้นได้ขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันก่อนที่จะตกวาระการพิจารณาไปเพราะเป็นร่างกฎหมายเก่าที่ค้างการพิจารณาจากรัฐบาลที่เเล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น